เปิดตำนาน 2 เรื่องเล่า M&M เหตุใดจึงต้อง “ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ”

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ถ้าพูดถึงสโลแกน “ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” แน่นอนว่าใครๆ ก็ต้องรู้ว่าหมายถึงลูกอมช็อกโกแลต M&M อย่างแน่นอน

 

  • แต่รู้ไหมว่าที่มาของสโลแกนดังกล่าวนั้นไม่ได้ตั้งขึ้นมา เพื่อให้ดูคล้องจอง หรือสร้างแบรนด์ให้จดจำได้ง่ายเท่านั้น แต่ยังถึงขั้นเคยเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องเล่าน่าเหลือเชื่อระดับโลกด้วย

 

ตำนานที่ 1 : ลูกอมของกองทัพ

     ในปี 1930 ช่วงสงครามกลางเมืองสเปน Forrest Mars Sr. ผู้บริหารบริษัทขนม Mars และพี่ชายในระหว่างที่กำลังเดินทางในยุโรป เขาพบว่าเหล่าทหารที่ต่อสู้อยู่ในสงครามมักจะชอบกินช็อกโกแลตที่เคลือบด้วยเปลือกน้ำตาลแข็งๆ อยู่เป็นประจำ เนื่องจากไม่ละลายง่ายแม้อยู่ในอุณหภูมิที่สูง จนเมื่อเขากลับมายังสหรัฐอเมริกา จึงได้จำลองแนวคิดดังกล่าวและทดลองผลิตขึ้นมา โดยได้จัดตั้งโรงงานผลิตขึ้นมา ในปี 1941 แต่ก็ต้องหยุดชะงักเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากรัฐบาลประกาศควบคุมจำกัดอาหารและการใช้วัตถุดิบที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ขนมปัง เนื้อสัตว์ และน้ำตาล แต่แล้ว Forrest ก็ได้รับความช่วยเหลือจาก Bruce Murrie ซึ่งเป็นลูกชายของ William Murrie ผู้บริหารของ Hershey เหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของโลโก้แบรนด์ว่า "M&M" เพราะย่อมาจากชื่อ "Mars and Murrie" นั่นเอง

     โดยในเบื้องต้นของการผลิตนั้น M&M ถูกขายเป็นสินค้าให้กับกองทัพสหรัฐฯ เท่านั้น หลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องการลูกอมที่สะดวกและทนความร้อนระหว่างการเดินทางได้ดี ซึ่งตรงนี้เองอาจเป็นที่มาของสโลแกนว่า “ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” ก็ได้ โดยหลังจากที่สงครามได้ยุติลงแล้ว ทหารเหล่านั้นก็นำความชื่นชอบของลูกอมเคลือบน้ำตาลชนิดนี้ติดตัวกลับมาด้วย ส่งผลให้ชื่อเสียงของ M&M โด่งดั่งมากยิ่งขึ้น

     กระทั่งราวปี 1950 จึงได้มีการปั๊มสัญลักษณ์รูปตัว M ลงบนลูกอมขึ้นมา เนื่องจากได้รับความนิยมมากจนทำให้มีสินค้าหลอกเลียนแบบเกิดขึ้นมากมาย ทางบริษัทจึงพยายามประกาศออกมาว่าหากอยากรู้ว่าเป็นลูกอมของ M&M จริงไหมให้ลองมองหาสัญลักษณ์รูปตัว M บนลูกอมทุกลูก

ตำนานที่ 2 : ลูกอมชิ้นแรกที่ได้ขึ้นไปอยู่บนอวกาศ

     นอกจากเรื่องราวน่าเหลือเชื่อว่า M&M เคยเป็นลูกอมที่ชื่นชอบของเหล่าทหารในสงครามแล้ว M&M ยังสร้างหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้งด้วยการเป็นลูกอมชิ้นแรกที่ได้ขึ้นไปอยู่บนอวกาศด้วย เพราะนอกจากให้ความอร่อยแล้ว ยังเป็นวิธีช่วยให้พลังงานแก่นักบินอวกาศอย่างง่ายด้วย โดยหยิบกินก็ง่าย แถมไม่ละลายในมือ จนกลายเป็นของหวานอีกชนิดหนึ่งที่ชื่นชอบในหมู่นักบินอวกาศของนาซ่าไปแล้ว

     โดยในปี 1981 M&M ถูกนำขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกบนกระสวยอวกาศโคลัมเบียตามข้อมูลจาก Mars แจ้งไว้ว่าลูกอมช็อกโกแลตของ M&M นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักบินอวกาศ ซึ่งการอยู่ในอวกาศ มีความใกล้ชิดกับดวงอาทิตย์มากกว่าในโลก ตัวเปลือกที่เคลือบน้ำตาลไว้นั้นช่วยให้ทนความร้อน ช็อกโกแลตไม่ละลายออกมาได้ หากไม่อมไว้ในปาก 

     ซึ่งโครงการกระสวยอวกาศของนาซ่าได้สิ้นสุดลงในปี 2011 แต่ M&M ก็ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่นักบินอวกาศ รวมถึงพนักงานคนอื่นๆ ที่สถานีอวกาศนานาชาติอยู่ดี ไม่ต่างอะไรจากเหล่าทหารในสงครามเลย

     และนี่คือ 2 เรื่องเล่าที่มาของ M&M ลูกอมช็อกโกแลตหลากสี ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องใช้สโลแกนว่า “ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ”

ที่มา : https://www.businessinsider.com/the-story-of-the-mms-characters-2016-3#mms-said-no-to-being-featured-in-the-hit-1982-movie-et-the-extra-terrestrial-giving-rival-reeses-pieces-a-sweet-opportunity-5

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ