ธุรกิจการพิมพ์ไทยยังรุ่ง นายกสมาคมการพิมพ์ไทย พร้อมดันไทยสู่ Printing Hub ของเอเซีย

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     ถามว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์สำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างไร หลายคนคงนึกภาพไม่ออก

     แต่ถ้าบอกว่า สามารถทำให้โรงงานผลิตยาสีฟันของญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตจากฟิลลิปปินส์มาตั้งโรงงานที่เมืองไทย เนื่องจากสามารถรองรับการพิมพ์เทคนิคการพิมพ์แบบพิเศษได้ จึงต้องการลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการสั่งกล่องจากเมืองไทย

     นี่คืออานุภาพของการพิมพ์ ที่คนส่วนใหญ่อาจมองไม่เห็น

     อุตสาหกรรมการพิมพ์ Sunset จริงหรือหลอก SME Thailand Online ได้มีโอกาสพูดคุยกับ พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช กรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมการพิมพ์ไทย ที่มั่นใจว่าวงการการพิมพ์ไทยยังมีอนาคตสดใส และพร้อมจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Print Pack HUB ในภูมิภาคเอเซีย

ธุรกิจพระรอง แต่ดีมานต์ไม่เป็นรอง

     ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมการพิมพ์เติบโตมากว่า 70 ปี แต่ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมการพิมพ์บทบาทที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คงมีภาพของธุรกิจสิ่งพิมพ์เท่านั้น พงศ์ธีระ จึงเปรียบอุตสาหกรรมการพิมพ์ว่าเหมือนกับพระรอง ทั้งๆ ที่อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน Supporting Industry ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมอื่นๆ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอีกหลากหลายสาขา อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง และถ้ามองภาพรวมแล้วปีนี้คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์จะโตได้ 1.8% หรือมูลค่าขยับขึ้น 300,000 ล้านบาท

     พงศ์ธีระ ขยายความว่าการที่ธุรกิจการพิมพ์เติบโตส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจการพิมพ์ก็เติบโตควบคู่ไปกับบรรจุภัณฑ์ด้วย นอกจากนี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ เติบโตมากขึ้น คาดว่า การพิมพ์ จะขยายตัวที่อัตราการเติบโตต่อปีที่ 26.1% จากปี 2565 ถึง 2573

     “มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจบริการสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 150,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ก่อนหน้า”

ปี 2566 การพิมพ์จะเติบโตไปพร้อมบรรจุภัณฑ์

     ถึงแม้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกแทนที่ด้วยสื่อออนไลน์ และทำให้ภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้รับผลกระทบ แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาผู้คนส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์เป็นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เติบโตขึ้นมาก

     อย่างไรก็ดีแนวโน้มประเภทของการพิมพ์ที่จะมีการเติบโตต่อไปได้ในปีหน้า พงศ์ธีระย้ำว่า จะเป็นการพิมพ์ที่โตไปพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะ กล่องกระดาษลูกฟูก บรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป Flexible Packaging (พลาสติกอ่อนตัว) เช่น ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ฉลากสินค้าต่างๆ

     นายกสมาคมการพิมพ์ไทยเตือนว่าอยากให้ผู้ประกอบการต้องระวังในเรื่องของ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTB) เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของยุโรป โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว อาทิ หากส่งน้ำผลไม้กระป๋องไปขายยุโรป ต้องเป็นหลอดกระดาษห้ามใช้หลอดพลาสติก ในส่วนของการพิมพ์เอง ถ้าเป็นอาหารก็ควรใช้หมึกที่เป็น food grade เป็นต้น

ไทยมีนิคมฯ การพิมพ์ เป็นโมเดลแรกของโลก

     แม้จะมีเรื่อง NTB แต่พงศ์ธีระ เชื่อว่า อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยมีความเข้มแข็งเป็นพิเศษ เนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์สินสาคร ซึ่งถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมกลุ่มผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำไว้กว่า 200 ราย เพื่อให้เกิดระบบ utilize ทำงานได้เร็วขึ้น

     “ตอนนี้ทางสมาคมฯ กำลังดูนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ทำแผงโซลาร์ที่ออสเตรเลียใช้หมึกพลากสติก เป็นหมึกเหนี่ยวนำไฟฟ้าสามารถรับแสงโซลาร์แล้วแปลงให้เป็นไฟฟ้าได้ รวมทั้งผลักดัน บีโอไอ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี สำหรับผู้ประกอบการที่ยกระดับบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ สอดรับแนว BCG ช่วยรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีระบบตรวจติดตามสภาวะผลิตภัณฑ์ เป็นต้น) ไทยเป็น Print Pack HUB ในภูมิภาคเอเซียต่อไป

     “ขณะนี้เอเซียถือเป็นตลาดที่บรรจุภัณฑ์เติบโตสุด ถ้าเราสามารถผลักดันผู้ประกอบการรายใหญ่ออกไปทำตลาดรอบบ้านได้ ก็จะเหลือตลาดในประเทศให้รายเล็ก” นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​