วิกฤตขาดแคลนแรงงาน & ปัญหาสูงวัย สองปัญหาภาคสะเทือนภาคธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่นต้องลดเวลาขาย

TEXT : Nimsri

     ต่อเนื่องจากวิกฤตผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่น ขณะที่อัตราการเกิดกลับลดน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง จนทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว จากผลิตสินค้าเครื่องใช้สำหรับเด็ก หันมาผลิตสินค้าสำหรับผู้ใหญ่แทน เช่น ตลาดผ้าอ้อม เป็นต้น ล่าสุดญี่ปุ่นยังเจอกับวิกฤตปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ถึงขั้นร้านสะดวกซื้อที่เคยเปิด 24 ชม. ต้องปรับเวลาการให้บริการลดลง

12% ทั่วประเทศ ปรับตัวเปิดไม่ถึง 24 ชม.

     จากการสำรวจของ Kyodo News รายงานว่าปัจจุบันเกือบ 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเลือกที่จะไม่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้เหตุผลว่าเพราะการขาดแคลนพนักงาน ประจวบกับความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในช่วงดึกก็ลดลงด้วย

     การสำรวจดังกล่าว ได้จัดทำขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ทั้ง 7 รายในญี่ปุ่น ยกเว้นบริษัท Yamazaki Baking Co. โดยพบว่าร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,000 แห่ง เปิดให้บริการในระยะเวลาที่สั้นลง ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ขณะที่หลายร้านเร่งปรับตัวหันมาใช้เครื่องบันทึกเงินสดแบบไร้คนแทน

     โดย Seven-Eleven Japan Co. ผู้นำในอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้ลดเวลาทำการของร้านค้าเพิ่มเติมกว่า 200 แห่งนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2020 ​​ขณะที่บริษัท Lawson Inc. ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันกับร้านค้าอีกประมาณ 100 แห่ง เช่นเดียวกับ Seicomart ร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด มีอัตราการลดเวลาทำการของร้านค้าสูงสุดที่ร้อยละ 87 ตามมาด้วย Poplar Co. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ก็ลดเวลาการทำงานลงที่ร้อยละ 79

     แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับเวลาทำการให้สั้นลง แต่หากลองคิดจากแบรนด์ร้านสะดวกซื้อชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ Seven-Eleven Japan, Lawson และ Family Mart Co. ก็ยังถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ คิดเป็น 8-10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับร้านค้ารายย่อยอื่นๆ ในประเทศทั้งหมด

Lyu Ling หญิงชาวจีนที่ทำงานในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นมาประมาณ 10 ปี ในร้านแฟมิลี่มาร์ทในเขตชูโอ กรุงโตเกียว

นำเข้าแรงงานต่างชาติ ทดแทนขาดแคลนคนทำงาน

     จากวิกฤตที่เกิดขึ้น ล่าสุด Kyodo News ได้รายงานต่อเนื่อง ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาของทั้ง 3 แบรนด์ร้านค้าสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ โดยพบว่าได้มีการว่าจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนกว่า 80,000 คน เพื่อทำงานพาร์ทไทม์ คิดเป็นร้อยละ 10 ของแรงงานพาร์ทไทม์ทั้งหมดที่มี โดยเพิ่มขึ้น 1.4 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน

     โดย 7-Eleven เป็นร้านที่มีพนักงานพาร์ทไทม์เป็นชาวต่างชาติมากที่สุดประมาณ 40,000 คน ขณะที่ร้าน Lawson มีประมาณ 24,000 คน และ Family Mart ประมาณ 18,000 คน แรงงานส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม และเนปาล เหตุผลของการจ้างแรงงานต่างชาติครั้งนี้ คือ มองว่าร้านสะดวกซื้อเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของชีวิตชาวญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนต่างๆ รวมถึงบริการต่างๆ เช่น จัดส่งพัสดุ ชำระบิล และซื้อตั๋วงานต่างๆ จึงทำให้แบรนด์ต้องพยายามหาแรงงานมาทดแทน เพื่อเปิดให้บริการปกติแก่ลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะดำเนินการแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

     ผู้สมัครทำงานพาร์ทไทม์จำนวนมากเป็นนักเรียนต่างชาติ ที่มีเป้าหมายอยากจะพัฒนาภาษาญี่ปุ่นของตนผ่านการทำงาน ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาญี่ปุ่นมากขึ้น บริษัทต่างๆ จึงคาดหวังว่าการจ้างพนักงานชาวต่างชาติมา ไม่เพียงช่วยเติมเต็มแรงงานที่ขาดแคลน แต่ยังช่วยปรับปรุงการสื่อสารเมื่อมีลูกค้าต่างชาติเข้ามาเพิ่มมากขึ้นด้วย

     “เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ต้องแข่งขันกับจำนวนร้านค้าอีกต่อไป แต่อยู่ที่ว่าจะปรับปรุงมูลค่าของร้านค้าแต่ละแห่งได้อย่างไร เพื่อตอบสนองต่อสังคมญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไป” ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อแบรนด์หนึ่งกล่าวเอาไว้

ที่มา : https://english.kyodonews.net/news/2024/05/6e570936ce90-12-of-japan-convenience-stores-not-open-24-hours-amid-labor-shortage.html?phrase=Hideki%20Matsuyama&words=

https://japantoday.com/category/business/over-80-000-foreigners-working-at-convenience-stores-in-japan

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​