ผลวิจัยใหม่ชี้เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ อาจทำโลกร้อนกว่าเนื้อวัวถึง 25 เท่า

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • มีผลการศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นทำลายสภาพอากาศกว่าเนื้อวัวจริงถึง 25 เท่า!

 

ทำไมต้องมีเนื้อเพาะเลี้ยง?

     หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องมีการผลิต เนื้อเทียม หรือ เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บ ที่มาจากคำว่า Lab-grown meat หรือ Cultured meat ทั้งนี้เหตุผลหลักๆ ก็คือ นอกจากลดการเบียดเบียนการทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังมีรายงานว่า การทำปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 7,200 ล้านตัน หรือ 13% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

     เรื่องนี้จริงจังถึงขนาดที่ประเทศนิวซีแลนด์ เตรียมเรียกเก็บค่าภาษี มลพิษจากปศุสัตว์ อาทิ การเลี้ยงแกะและการเลี้ยงวัว โดยจุดประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลกให้น้อยลง 

     ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดการคิดค้นการผลิตเนื้อเทียมโดยการเพาะเลี้ยงในห้องแล็ปขึ้นมาทดแทน ที่ศาสตราจารย์ Mark Post นำเสนอต่อคนทั่วโลกเมื่อปี 2012 และต่อมาก็ทำให้มีคนให้ความสนใจกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรับประทาน และการประยุกต์ใช้เนื้อเทียมจากสิ่งอื่นๆ 

     ปัจจุบันเนื้อเทียมที่มีขายโดยทั่วไป มักทำมาจาก Plant based protein เช่น ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวสาลี ธัญพืช และมีไม่กี่ประเทศที่ออกกฎหมายเรื่องการขายเนื้อเทียมประเภทสังเคราะห์จากแล็บสู่ภาคประชาชนอย่างจริงจัง ซึ่งประเทศแรกที่อนุมัติเรื่องนี้คือ สิงค์โปร์

     ต่อมาก็มีเนื้อไก่ที่เพาะในแล็บที่ผลิตโดยบริษัท Eat Just ของสหรัฐฯ เสิร์ฟครั้งแรกที่ร้านอาหารสิงคโปร์ในปี 2020 และได้รับการอธิบายว่ามีรสชาติที่ 'เหมือนกับไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม'

     ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์ปูทางให้สามารถจำหน่ายเนื้อสัตว์เหล่านี้ในอเมริกาได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ธุรกิจเพาะเนื้อในห้องแล็บเติบโตจากสถิติปี 2565 มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจนี้มากกว่า 150 บริษัท

     อย่างไรก็ดีมีการคาดการณ์ว่าเนื้อจากห้องแล็บจะแพร่หลายมากขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า ชนิดที่ว่าแทบจะหาได้ในตู้เย็นทั่วไปของทุกบ้าน

     ถ้าเป็นตามนั้นการผลิตเนื้อเทียมจะต้องมีการขยายการผลิตกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้พลังงานมาก

 

เนื้อเทียม VS เนื้อวัวแท้

     เร็วๆ นี้คณะวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (Department of Food Science and Technology, University of California, Davis) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบพลังงานที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการ จากส่วนผสมที่เป็นตัวกลางในการเจริญเติบโตและพลังงานที่ต้องใช้ในห้องปฏิบัติการ และเปรียบเทียบกับเนื้อวัว โดยสิ่งที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบคือ ปริมาณของส่วนประกอบอาหารในการเลี้ยงวัว ได้แก่ กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน เกลือและแร่ธาตุ

     พวกเขาพบว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 246 ถึง 1,508 กิโลกรัมต่อการผลิตเนื้อ 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าการผลิตเนื้อวัว 4 ถึง 25 เท่า

     ทั้งนี้ทางทีมวิจัยได้ให้ความเห็นว่า แม้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บจะลดการทำลายป่าเพื่อทำฟาร์ม แต่ ในการเพาะเลี้ยงต้องใช้พลังงานและทรัพยากรสูง โดยเฉพาะถ้ามีการผลิตในจำนวนมากเพื่อเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

     ประเด็นสำคัญ คือ การทำให้เนื้อแล็บสะอาดทานได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องมีการกำจัดสาร ‘เอนโดท็อกซิน’ (endotoxins) ซึ่งในกระบวนการนี้ใช้พลังงานสูงขึ้นมาก ทีมสรุปว่าแนวคิดเนื้อเพาะเลี้ยงนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็สำคัญที่จะต้องศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน

ที่มา : https://www.newscientist.com/article/2372229-lab-grown-meat-could-be-25-times-worse-for-the-climate-than-beef/

https://interestingengineering.com/science/lab-grown-meat-25-times-co2

https://www.iflscience.com/lab-grown-meat-up-to-25-times-worse-for-the-environment-than-beef-68859

https://blog.pttexpresso.com/cultured-meat/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​