Farmkits : ฟาร์มสเตย์ไทบ้าน ที่ฝันสร้างคอมมูนิตี้เทคท้องถิ่น เป็นหมุดหมายที่ทำงานของ Digital Nomad

TEXT / PHOTO : ชาญชัย หาสสุด

Main Idea

  • หนึ่งในสามของผู้สร้างจุดเปลี่ยนให้ภูผาม่านกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่รู้จักแพร่หลายและพยายามสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีกับการท่องเที่ยวชุมชน

 

  • ฟาร์มสเตย์ไทบ้านที่มองไกลถึงการสร้างคอมมูนิตี้เทคระดับท้องถิ่น สร้างจุดสนใจให้เป็นบ้านใหม่ของ  Digital Nomad

 

     ภาพหนองสมอกับผืนน้ำนิ่งราวแผ่นกระจกสะท้อนรับเงาภูผาหินปูนอาบแสงสีทองยามเช้า กลายเป็นภาพจำที่นักท่องเที่ยวหลายคนต้องปักหมุด ไว้ไปนั่งถ่ายภาพจิบกาแฟสักครั้ง ยิ่งเมื่อปากต่อปากได้บอกเล่าถึงความสวยงามแห่งภูผาม่าน ยิ่งส่งผลให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายใหม่อันดับต้นๆ ของการท่องเที่ยวพักผ่อนในจังหวัดขอนแก่น

     กุลชาติ เค้นา หรือ กุล นักออกแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น (UX/ UI Designer) เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้การท่องเที่ยวของภูผาม่านกลายเป็นทีรู้จักในวงกว้าง

     “ก่อนจะมีฟาร์มคิด Farmkits เคยจัดงานเทคนิทัศน์ เอาโปรแกรมเมอร์มาคุยกัน เพื่อจะดูว่าถ้ามีคนมาเที่ยว เราต้องคิดเรื่องอะไรบ้างและได้ข้อสรุปว่า ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้เพราะไม่มีระบบนิเวศที่เอื้อเลย จึงเป็นที่มาของการเปิดฟาร์มคิด ร้านกาแฟร้านแรกๆ เพื่อสร้าง ecosystem ของการท่องเที่ยวในภูผาม่าน เริ่มเห็นว่ามีคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวเข้ามาบ้าง  พอทำไปสักพักก็ยังไม่เกิด ไม่อิมแพคพอ ทำให้กลายเป็นโจทย์ให้ต้องคิดต่อว่าเอายังไงดี”

     กุลเล่าจุดกำเนิดจริงๆ ของภูผาม่าน ก่อนจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดัง

     “โชคดีที่ ททท. กับ TCDC ได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวภูผาม่านและได้เจอพี่ช่างภาพ ททท. ที่ชี้มุมถ่ายภาพที่สวยที่สุดของหนองสมอให้  จึงเป็นที่มาของ ““วิวผาม่าน” เพื่อขายบริการให้คนมาเที่ยวด้วยการดริปกาแฟ ดูวิวผาหินปูนสะท้อนน้ำ จนสามารถสร้างมิติใหม่ของการท่องเที่ยวภูผาม่าน แทนการมาดูแค่ค้างคาว”

     ครั้งนั้นทำให้กุลเริ่มรู้ทิศทาง ประจวบเหมาะกับการเริ่มคลายล็อกโควิด คนเริ่มท่องเที่ยวได้ภายในจังหวัด ยิ่งเมื่อมี 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกที่ถูกเวลา อย่างจุดชมวิวหนองสมอจากวิวผาม่าน, ภูผาม่านโฮมสเตย์ที่พักแห่งแรก และการตอบอินบ๊อกซ์ภาษาอีสาน สกิลเทพจนฮือฮาเป็นข่าวของแอดมินเพจอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ยิ่งทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายท่องเที่ยวติดกระแสในชั่วข้ามคืน

     ตอนหนึ่งผมตั้งคำถามถึงการได้มาและเสียไปของการท่องเที่ยว จนบางครั้งเจ้าของทรัพยากรมุ่งแต่รายได้จนลืมนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน กุลบอกว่าปล่อยให้ชุมชนเรียนรู้กันเอง เพราะกรณีศึกษามีอยู่ทั่วไป ถ้าพัง เขาต้องได้รับผลกระทบก่อน

     “ผมรู้สึกปลอดภัยเพราะเจาะกลุ่มชัดเจน สร้างร้านกาแฟให้คนไทบ้านได้มานั่งคุยกัน สร้างกิจกรรมร่วมกัน ส่วนโฮมสเตย์ก็เจาะเฉพาะกลุ่มเทค อยากแตะให้ถึงพลเมืองด้วยซ้ำ อยากดึงคนเก่งมากระจาย อำนาจความรู้สู่ท้องถิ่น อยากสร้าง Community Tech ทำประโยชน์อย่างยั่งยืนให้ชุมขน มีพื้นที่ให้เรารู้สึกว่า องค์ความรู้ไม่ต้องไปหาแค่ในเมืองก็ได้”

     กุลเคยจัดงาน Tech Meet Up กลางทุ่งนาในนามของ “เทคไทบ้าน” และประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมด้วยจำนวนของผู้ร่วมงานที่เพิ่มมากขึ้นๆ ในทุกปี จนกลายเป็นเวที “มหา’ ลัยไทบ้าน”สร้างการแลกเปลี่ยนกันของคนมีความสามารถ ซึ่งอาจจะผลิตหลักสูตรที่หลอมรวมระหว่างการเท่องเที่ยว ธรรมชาติและเทคโนโลยีในอนาคตให้กับเยาวชนและผู้สนใจ

     ค่ำแล้วเราล้อมวงรอบเตาหมูกระทะ ภูผาม่านตรงหน้าค่อยๆ ถูกความมืดดำกลืนหาย เหลือไว้แค่ไฟฟ้าในหมู่บ้านที่ยังให้แสงสว่าง เรานั่งคุยกันจนหมู ปลาและผักค่อยๆ ร่อยหรอ จนกลายเป็นความอิ่มท้อง ยิ่งดึกบทสนทนายิ่งออกรส กุลชอบยกหัวข้อให้เราออกความเห็น

     ล่าสุดกุลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน “ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรมปี 2” ซึ่งจากที่เราได้เจอกัน พูดคุยกัน ผมยิ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าเขาไม่เหมาะสม

     “มันเริ่มมาจากศูนย์จริงๆ เลย รู้สึกพอใจจากสิ่งที่ทุ่มเทไป รู้สึกปลอดภัยขึ้นเยอะจากการมาอยู่บ้าน ยังมุ่งมั่นที่จะนำคนมากระจายความรู้ให้มากที่สุด เพื่อจะคงคีย์ให้เกิดการท่องเที่ยวในภูผาม่านตลอดไป”

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฟาร์มคิด

https://www.facebook.com/farmkits.co

วิวผาม่าน

https://www.facebook.com/viewphaman

เทคไทบ้าน

https://web.facebook.com/techthaiban.org

มหา’ ลัยไทบ้าน

https://web.facebook.com/ThaibanUniversity

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​