สำรวจสถานการณ์ทุเรียน ไทยจะยังเป็นเจ้าตลาดหรือไม่? เมื่อลูกค้ารายใหญ่อย่างจีนปลูกได้เอง

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea

  • คงไม่ปฏิเสธว่าจีนคือ ลูกค้ารายใหญ่ที่ทำให้ทุเรียนไทยขายได้ขายดี

 

  • หลายคนอาจสงสัยว่าการที่จีนสามารถปลูกทุเรียนได้เองแล้วนั้นจะสนองความต้องการในประเทศจนไม่ต้องนำเข้าทุเรียนจากที่อื่นหรือเปล่า แล้วจะกระทบกับไทยแค่ไหน

 

   หลังจากที่กลายเป็นข่าวดังกรณีอินฟลูเอนเซอร์จีนที่รู้จักกันในชื่อ “ซินบา” เจ้าของฉายา “ราชันนักขาย” ผู้ก่อตั้ง อี-คอมเมิร์ซชั้นนำด้านการถ่ายทอดสดในประเทศจีนได้เดินทางมาไลฟ์สดขายสินค้าต่าง ๆ ในไทย หนึ่งในนั้นคือทุเรียนหมอนทองที่ทำยอดขายปังสุด กวาดรายได้เกือบ 300 ล้านหยวนหรือราว 1,500 ล้านบาทจากยอดสั่งซื้อทุเรียน 1.62 ล้านลูก น้ำหนักรวมกว่า 4,800 ตัน

     ขายที่ไทยแต่กลายเป็นดราม่าที่จีน เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าทุเรียนคนจีนออกมาโวยว่าการไลฟ์สดของซินบาทำให้ราคาทุเรียนในจีนทะยานพุ่ง จนผู้ค้ารายย่อยไม่มีทุเรียนจะขาย ไม่เฉพาะที่จีน ผู้บริโภคในไทยเองก็ได้รับผลกระทบ อย่างหมอนทองที่เคยขายไม่เกิน 200 บาทต่อกิโลกรัม หลายร้านราคาขายขึ้นไปแตะกิโลกรัมละ 300 บาท แถมทุเรียนในไทยยังขาดตลาดอีกด้วย ไม่เฉพาะที่ไทย มาเลเซียเองก็เผชิญชะตากรรมไม่ต่างกัน จนมีคำพูดจากผู้บริโภคในมาเลเซียว่า “เดี๋ยวนี้ซื้อทุเรียนเหมือนซื้อทองคำ” หรือ “ทุเรียนมา ผ้าหลุด” เป็นต้น

จีนยังต้องนำเข้าทุเรียนไหม?

     หลายคนอาจสงสัยว่าที่จีนเองก็สามารถปลูกทุเรียนได้แล้วน่าจะสนองความต้องการในประเทศจนไม่ต้องนำเข้าทุเรียนจากที่อื่นหรือเปล่า ในเรื่องนี้ ลิม ชอน คี ผู้เชี่ยวชาญด้านทุเรียนจากมาเลเซียผู้ก่อตั้ง Durian Academy เล่าว่าเขาต้องบินไปจีนทุก 2 เดือนเพื่อให้คำแนะนำเกษตรกรจีนเกี่ยวกับการปลูกทุเรียนโดยเฉพาะรายที่ปลูกบนพื้นที่มากกว่า 1,000 เอเคอร์หรือประมาณ 2,500 ไร่

     ในฐานะที่มาเลเซียส่งออกทุเรียนแช่แข็งคุณภาพดีไปยังจีน ลิมให้สัมภาษณ์ว่าที่ยังเดินทางไปสอนเกษตรกรจีนปลูกทุเรียนด้วยความเต็มใจก็เพราะมั่นใจว่าผลผลิตทุเรียนในจีนก็ไม่เพียงพอจนสามารถลดการนำเข้าในเร็ววันนี้ อย่างไรก็ตาม มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามก็ยังควรจับตามองความก้าวหน้าของจีนในระยะยาวเพราะไม่แน่จีนอาจกลายเป็นคู่แข่งหลักในตลาดก็ได้

     สถานีโทรทัศน์ไชน่า เซ็นทรัล เทเลวิชั่นรายงานการปลูกทุเรียนในจีนเริ่มขึ้นที่มณฑลไห่หนานช่วงทศวรรษ 1950 รวมพื้นที่เกือบ 1.3 ล้านไร่ แต่การปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จให้ผลผลิตและมีแนวโน้มจะกลายเป็นพืชทำเงินหลักให้เกาะไห่หนานเพิ่งเกิดขึ้นในปี 2020 นี่เอง โดยปีนี้จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนรอบแรกได้และคาดว่าเดือนมิย.นี้ ทุเรียนจากไห่หนานจะวางขายในประเทศประมาณ 2,450 ตัน 

     ถึงกระนั้น ลิมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทุเรียนจากมาเลเซียก็มองว่ายังไงผลผลิตทุเรียนในจีนคงไม่สูงมากและไม่พอต่อความต้องการในประเทศเพราะยังมีอุปสรรค เช่น เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่เองแต่ต้องเช่าที่ดิน การจ่ายค่าเช่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง และสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นในบางครั้งบางคราวทำให้ต้นทุเรียนที่ปลูกได้รับความเสียหาย ส่งผลให้จำนวนผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน

     ด้านแซม ชิน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบริษัทเอสแอนด์เอฟ โพรดิวซ์ กรุ๊ปในฮ่องกง ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเกษตรเสริมว่าที่สำคัญ สภาพอากาศกึ่งเขตร้อนของไห่หนานทำให้ทุเรียนที่ได้คุณภาพไม่สามารถเทียบเท่าทุเรียนไทยซึ่งมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน  

     นอกจากนั้น ยังมีข้อได้เปรียบของชาติอาเซียนที่ส่งออกทุเรียนไปจีนอีกอย่างคือการได้ประโยชน์จาก RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อันเป็นความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 5 ประเทศคู่เจรจาเกี่ยวกับการลดภาษีการค้าซึ่งเอื้อให้การส่งออกผลไม้หายากในจีนเข้าถึงผู้บริโภคจีนได้ง่ายขึ้น

     ข้อมูลระบุปี 2022 ที่ผ่านมา จีนนำเข้าทุเรียนสดมากกว่า 824,000 ตัน มูลค่า 4,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มมากกว่าปี 2017 ถึง 4 เท่า ในจำนวนนี้เป็นทุเรียนนำเข้าจากไทยมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทด้านการเกษตรที่ลงทุนปลูกทุเรียนในจีนก็กำลังหาวิธีการเพิ่มผลผลิตโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การเร่งวงจรการเติบโตของต้นทุเรียนให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จากภายใน 10 ปีเหลือเพียง 3 ปี รวมถึงพัฒนาเทคนิคการปลูก การให้นำ ให้ปุ๋ย และควบคุมสภาพอากาศ เรียกว่าการปลูกทุเรียนในจีนนั้นมีความซับซ้อนและต้องใช้ความพยายามมากกว่ามาก จีนจะพัฒนาเทคนิคการปลูกทุเรียนไปถึงไหน จะถึงขั้นส่งออกไปยังประเทศอื่นได้หรือไม่ คงต้องจับตามองต่อไป

ที่มา : https://shorturl.asia/tB3ns

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​