รู้จัก Mindbrew ร้านกาแฟในฮ่องกงที่ช่วยฮีลใจ ด้วยการจ้างงานผู้มีปัญหาทางจิต

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

 

     ต้องยอมรับว่าด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางชีวภาพ ด้านจิตใจ หรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการทำให้ผู้ป่วยทางจิตเพิ่มจำนวนขึ้นมากในสังคม อาการอาจจะรุนแรงหรือบางเบามากน้อยต่างกันไป และปัญหาอย่างหนึ่งที่คนกลุ่มนี้พบเจอคือแม้จะรักษาตัวจนหายหรือกำลังอยู่ระหว่างการบำบัด บ่อยครั้งพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับ และถูกกีดกันจากสังคม

     อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก "social inclusivity" หรือการโอบรับผู้คนทุกกลุ่มให้อยู่ร่วมในสังคมกำลังเป็นกระแสที่มาแรง หลายบริษัทและองค์กรได้น้อมนำมาปฏิบัติ ทำให้คนที่มีความแตกต่างซึ่งรวมถึงผู้มีปัญหาทางจิตด้วยได้รับการยอมรับและมอบโอกาสในการทำงาน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดน่าจะเป็น “มายด์บรูว์” (Mindbrew) ร้านกาแฟในฮ่องกงที่พนักงานทุกคนในร้านเคยมีประสบการณ์ป่วยทางจิต

     มายด์บรูว์เป็นร้านกาแฟป๊อป-อัพหรือร้านกาแฟชั่วคราวที่ตระเวนเปิดบริการตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นล่าสุดมาให้บริการที่ห้างแลนด์มาร์ค เอเทรียมในเขตเซ็นทรัลของเกาะฮ่องกง แม้จะเปิดเป็นร้านป๊อป-อัพชั่วคราวแต่ก็ให้บริการเครื่องดื่มและเบเกอรี่ที่ครบครัน เครื่องดื่มเด่นที่เป็นลายเซ็นประจำร้านได้แก่ ลาเต้สตรอว์เบอร์รี่ชาเขียวมัทฉะ และ “Mind Tonic” เครื่องดื่มที่เสิร์ฟพร้อมเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคัดสรรอย่างดีและผลไม้หรือดอกไม้ที่รับประทานได้ ส่วนเบเกอรี่จะอบสดใหม่จากครัวของโรงแรมแลนด์มาร์ค แมนดาริน โอเรียนเต็ล ที่ขายดีคือ คานาเล่ มาเดอแลน และบรูคกี้หรือบราวนี่หน้าคุกกี้ 

     ร้านกาแฟมายด์บรูว์เป็นโครงการล่าสุดที่ริเริ่มโดย “มายด์เซ็ต” (Mindset) องค์กรการกุศลด้านสุขภาพจิตที่ก่อตั้งโดยกลุ่มบริษัทจาร์ดีน เมเธอสัน จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักและรับรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพจิต และให้การสนับสนุนผู้มีปัญหาทางจิตที่บำบัดแล้วให้กลับคืนสู่สังคม

     แอนดรูว์ หว่อง ประธานมายด์เซ็ตให้สัมภาษณ์ว่าบาริสต้าและพนักงานทั้งหมดในร้านมายด์บรูว์เป็นอดีตผู้ป่วยจิตเวชและผ่านการฝึกอาชีพกับโครงการของมายด์เซ็ตมาแล้ว “มันเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขา โดยมีการสอนทักษะการชงกาแฟเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่จะก้าวไปสู่อาชีพที่มีศักยภาพอย่างบาริสต้า เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพนักงานได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ระหว่างปฏิบัติงานเราจะมีนักสังคมสงเคราะห์คอยวัดชีพจรให้หากพนักงานรู้สึกตื่นเต้น เต็มตื้น หรือท่วมท้น”

     ด้านแซลลี่ (นามสมมติ) บาริสต้าฝึกหัดของที่ร้านกล่าวว่าโครงการฝึกอาชีพที่มายด์บรูว์ที่มีบาริสต้าผ่านการฝึกมาแล้ว 25 คนนับว่าเปิดโอกาสให้กับกลุ่มคนที่มักถูกตีตราในสังคม “ในฐานะที่เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งฟื้นจากความป่วยไข้ทางจิต การหางานทำเป็นอะไรที่ยากและใช้เวลามาก ที่มีเคยมีปัญหาทางจิตมักถูกตีตราอยู่บ่อย ๆ” นอกจากสร้างอาชีพและการจ้างงาน ร้านกาแฟมายด์บรูว์ยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าสนับสนุนและให้กำลังใจแก่พนักงานที่เคยป่วยทางจิตอีกด้วย

     ทั้งนี้ ข้าง ๆ ร้านมายด์บรูว์ยังมีบูธของมายด์เซ็ตตั้งอยู่เพื่อให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตซึ่งกำลังเป็นประเด็นใหญ่ระดับโลกหลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 องค์การอนามัยโลกเผยวิกฤติโควิดเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซนต์  ขณะที่ในฮ่องกงเอง มีการประเมินว่า 1 ใน 5 ของประชากรฮ่องกงกำลังต่อสู้กับอาการป่วยทางจิต  

     สำหรับสาเหตุของอาการทางจิต หลายอย่างเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน การแบ่งประเภทของโรคทางจิตเวชนั้น เกณฑ์ที่นิยมใช้กันคือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

     1.อาการวิตกกังวล

     2.ความผิดปกติทางอารมณ์ อาจจะเป็นแบบซึมเศร้า (Depression) หรือตื่นตัวคึกคัก (Mania หรือ Hypomania)

     3.ความผิดปกติทางจิต

     4. โรคหรืออาการที่มีสาเหตุมาจากยา สารเสพติด หรือความเจ็บป่วยทางกาย

     และ 5. อื่น ๆ เช่น บุคลิกภาพผิดปกติ ความผิดปกติทางกายที่มีสาเหตุมาจากจิตใจ ความผิดปกติทางการนอน หรือทางเพศ เป็นต้น

ที่มา : https://bit.ly/3zQhpTH

https://www.landmark.hk/en/whats-on/editorials/oct2022-mindbrew-popup

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​