Local Alike เปิดชุมชนแด่นักล่าประสบการณ์

    ในวันนี้ กระแสของ “Travelism” กำลังหลั่งไหลเข้ามาสู่เมืองไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะเห็นนักเดินทางฉายเดี่ยว เป็นคู่ หรือกลุ่มเล็กๆ เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งถ้าเราลองมาไขถึงพฤติกรรมของ Travelism อย่างละเอียด จะพบว่า พฤติกรรมโดยพื้นฐานของพวกเขา ไม่นิยมเดินทางโดยผ่านกรุ๊ปทัวร์ใดๆ ทั้งสิ้น 

    นั่นเพราะพวกเขามองว่าการเที่ยวแบบอาศัยการซื้อแพ็กเกจต่างๆ นั้น จะทำให้มนต์เสน่ห์ของการเดินทางที่คาดหวังต้องผิดเพี้ยนไป

    และ ณ ขณะนี้ ในด้านธุรกิจก็เองก็เริ่มมีบริการที่เข้ามาตอบโจทย์กลุ่มนักเดินทางเหล่านี้มากขึ้น  โดยสมศักดิ์ บุญคำ” ชายหนุ่มผู้เห็นถึงเทรนด์ของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนก่อนใคร ได้ผุดธุรกิจ Local Alikeหรือแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย 

    ซึ่งลักษณะของการท่องเที่ยวที่เขาตั้งใจทำขึ้นมานั้น หัวใจสำคัญก็อยู่ที่ความตั้งใจให้ชาวบ้านได้รับเงินโดยตรงจากนักท่องเที่ยว โดยที่ไม่ต้องผ่านบริษัททัวร์อย่างที่แล้วมา ซึ่งเงินที่ชาวบ้านได้รับไปก็จะมีส่วนนำไปพัฒนาชุมชนเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์เหล่า Travelism ยิ่งขึ้น

 


    “ก่อนผมจะเริ่มต้นธุรกิจนี้ขึ้นมา เรามองเห็นโอกาสจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทยเฉลี่ยปีละ 22 ล้านคน ซึ่งจะมีนักเดินทางกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ที่ตั้งใจเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยไม่เน้นเที่ยวในลักษณะช้อป ชิม แชะ อย่างที่แล้วมา”

    “ผมจึงผลักดันธุรกิจ Local Alike โดยมีคอนเซ็ปต์ที่เน้นซึมซับวิถีชีวิตของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการจับปลา เก็บใบชา หรือแม้แต่การเดินและนอนในป่าร่วมกับชุมชนนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งถือว่า Unseen และตอบโจทย์ความต้องการของ Travelism เป็นอย่างมาก”

    “ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนบ้านสวนป่า จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยชาวเขาเผ่าอาข่า ซึ่งจะมีกิจกรรมพานักท่องเที่ยวไปเดินป่า ปีนเขา ช่วยกันหาปลาเพื่อมาทำเป็นอาหารกลางวันกินกันในป่า พอตกเย็นก็จะมีกิจกรรมเต้นรำกับน้องอาข่า และเช้าวันต่อมาชาวบ้านก็จะพาไปเรียนรู้วิธีปลูกชา เก็บชา พอตกดึกก็กลางเต็นท์นอนบนไร่ชา ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นวิวเชียงรายได้ทั้งเมือง เป็นต้น”

    “ที่สำคัญสุดคือ พวกเขาสามารถมั่นใจได้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปนั้น จะถึงชุมชนและชาวบ้านมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนต่อไป ซึ่งจะไม่เหมือนกับการเดินทางผ่านบริษัททัวร์บางแห่ง ที่ชาวบ้านจะได้รับส่วนแบ่งไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ”
 

    ปัจจุบัน รูปแบบแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของ Local Alike จะเป็นในลักษณะ Social Enterprise โดยชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมจะต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ซึ่งทีมงานของสมศักดิ์จะเป็นเสมือนโค้ชผู้ช่วยฝึกสอน และผลักดันแต่ละหมู่บ้านให้ได้ตามมาตรฐานของสถานที่ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หากชุมชนไหนที่พร้อมรับนักท่องเที่ยวแล้ว ก็จะนำแพ็กเกจทัวร์ขึ้นแพลตฟอร์มเว็บไซต์ LocalAlike.com

    ถึงแม้การท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะดูเป็นตลาดที่ Niche พอสมควร แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา Local Alike ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ และได้รับ Feedback ที่ดีตลอดมา 

    โดยในท้ายที่สุด สมศักดิ์ยังได้ฝากถึงผู้ประกอบการที่เล็งเห็นโอกาสจากนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ถ้าหากสนใจที่จะเจาะตลาดกลุ่มนี้ แนวทางการทำธุรกิจในลักษณะ Sharing Economy ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์พวกเขาได้เช่นกัน

    แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีคือ ความรักและความชื่นชอบในตัวธุรกิจ เมื่อมีแรงบันดาลใจคอยเป็นกำลังขับเคลื่อนแล้ว การควานหาจุดเด่นเพื่อตอบโจทย์นักเดินทางรุ่นใหม่ ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายที่สร้างรายได้อย่างมหาศาล

www.smethailandclub.com
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ