ถอดบทเรียน Nick Mowbray นักธุรกิจพันล้านดอลลาร์ ที่ไม่แคร์ใบปริญญาจากมหาวิทยาลัย

TEXT : กองบรรณาธิการ

 Main Idea

  • เพราะไม่อยากเสียเวลาไปเรียนหนังสือ Nick Mowbray จึงลาออกมาทำของเล่นขายกับพี่ชาย

 

  • เงินที่เขาหามาได้ในวัย 18 ปีนั้นยังไม่ถึง 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน

 

  • ยิ่งไปกว่านั้นช่วงแรกความไร้เดียงสาพาเขาไปก๊อปปี้ของเล่นจนโดนเจ้าของลิขสิทธิ์มาตะโกนว่าถึงที่บูธ ความผิดพลาดครั้งนั้นคือ แรงผลักดันให้เขาก้าวเข้าสู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจของเล่น Zuru พันล้านดอลลาร์

 

     Nick Mowbray หนุ่มนิวซีแลนด์เริ่มธุรกิจในวัย 18 ปีกับพี่ชาย มีรายได้ไม่ถึง 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน แต่การไม่เคยแพ้ทำงานหนักของพวกเขาได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า

     ทว่าภายใต้ความสำเร็จที่ต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย เหนืออื่นใดการไม่ยอมแพ้ ค่อยๆ แก้ปัญหาทำให้ความผิดพลาดกลายเป็นความสำเร็จ เมื่อกิจการของเล่น Zuru สามารถขายได้ทั่วโลกค่อยๆ เติบโตจนมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ปัจจุบัน Nick มีธุรกิจสามแบรนด์ได้แก่ Zuru Toys, Zuru Edge และ Zuru Tech

     นี่คือบทเรียนสำคัญที่สุดของ Nick ค้นพบระหว่างทางที่จะประสบความสำเร็จ

กฎมีไว้แหก

    หลายคนมองว่าใบปริญญาคือ ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ แต่นั่นอาจไม่ใช่กับ Nick Mowbray ที่สนใจชื่นชอบการผลิตของเล่นถึงกับลงทุนใช้พื้นที่เล็กๆ จากฟาร์มโคนมของพ่อแม่สร้างเป็นโรงงานผลิต ที่เขาต้องแลกพื้นที่นั้นด้วยการรีดนมวัวและฉีดยาฆ่าหญ้า เพราะความสุขที่เกิดจากการทำของเล่นมีมากกว่าการเดินทางไปเรียนหนังสือ ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกในขณะที่กำลังเรียนทางด้านกฏหมายเพื่อทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับการผลิตของเล่น

     “ทำไมไม่ลองเสี่ยงโชคที่ประเทศจีนดูล่ะ?

     ในวัย 18 ปี Nick หันหลังให้ใบปริญญาพร้อมกับพาตัวเองไปยังฮ่องกง  พร้อมเงินกู้ 20,000 ดอลลาร์จากพ่อแม่ แต่ยังขาดทั้งเครื่องไม้เครื่องมือและความเข้าใจในธุรกิจ

ไร้เดียงสาเกือบพาสู่หายน

     “เราไร้เดียงสามาก เราไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่” นิคเล่าย้อนไปถึงความคิดของเขา การขาดความรู้และไร้ประสบการณ์จึงเกิดผลเสียตามมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การทำผลิตภัณฑ์ที่ไปลอกแบบมาจากอินเทอร์เน็ต

     "เป็นการละเมิด IP [ทรัพย์สินทางปัญญา] โดยที่ผมยังไม่รู้ว่า IP คืออะไร"

     กระทั่งปัญหาใหญ่ก็ตามมาเมื่อพวกเขาไปออกงานแฟร์ของเล่นแค่วันแรก ก็โดนบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มาตะโกนต่อว่าเราที่บูธ ประสบการณ์ในวันนั้นทำให้พวกเขาหยุดผลิตสินค้าที่ลอกเลียนแบบโดยเด็ดขาด หันมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นั่นเท่ากับเป็นการเดินทางใหม่อีกครั้งที่ต้องใช้เวลาหกเจ็ดปีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จแบบไร้ข้อกังขา

ไม่มีคำว่า “พนักงาน” ในพจนานุกรม

     Zuru ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้องตระกูล Mowbray ในปี 2003 เริ่มต้นจำหน่ายสินค้าที่มีอยู่แล้ว เช่น บูมเมอแรงที่มีรูปร่างเหมือนกับเฮลิคอปเตอร์ ต่อมาก็ผลิตของเล่นของตัวเองอย่าง Bunch O Balloons ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเป่าลูกโป่งน้ำ 100 ลูกได้ภายในเวลา 60 วินาที

     Nick Mowbray บอกว่าเขาไม่เคยใช้คำว่า 'พนักงาน' เพราะเขาเชื่อเสมอว่าทุกคนในบริษัทต่างก็สำคัญ เพียงแต่ว่าบทบาทของแต่ละคนแต่ละตำแหน่งก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเราโค้ชทีมและผู้เล่นทุกตำแหน่งให้ที่ดีที่สุดก็จะได้ทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง

     “ในความคิดผมการมีผู้เชี่ยวชาญที่ดีเพื่อจัดการในแต่ละแผนกย่อมดีกว่าการมีผู้จัดการแผนกโดยที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น ที่บริษัทผมมีนักออกแบบที่ดีที่สุดที่เป็นผู้จัดการดูแลนักออกแบบ ผมคิดว่ามันสำคัญมาก”

งานต้องดีขึ้นทุกอาทิตย์

     Nick มีประโยคหนึ่งที่ไว้พูดกับทีมงานเสมอคือ: 'เรายอมลำบากในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดี' อย่างน้อยเมื่อมองย้อนกลับไปทุกๆ ปี สามารถพูดได้ว่าตอนนี้เราดีขึ้นมากแล้ว' การพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่ง สองพันปีที่แล้วมนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่เพราะการพัฒนาของมนุษย์ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อย

“การทำงานผมต้องมีข้อมูลเชิงลึกอยู่เสมอ และพยายามทำให้ได้ตามข้อมูลเชิงลึกอย่างไม่ลดละ ถ้าผมทำไม่ได้ ผมไม่เรียกว่าแพ้ แต่ถือว่าได้เรียนรู้ที่สามารถนำปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผมมีความคิดอย่างหนึ่งว่าทุกสัปดาห์ต้องปรับปรุงให้งานดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 2%”

มาตรฐานสูง ก้าวเล็กๆ สู่ความสำเร็จ

     “การปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา สามารถพาคุณก้าวไปสู่จุดที่สูงมากขึ้นได้อย่างรวดเร็วจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลกำไร ยิ่งคุณกำหนดมาตรฐานไว้สูงและลงรายละเอียดให้ชัดเจน จะทำให้ทีมงานทุกคนมีระดับและมาตรฐานที่จะขับเคลื่อนผลงานได้อย่างแท้จริง”

ผู้ชนะไม่เคยยอมแพ้

     “ผมจำได้เมื่อตอนทำเงินล้านแรกได้ ได้ทำเรื่องใหญ่ขึ้น ตอนนั้นผมน่าจะอายุ 21 ปีได้รับคำสั่งซื้อมูลค่า 28 ล้านเหรียญสหรัฐจาก Walmart ให้ทำ David Beckham Tamagotchi รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะตอนนั้นเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ตื่นเต้นได้ไม่นานก็ต้องเสียใจแทนเมื่อผมไม่สามารถหาเงินทุนได้ ในที่สุด Walmart ก็ยกเลิกคำสั่งซื้อทั้งหมด และสุดท้ายก็สูญเสียเงินเกือบ 200,000 เหรียญสหรัฐภายในหนึ่งเดือน หลังจากเหตุการณ์นี้ ผมนั่งลงและคิดว่าตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป จะไม่ยอมให้สูญเสียเงินอีก

     “แม้ว่าผมจะไม่ได้ทำสินค้านั้น แต่ก็พยายามสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อไป ออกมาขายให้กับผู้ค้าปลีกทั่วโลก เพื่อสร้างโอกาสทำเงินต่อไป และยอมทำงานหนักขึ้นแม้นอนหลับใต้โต๊ะทำงานก็เคยมาแล้ว”

     การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้นยากก็จริงๆ แต่ถ้าคุณไม่ยอมแพ้ก็ยังมีโอกาส ขอเพียงแค่ต้องทำสิ่งนั้นเป็นระยะเวลานานจริงๆ และไม่หยุดที่จะเรียนรู้

     อย่างน้อยก็เท่ากับชนะใจตัวเอง

ที่มา : https://www.theceomagazine.com/business/start-ups-entrepreneurs/nick-mowbray-zuru/

https://www.nzherald.co.nz/business/nick-mowbrays-toy-story-takes-a-new-twist-after-health-scare/WYST5V652FIJ2YJCBME4PH5DIY/

https://www.bbc.com/news/business-50469922

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​