เทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกมาแรง ไต้หวันเข้ม ห้ามใช้วัสดุ PVC ห่อสินค้าออนไลน์ มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2566

 

     การผลิตสินค้ายุคนี้นอกจากจะคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลักแล้ว ยังต้องหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยล่าสุดทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน ได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะห้ามผู้ขายสินค้าออนไลน์ใช้วัสดุ PVC มาทำการห่อสินค้าหรือพัสดุสำหรับจัดส่งให้ลูกค้า

     นอกจากนี้ยังห้ามใช้กระดาษที่ย้อมสีมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ โดยต้องมีสัดส่วนของกระดาษรีไซเคิลในอัตรา 90% ขึ้นไป หรือหากเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก ก็ต้องมีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิลในอัตราส่วนที่ไม่น้อยกว่า 25% โดยคาดว่า คำสังดังกล่าวจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในไต้หวันมากกว่า 46,000 ราย ซึ่งจะกำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป

     สาเหตุที่ทางการไต้หวันได้มุ่งไปที่การค้าออนไลน์เนื่องจาก ตั้งแต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มูลค่าการค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 262,545 ล้านบาท ในปี 2560 เป็น 494,845 ล้านบาท ในปี 2564

     นอกจากตัวเลขมูลค่าการตลาดที่เติบโตแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้กิดขยะจำนวนมหาศาล โดยปี 2564 ที่ผ่านมา มีการจัดส่งพัสดุสินค้าที่ซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า 220 ล้านชิ้น รวมทั้งก่อให้เกิดขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าออนไลน์มากถึงประมาณ 50,000 เมตริกตัน

     ทั้งนี้ ทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไต้หวันคาดว่า มาตรการที่นำมาใช้ในครั้งนี้ จะช่วยลดการใช้วัสดุสำหรับทำบรรจุภัณฑ์อย่างสิ้นเปลือง ได้ตั้งแต่จากต้นทาง เพื่อลดมลภาวะที่จะมีต่อสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ไปในตัว รวมทั้งยังช่วยลดภาระในการจัดการขยะของผู้บริโภคไปพร้อมกันด้วย ซึ่งมาตรการนี้จะบังคับใช้สำหรับการซื้อขายออนไลน์ในแบบ B2C ส่วนการซื้อขาย แบบ C2C ยังไม่ได้รับผลกระทบ​

     นอกจากนี้ ยังได้กำหนดระเบียบสำหรับผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 50 ล้านเหรียญไต้หวัน ขึ้นไป ซึ่งมีอยู่จำนวน 260 ราย ในฐานข้อมูลของทบวงอนุรักษ์ฯ โดยกำหนดให้สินค้าที่มีน้ำหนัก 250 กรัมขึ้นไป แต่ไม่ถึง 1 กิโลกรัม น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์จะต้องมีสัดส่วนไม่เกิน​ 40% ของน้ำหนักสินค้า ​หากสินค้าน้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัมแต่ไม่ถึง 3 กิโลกรัม น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์จะต้องน้อยกว่า 30%  แต่หากสินค้าน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัม น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่เกิน​ 15%

     ส่วนผู้ประกอบการขนาดใญ่ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 150 ล้านเหรียญไต้หวันขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 70 ราย นอกจากจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้างต้นทั้งหมดแล้ว ยังต้องวางแผนลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ให้มากกว่า​ 35% ภายในปี 2569 โดยที่สัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษหรือพลาสติกแบบหมุนเวียนในสัดส่วนมากกว่า 15% ภายในปี 2569 ด้วยเช่นกัน

     อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในไต้หวันมีความพยายามในการรณรงค์ให้ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์สำหรับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ มาตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ยักษ์ใหญ่ของไต้หวัน เช่น momo, PChome และ ETmall เป็นต้น รวมทั้งได้มีการเจรจากับสมาคมผู้ค้าปลีก แบบไร้หน้าร้านของไต้หวันมาโดยตลอด ส่งผลให้น้ำหนักเฉลี่ยของบรรจุภัณฑ์ลดลงเรื่อยๆ จาก 0.322 กก. ใน ปี 2562 เหลือเพียง 0.24 กก. ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2573 จะลดปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของบรรจุภัณฑ์ลงให้เหลือ 0.161 กก. หรือลดลง​ 50% จากปี 2562 ด้วย

     นับวันเทรนด์ธุรกิจรักษ์โลกเริ่มมีความจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการที่เตรียมพร้อมทางด้านนี้ก่อนก็อาจเป็นแต้มต่อในการทำธุรกิจ

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​