ทำความเข้าใจ CBAM และผลกระทบต่อธุรกิจไทย

TEXT : JaY

Main Idea

  • ชวนผู้ประกอบการไทยมารู้จัก “มาตรการ CBAM” การปรับราคาคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป

 

  • CBAM ส่งผลกับผู้ประกอบการไทยอย่างไร และการเตรียมความพร้อมรับมือ

 

     ชวนทุกคนมารู้จัก CBAM หรือ "Carbon Border Adjustment Mechanism" มาตรการกลไกการปรับราคาคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นนโยบายที่นำเข้าเพื่อปรับค่าคาร์บอนหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศสมาชิกในทวีปยุโรปที่ใช้นโยบายนี้

     CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้กรอบนโยบาย European Green Deal หรือการวางแผนยุทธศาสตร์ ของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน จากการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของสหภาพยุโรปลง 55% ภายในปี 2030

     ปัจจุบันมีประเภทสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรการ CBAM ทั้งสิ้น 7 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียม, เหล็ก, เหล็กกล้า, ปูนซีเมนต์, ปุ๋ย, ไฟฟ้า, และไฮโดรเจน

D-day 1 ตุลาคม 2023 เริ่มบังคับใช้ CBAM

     ทั้งนี้มาตรการ CBAM เริ่มบังคับใช้ช่วงแรกตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 หรือที่เรียกว่า “ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional period)” หมายถึง ผู้นําเข้ามีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลปริมาณสินค้าที่นำเข้าและการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต (Embedded Emissions) และจะเริ่มบังคับให้ผู้นําเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณจริงของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2026 เป็นต้นไป

CBAM ส่งผลกับผู้ประกอบการไทยอย่างไร

     การส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรป ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของ CBAM มีสัดส่วนไม่มาก อาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง โดยมีการส่งออกหลักใน 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์และอะลูมิเนียม เป็นแรงกดดันให้ประเทศที่ต้องการส่งออกสินค้าในทวีปยุโรปต้องพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดการสร้างคาร์บอน

มาตรการ CBAM กับการเตรียมความพร้อม

     มาตรการ CBAM จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการรายงานข้อมูลพร้อมยื่นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียม CBAM Certificates ทุกปี โดยข้อมูลประกอบด้วย 

     1. ปริมาณสินค้าที่นำเข้าในระหว่างปีที่ผ่านมา 

     2. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้ามาใน EU มีการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต 

     3. CBAM Certificates ที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า โดยจะคิดค่าธรรมเนียมจากค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์ของราคาในระบบ EU ETS3 ซึ่งผู้นำเข้าจะได้รับการลดภาระค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมคาร์บอนในประเทศต้นกำเนิดสินค้าแล้ว หรือตามสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบบให้เปล่า (Free Allowances) ที่ EU ได้อนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการภายใน EU 

     หากไม่มีการยื่นหลักฐาน CBAM Certificates ผู้นำเข้าสินค้านั้นจะต้องโดนโทษในอัตรา 3 เท่า ของราคาเฉลี่ยในปีก่อนหน้า และยังคงต้องทำการซื้อและส่งมอบ CBAM Certificate ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น

ผลกระทบจาก CBAM

     การเพิ่มต้นทุน ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ใช้ CBAM อาจต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมหากสินค้ามีปริมาณคาร์บอนที่สูง ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตและราคาขายสินค้า

     การสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน CBAM อาจสร้างความกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและนำเข้าเทคโนโลยีที่ช่วยลดการสร้างคาร์บอนในกระบวนการผลิต เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ

     การท้าทายและการปรับตัว ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศและต้องปรับตัวต่อกับการใช้ CBAM โดยอาจต้องพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่เพื่อทำให้ธุรกิจของตัวเองได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก

     CBAM จะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย เนื่องจากอุปสรรคใหม่ที่ไม่ใช่ภาษี CBAM จึงถูกมองว่าเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ต้นทุนการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น และผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัว ยังไงก็ตาม CBAM ยังถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการปรับใช้และลงทุนในเทคโนโลยีที่สะอาดยิ่งขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลให้มีความยั่งยืนในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

     เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินการตาม CBAM ผู้ประกอบการไทยสามารถนำกลยุทธ์และมาตรการต่างๆ มาใช้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือการลงทุนในเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการไทยยังสามารถสร้างความร่วมมือกับบริษัทในสหภาพยุโรปและค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถขอการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รัฐบาลสามารถให้สิ่งจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษีและเงินอุดหนุน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการลงทุนในเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่สะอาดยิ่งขึ้น การนำมาตรการเหล่านี้มาใช้ ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวตามการนำ CBAM ไปใช้ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น

     อย่างไรก็ดีมาตรการ CBAM นี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้แต่ธุรกิจขนาดเล็กเองก็ไม่อาจมองข้ามเรื่องนี้ถ้าหากทำธุรกิจให้โตอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2566/220866.pdf

https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/featured-stories/943/เข้าใจ-มาตรการ-cbam-การปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน-eu-เพื่อความยั่งยืน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​