เจาะเหตุผล ทำไมแฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจดาวรุ่งของคนยุคใหม่







     ทุกวันนี้ คนเริ่มหันมาทำธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะถือเป็นธุรกิจที่มีคนตั้งต้นมาให้พร้อมเสร็จสรรพด้วยผลิตภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ รวมถึงองค์ความรู้และการบริหารจัดการ โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่อยากมีกิจการและลองชิมลางการทำธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดประสบการณ์


     จากการเปิดเผยของ วีระกิตติ์ เจริญวิหพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และกระบวนการธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทย ในงาน KBank Franchise Expo 2018 กล่าวว่า ปัจจุบันภาพรวมมูลค่าทางการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์มีมากกว่า 2 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถือว่าค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี


     “แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์มีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเปอร์เซ็นต์การขยายตัวด้วยเลขสองหลักต่อปี ถือเป็นกำลังสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโต โดยปัจจุบันคาดว่ามีแบรนด์แฟรนไชส์ หรือ Franchisor ในประเทศไทยอยู่ที่ 400 - 500 แบรนด์ และมีจำนวนสาขาหรือ Franchisee ราวแสนราย ซึ่งเพิ่มจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีอยู่ประมาณ 90,000 – 95,000 ราย”


     พร้อมกันนี้ เปิดเผยถึงเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ ยังคงเป็นดาวรุ่งและมีคนสนใจอยากจะที่จะลงทุน มีดังนี้
 

คนรุ่นใหม่เรียนจบ ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือน

     คนรุ่นใหม่เริ่มไม่อยากเป็นพนักงานเงินเดือน จบมาแล้วก็อยากเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจผ่านระบบแฟรนไชส์เป็นทางเลือกหนึ่งของคนกลุ่มนี้
 

ค่าครองชีพสูง รายได้ประจำไม่เพียงพอ

     ค่าครองชีพในปัจจุบันค่อนข้างสูง เช่น พนักงานเงินเดือน 20,000 – 30,000 บาท และอัตราการเติบโตของเงินเดือนต่อปีอาจจะอยู่ที่ 3 - 7 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและผลงาน ซึ่งดูแล้วอาจเพียงพอในการเลี้ยงดูตัวเอง แต่เมื่อก้าวเข้าสู่การมีครอบครัวและลูก ในขณะที่การเติบโตของรายได้มีอัตราเท่าเดิม แต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นกลายเป็นว่าค่าครองชีพมีการเติบโตเร็วแซงรายได้ จึงทำให้คนเริ่มหันมาจับการทำธุรกิจโดยเฉพาะระบบแฟรนไชส์มากขึ้น
 

ธุรกิจเดิมแข็งแรง ต่อยอด แตกไลน์

     ผู้ประกอบการบางคนแข็งแรงแล้วในธุรกิจของตัวเอง อย่างทำธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง รับเหมาก่อสร้าง แล้วรู้สึกอยากหาธุรกิจอื่นเพื่อมาเสริมความแข็งแรงทางด้านการเงินของตัวเอง แต่มีความไม่ถนัดในการทำธุรกิจอื่นจึงเริ่มจากการทำธุรกิจแฟรนไชส์
 




ปล่อยเงินไว้เฉยๆ ผลตอบแทนน้อย

     บางคนมีเงินออม หรือในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยเกษียณที่มีเงินก้อน รู้สึกว่าการปล่อยเงินในบัญชีไว้เฉยๆ มันไม่ค่อยออกดอกออกผลเท่าไหร่ จึงอยากทำธุรกิจ แต่จะไปเริ่มเอง เปิดร้านเอง ก็มีความเสี่ยงว่าจะรอดหรือไม่ ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง
 

พ่อแม่ยุคใหม่ เลี้ยงลูกเป็นเถ้าแก่

     พ่อแม่ในปัจจุบันสอนลูกให้เป็นเถ้าแก่ เช่น สอนให้ลูกขายของตั้งแต่เด็ก หรือในบางกรณีที่ลูกไม่อยากเข้ามารับช่วงต่อกิจการของครอบครัวและไม่อยากทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน คนเหล่านี้จึงมองหาทางออกด้วยการทำธุรกิจแฟรนไชส์
 

ชีวิตคนเมืองกระจายทั่วประเทศ

     ปัจจุบันความเป็นเมืองกระจายสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น เช่นมีการเปิดห้างสรรพสินค้าใหม่ในจังหวัดต่างๆ มากขึ้น ผู้ประกอบการจึงเริ่มเห็นช่องทางในการขายเพิ่มขึ้น ด้านผู้บริโภคก็อยากให้มีแบรนด์หลากหลายมาขายในจังหวัดของตัวเอง
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ