5 ไอเดีย ทำธุรกิจแห่งความตาย ให้แตกต่างเติบโตแบบไร้คู่แข่ง

 

     ต้องบอกเลยว่าการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับความเป็นความตายนั้นไม่ได้ง่ายเลย แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้อยู่รอดได้ ก็คือ การสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ  5 ไอเดียการทำธุรกิจแห่งความตายอย่างไรให้แตกต่างจากคู่แข่ง จาก 4 แบรนด์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และ 1 ไอเดียจากเมืองนอก มาดูว่าแต่ละแบรนด์เขาใช้ไอเดียอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย     

LifeGem

     เป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนที่มีชีวิตอยู่ สามารถนึกถึงและจดจำบุคคลผู้จากไปได้ตลอดกาล ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์จากเถ้ากระดูกของมนุษย์ ก่อตั้งในปี 2544 ที่สหรัฐอเมริกา ไอเดียของการทำธุรกิจให้แตกต่างจากคู่แข่งก็คือ นำเถ้ากระดูกหรือเส้นผมมาเสกให้กลายเป็นเพชร เพื่อนำไปประกอบเป็นอนุสรณ์หรือเครื่องประดับอย่างสวยงามและไม่เหมือนใคร  และเมื่อเพียงไม่นานหลังเปิดตัวก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ปีแรกก็มีการสั่งทำถึง 6,000 ออเดอร์  บอกเลยว่าเป็นไอเดียถึงกับต้องร้องว้าวกันเลยทีเดียว

     สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/marketing/5930.html

ข้อมูลติดต่อ

 Website: https://www.lifegem-uk.com/

สถานที่: เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

บริบุญ

     เป็นธุรกิจที่ต่อยอดมากจากสุริยา หีบศพ ศิริราช ที่ทายาทรุ่น 3 เข้ามาสานต่อเพื่อทำให้สุริยา หีบศพมีคนรู้จักมากขึ้น โดยการคิดแคมเปญ “บริบุญ” ขึ้นมา ซึ่งเป็นแคมเปญในรูปแบบของการช่วยเหลือหรือการให้ จากการซื้อพวงหรีด 1 พวก เท่ากับโลงศพ 1 โลง เป็นการบริจาคโลงศพให้กับผู้ที่ยากไร้ 1 คน ที่สำคัญพวงหรีดทำมาจากกระดาษรีไซเคิล และทางร้านมีบริการรับฝากพวงหรีดหรือโลงศพ เพื่อเก็บไว้บริจาคในอนาคต สามารถบริจาคได้ทั่วประเทศ ทั้งวัดหรือโรงพยาบาล ตามที่ทุกคนต้องการ หรือซื้อพวงหรีดพร้อมบริจาคไปกับโรงก็ได้เช่นกัน เป็นการต่อยอดสินค้าที่ทำให้คนรู้สึกอิ่มบุญมากเลยว่าไหม

ข้อมูลติดต่อ

Facebook: บริบุญ – Boriboon

Instagram:  Boriboonxsuriya

Line: @boriboonsuriya

Tel. 092 508 1086

สถานที่ : 418-422 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

สุคติ ผ้าดิบบริจาค

เป็นแบรนด์ผ้าดิบบริจาคของหนุ่มอาร์ตติส ที่แจ้งเกิดด้วยวิธีการทำธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร โดยใช้การบอกเล่าเรื่องราว (Storytelling ) ให้ผู้บริโภคได้รับรู้และทำความเข้าใจถึงความจำเป็นในการบริจาคผ้าดิบห่อศพที่แท้จริง และเมื่อผู้บริโภคเข้าใจแล้ว จากนั้นจึงต่อด้วย How to ช่องทางการนำไปบริจาค และปิดด้วยการขายว่าหากสนใจซื้อจะต้องทำยังไง และมีสินค้าให้เลือกแบบไหนบ้าง เห็นไหมละว่าแค่ใช้เทคนิคเล็กๆ ในการขายสินค้าก็สามารถปิดการขายได้อย่างง่ายได้ และยังทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงสินค้าจริงๆ อีกด้วย 

     สามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/7142.html

ข้อมูลติดต่อ

 Facebook: สุคติ ผ้าดิบบริจาค

Instagram:  sucati.by.ling

Line:  h.k.textile

โทร: 089 019 9939

สถานที่ : 46/1 หมู่4 ซ.วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน

ลฤก พวงหรีดเสื่อ

เป็นธุรกิจพวงหรีดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ ผลงานของทายาทรุ่น 3 ผู้เข้ามาสานต่อธุรกิจโรงงานเสื่ออายุกว่า 50 ปีของครอบครัวให้สุดปังมากกว่าเก่า โดยเขาไอเดียจากตอนที่ไปงานศพ แล้วเห็นว่าคนเริ่มไม่ซื้อพวงหรีดที่เป็นดอกไม้กัน  แต่สั่งพวกพวงหรีดพัดลมและอื่นๆ มองว่าน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่ไม่เป็นขยะ แล้วทางวัดหรือเจ้าภาพก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ทีนี้เลยมาคิดว่า เสื่อของเรามันก็อยู่คู่วัด คู่บ้านของคนอยู่แล้ว ก็น่าจะมาเป็นพวงหรีดได้เช่นกัน ซึ่งบอกได้เลยว่าได้ทั้งระลึกถึงคนที่จากไปและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

     สามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/marketing/5308.html

ข้อมูลติดต่อ

Facebook: ลฤก พวงหลีดเสื่อ

Instagram:  laluek_wreath

Line: http://lin.ee/8Uczios

โทร: 081 349 5349

สถานที่: 323 ซอยบางแคง 14 กรุงเทพมหานคร 10160

สู่ขิตคอฟฟี่บาร์

     ธุรกิจสุดท้ายขอแถม เพราะว่าเป็นธุรกิจที่เป็นที่พูดถึงมากบนโซเชียลมีเดียในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก ซึ่งเป็นธุรกิจคาเฟ่ที่ขายคอฟฟี่บาร์ที่สุดหลอด ไอเดียของทางร้านเขาก็คือใช้เอาโลงศพมาทำเป็นเคาน์เตอร์บาร์ ทำให้เรียกเสียงจากคนจากโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก ลูกค้าต่างก็อยากมาลิ้มลองกาแฟกันยกใหญ่  แค่สร้างความแตกต่างที่ชัดเจนก็สามารถเรียกลูกค้าให้ซื้อได้อย่างง่ายดาย

ข้อมูลติดต่อ

Facebook: สู่ขิตคอฟฟี่บาร์

โทร:  080 339 1566

สถานที่ : 79/20 ม.6 ถ.เลี่ยงเมือง ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ .สุราษฎร์ธานี 84000

     และนี่คือ ไอเดียการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความตายที่แตกต่างจากคู่แข่ง

ค่าใช้จ่ายหลังความตาย

1. ค่าใช้จ่ายที่เจ้าภาพงานศพจะต้องจ่าย

  • ค่าโลงศพ ราคาเริ่มต้น 3,000 -200,000 บาท

 

  • ค่าดอกไม้ประดับหน้าศพและเมรุ ราคาเริ่มต้น 8,000 – 15,000 บาท

 

  • ค่าอาหารเลี้ยงแขก ราคาเฉลี่ยต่อคืน 2,000 – 5,000 บาท

 

  • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าบำรุงศาลา

 

  • ค่าธรณีสงฆ์กรณีที่ญาติต้องเก็บศพผู้เสียชีวิตไว้ก่อนยังมิได้ประกอบพิธีเผาหรือนำไปฝัง ราคาโดยประมาณ 5,000 บาท

 

2. ค่าใช้จ่ายของรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนา

  • ค่าทำพิธีกงเต็ก มีค่าใช้จ่าย 2 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายให้กับคณะที่จัดพิธีกงเต็ก และค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับทางวัด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 20,000 บาท

 

  • ค่าหลุมฝังศพ ราคาเริ่มต้น 10,000 – 1,000,000 บาท

 

  • ค่าสถานที่จัดงานศพ

 

ที่มา : https://thaipublica.org/2011/09/funeral-business-1/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​