ธุรกิจทำเงินสุดแปลก แปรซากสัตว์เป็นงานศิลปะ ลูกค้าแห่ใช้บริการเพียบที่สิงคโปร์

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea

  • สัตว์เลี้ยงเหมือนลูกรักของคนในยุคนี้ ทำให้เกิดธุรกิจมากมายขึ้นมารองรับกลุ่ม Pet lover

 

  • หลายคนยิ่งทำใจไม่ได้เมื่อต้องสูญเสียสัตว์รักไป ทำให้เกิดบริการแปรซากสัตว์เป็นงานศิลปะ หรือ การทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์หรือที่เรียกว่าการสตัฟฟ์สัตว์นั่นเอง

 

  • มีผู้ใช้บริการมากมายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมราว 500 ตัว แมลงและสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,000 ตัว สัตว์ตัวเล็กสุดที่คือมด ใหญ่สุดคือม้า

 

  • ทำให้ธุรกิจ Black Crow Taxidermy & Art ขยายทีมเพิ่มถึง 8 คน

 

     เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักเสียชีวิตลง เชื่อว่าหลายคนที่ยังทำใจไม่ได้คงต้องการหาวิธีได้อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ และวิธีหนึ่งนั้นคือ “Taxidermy” การทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์หรือที่เรียกว่าการสตัฟฟ์สัตว์นั่นเอง ซึ่งคนที่จะทำได้ก็คือ Taxidermist งานแบบนี้ หากเป็นก่อนหน้าคงจำจัดเฉพาะในแวดวงพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์หรือสถาบันเพื่อการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันมีนัก Taxidermist ไม่น้อยที่รับงานเชิงพาณิชย์จากลูกค้าทั่วไป ทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต

     บนเส้นทางสู่การเป็นนัก Taxidermist เริ่มต้นที่บ้านเกิดของวิเวียนที่เมืองอิโปห์ รัฐเปรักของมาเลเซีย ในวัยเด็กเธอมักจะติดตามพี่ชายเข้าไปในป่าใกล้บ้านเพื่อเก็บซากแมลงที่ตายแล้ว ความประทับในในสีสันและรูปทรงของแมลงชนิดต่าง ๆ ทำให้เมื่อโตขึ้น เธอเลือกเรียนสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัก จากนั้นก็ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านพยาธิวิทยา ระหว่างทำงานในฐานะนักสัตววิทยาที่สิงคโปร์ และต้องศึกษาซากสัตว์จำนวนมากเพื่องานวิจัย หลังเสร็จโครงการ แทนที่จะทิ้งซากสัตว์เหล่านั้น อาศัยความรู้จากการสตัฟฟ์สัตว์ระหว่างฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเลเซียเธอจึงทำการสตัฟฟ์สัตว์เหล่านั้นไว้

     เนื่องจากอาชีพนัก Taxidermist ไม่แพร่หลายและวิเวียนชอบทำงานคนเดียว เธอจึงค้นพบเส้นทางที่ชอบ และเริ่มฝึกฝนการสตัฟฟ์สัตว์อย่างจริงจัง กลางปี 2020 เธอเริ่มนำผลงานที่เป็นแมลงต่างๆ และผีเสื้อซึ่งเธอมองว่าเป็นงานศิลปะวางขายทางออนไลน์ กระทั่งเริ่มมีคนมาขอให้สตัฟฟ์สัตว์เลี้ยงให้ ปลายปี 2021 เธอจึงเปิดสตูดิโอ Black Crow Taxidermy & Art ขึ้นในแฟลตที่พักอาศัยของเธอ

     ลูกค้าช่วงแรกๆ เป็นมิตรสหายใกล้ตัวที่นำสัตว์เลี้ยง เช่น แมว และสุนัขมาให้สตัฟฟ์ ก่อนนำไปโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียวเพื่อโชว์ความสวยงามสมจริง ทำให้วิเวียนเริ่มเป็นที่รู้จัก และลูกค้าเริ่มมากขึ้น เธอจึงขยับขยายไปเปิดสตูดิโอในพื้นที่กว้างขึ้นในย่านไชน่าทาวน์ของสิงคโปร์ เธอเผยว่าบริการรักษาซากสัตว์ของเธอจะมี 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การสตัฟฟ์ (ทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต) การทำให้แห้ง การดองในสารเคมี การกลายสภาพให้เป็นมัมมี่ และการทำเป็นโครงกระดูก

     เนื่องจากวิเวียนกลางวันทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องแล็บที่โรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เธอจึงรับงานได้ไม่เยอะ ลูกค้าต้องรอคิวบางทีนาน 6 เดือนถึง 1 ปีเลยทีเดียว ลูกค้าโดยมากเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง และนักวิชาการ เช่น นักกีฏวิทยาที่ศึกษาเรื่องแมลง เธอเล่าว่าลูกค้าบางคนเก็บซากสัตว์ไว้ในตู้แช่แข็งนานนับปีก่อนจะมาเจอเธอ จนถึงขณะนี้ วิเวียนทำผลงานไปแล้วมากมาย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมราว 500 ตัว แมลงและสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,000 ตัว เล็กสุดที่เคยทำคือมด ใหญ่สุดคือม้า สำหรับราคา ถ้าเป็นสุนัขและแมว เริ่มต้นที่ตัวละ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 6.4 หมื่นบาท) ถ้าเป็นสัตว์เล็ก เช่น หนูแฮมสเตอร์ ราคาประมาณ 260 ดอลลาร์หรือประมาณเก้าพันบาทเศษ

     นอกจากบริการสตัฟฟ์สัตว์แล้ว ที่สตูดิโอของวิเวียนยังเปิดเวิร์กช้อปให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้และทดลองสตัฟฟ์สัตว์ด้วย ลูกค้ามีทุกเพศทุกวัย อายุน้อยสุดเป็นเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่สนใจเกี่ยวกับผีเสื้อ ขณะที่ลูกค้าอายุเยอะสุดเป็นคุณตาวัย 78 ปีที่มาเรียนรู้การสตัฟฟ์นกเพื่อใช้ตกแต่งบ้าน และมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยมาเข้าเวิร์กช้อปเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเข้าสู่อาชีพที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น สัตวแพทย์ดีหรือไม่

     ปัจจุบันธุรกิจ Black Crow Taxidermy & Art คืนทุน มั่นคง และได้รับการยอมรับ จากที่ทำงานคนเดียว วิเวียนก็ขยายทีมมีพนักงานและอาสมัครมาช่วยงานอีก 8 คน วิเวียนเล่าว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องต่อสู้กับความเชื่อของคนในสังคมเอเชีย ที่คนส่วนใหญ่ยังเชื่อมโยงความตายกับผีและวิญญาณ สำหรับคนรุ่นเก่า เมื่อสัตว์เลี้ยงตายมักจะเลือกเผาหรือฝัง มาถึงจุดนี้ คนรุ่นใหม่เริ่มมองการสตัฟฟ์สัตว์เป็นงานวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานงานศิลปะ สัตว์ที่สตัฟฟ์ก็ไม่ต่างจากงานที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ 

ที่มา : https://cnalifestyle.channelnewsasia.com/living/singapore-taxidermist-vivian-tham-black-crow-taxidermy-298751

https://www.straitstimes.com/multimedia/graphics/2022/11/singapore-preservation-taxidermy/index.html?shell

https://www.cnbc.com/2023/05/26/singapore-millennials-run-taxidermy-business-to-bring-5-figures-a-month.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ