7 กลยุทธ์การทำธุรกิจ สไตล์โอ้กะจู๋ ความสำเร็จของกิจการขายผักสลัด 800 ล้านบาท

TEXT : Momin

PHOTO: OHKAJHU

Main Idea

  • โอ้กะจู๋ มองความสำเร็จ อาจไม่ต้องตั้งว่าจะโตแค่ไหน แต่เริ่มจากเล็ก แล้วค่อยๆ ขยาย

 

  • การทำธุรกิจต้องมาพร้อมกับการแก้ปัญหา และคุณภาพคือหัวใจ ต้องควบคุมได้ตั้งแต่ต้นทาง

 

  • การทำธุรกิจก็ไม่ต่างจากการปลูกผัก ที่ต้องมีย่างก้าวในการเติบโต

 

     ในการทำธุรกิจยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายในเศรษฐกิจแบบนี้ อย่างร้านอาหารเองก็ต้องเจออุปสรรคที่หนักสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา นั่นคือโควิด-19 ที่ทำให้หลายธุรกิจปิดตัวลงไปเลยก็มี แต่ที่ยังอยู่ต่อได้ก็มีอีกไม่น้อย วันนี้มีตัวอย่างธุรกิจที่นอกจากไม่ปิดตัวแล้วปีที่ผ่านสามารถทำรายได้รวมถึง 800 กว่าล้านบาท นั่นก็คือโอ้กะจู๋ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากสองเพื่อนสนิท “อู๋-ชลากร เอกชัยพัฒนกุล” และ “โจ้-จิรายุทธ ภูวพูนผล” และหุ้นส่วนอีกคนคือ “ต้อง-วรเดช สุชัยบุญศิริ ธุรกิจที่เริ่มทำจากการปลูกผักสวนครัวทานกันเองในบ้าน สู่ ธุรกิจจำหน่ายผักสลัดออร์แกนิก และร้านอาหารสุขภาพ ที่มี 20 สาขา และยังทำธุรกิจอยู่แบบยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ และจะมีสูตรสำเร็จอะไร ตามมาดูเลย

ความสำเร็จของโอ้กะจู๋ เหมือนกับขั้นตอนการปลูกผัก

 ขั้นตอนที่ 1 : การเพาะต้นกล้า

     ขั้นตอนของการปลูกผักอย่างแรกก็คือการเพาะต้นกล้า เพื่อที่ว่าจะเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงที่สุดในการนำไปปลูกในแปลงใหญ่ต่อไป ซึ่งก็เหมือนกับเคล็ดลับความสำเร็จของโอ้กะจู๋ที่ว่า

     สูตรสำเร็จ 1 ไม่ตั้งเป้าว่าจะโตแค่ไหน แต่เริ่มจากเล็ก แล้วค่อยๆ ขยาย เริ่มจากจุดเล็กๆ โดยทำโรงเรือนขนาด 6 x 30 เมตร ซึ่งเป็นโรงเรือนหลังแรก แล้วทยอยปลูกผัก ค่อยๆ เรียนรู้ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2 ปี

ขั้นตอนที่ 2 : การดูแลรักษา

     ในการปลูกผักก็ต้องเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นานา เช่น สภาพอากาศ วัชพืช โรคต่างๆ ที่มากับสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นการปลูกผักในขั้นตอนนี้ ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการรดน้ำ ให้ปุ๋ยต่างๆ บางครั้งเราอยากให้ผักเติบโตอย่างแข็งแรง จึงใส่ปุ๋ยให้ผักของเราอย่างไม่หวงของ แต่การให้ปุ๋ยมากเกินไปอาจทำให้ผักที่เราปลูกไว้เน่าเสียจนตายได้ แม้ว่ามันล้มเหลว แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าทำไมมันถึงล้มเหลว จากนั้นค่อยนำไปแก้ปัญหาในการปลูกผักในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋ 3 ข้อที่ว่า

     สูตรสำเร็จ 2 ทำธุรกิจไปพร้อมกับการแก้ปัญหา  ในการขยายสาขามาเมือง ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่า และเจอปัญหาเรื่องการขนส่ง จึงต้องเริ่มจากการเปิดร้านเล็กๆ เพื่อดูความเป็นไปได้ และลองหาวิธีแก้ปัญหา หาแนวทางแก้ไขให้ลงตัว

     สูตรสำเร็จ 3 คุณภาพคือหัวใจ ต้องควบคุมได้ตั้งแต่ต้นทาง เน้นความสดใหม่ของผักทุกวัน ตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยวจากฟาร์มที่เชียงใหม่ ส่งตรงมายังกรุงเทพฯ โดยผักทุกจานจะถูกจัดเตรียมและเสิร์ฟให้ลูกค้าภายใน 28 ชั่วโมง ภายหลังการเก็บเกี่ยว ที่สำคัญผักเกือบทั้งหมดมาจากฟาร์มของตัวเอง

     สูตรสำเร็จ 4 ชีวิตผิดพลาดได้ อย่าไปกลัวความล้มเหลว “ตั้งแต่เริ่มทำมาก็มีข้อผิดพลาดมาตลอด ช่วงแรกๆ ยิ่งผิดพลาดเยอะมาก ทั้งเรื่องของการบริการ อย่างในช่วงไฮซีซั่นของปีแรกที่เปิดร้าน เราก็บริการลูกค้าไม่ทัน อาหารทำไม่ทัน ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน พอรู้แล้วก็ค่อยๆ หาทางแก้ปัญหา เพิ่มคนเข้าไป เพิ่มอุปกรณ์เข้าไปที่จะช่วยลดเวลา”

ขั้นตอนที่ 3 การเก็บเกี่ยว

     ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการเก็บเกี่ยว ถ้าหากเก็บเกี่ยวไม่ดีอาจทำให้ผลผลิตของเราเสียหายได้ ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋ที่ว่า

       สูตรสำเร็จ 5 สร้างองค์กรคนรุ่นใหม่ กล้าแสดงความเห็น มีทักษะที่หลากหลาย  ซึ่งคนทำงานในโอ้กะจู๋มีทักษะที่หลากหลาย หนึ่งคนสามารถทำได้หลายอย่าง แม้แต่พนักงานเสิร์ฟก็อาจผันตัวมาเป็นไรเดอร์ หรือพนักงานส่งอาหารได้ พวกเขาพยายามจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้บริหารและพนักงานได้สื่อสารกันตลอดเวลา มีการแชร์ความคิดและเรียนรู้ไปด้วยกัน 

ขั้นตอนที่ 4 การส่งขายถึงมือลูกค้า

     ในขั้นตอนนี้ต้องรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร และมีวิธีการจัดการดูแลลูกค้าอย่างไรให้ซื้อผักที่เราปลูกไปนานๆ ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋

     สูตรสำเร็จ 6 มอง “ลูกค้า” เหมือนคนในครอบครัว ที่เริ่มจากความต้องการที่จะทำให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดี ไม่อยากให้ครอบครัวได้รับสารพิษและสารเคมีตกค้าง เรียกว่าปรารถนาดีต่อครอบครัวอย่างไร โอ้กะจู๋ ส่งต่อคุณภาพและสิ่งดีๆ ให้ลูกค้าดังเช่นคนในครอบครัว

     สูตรสำเร็จ 7 รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้อาหารที่เหลือจากลูกค้า โอ้กะจู๋ จะนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลด Food Waste รวมถึงลดการใช้พลาสติกให้ได้มากที่สุด 

และนี่คือ 7 สูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/6562.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​