รัฐเผย 5 มาตรการแก้ปัญหาเร่งด่วน ช่วย SME ภายใน 60 วัน

 

 

     การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมาย โดย ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เปิดเผยว่าจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง โดยค่า GDP ไทยโตเพียง 1.0 เปอร์เซ็นต์ จากในไตรมาสแรกของปี 2564 ตัวเลขอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจาก - 6.1เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563





     ขณะเดียวกันสถานการณ์ภาพรวมของ SME ที่มีจำนวน 3.1 ล้านล้านรายในปี 2564 ยังคงน่ากังวล เพราะส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว บริการ และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก โดยจากข้อมูลสถิติพบว่า GDP SMEs ในปี 2563 มีการปรับตัว - 9.1เปอร์เซ็นต์ และประเมินว่าในปี 2564 คาดว่าจะติดลบที่ - 4.8เปอร์เซ็นต์


     ทั้งนี้จึงได้เร่งทำแผนระยะสั้นออกมาเพื่อช่วยเหลือ SME เร่งด่วนภายในระยะเวลา 60 วัน ภายใต้แนวนโยบาย โควิด 2.0 “พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด” ผ่าน 5 มาตรการดังนี้
 



  • การจัดการโควิดภายในองค์กร


     เพื่อสร้างสถานประกอบการปลอดเชื้อ โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นแบบองค์รวม ใน 9 หัวข้อวิชา ตั้งแต่การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและสุขอนามัย, การใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อลดความแออัด, การประยุกต์ใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ไปจนถึงการแชร์ประสบการณ์จากสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
 



  • การตลาดภายใต้โควิด


     โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตลาดและการขยายตลาดในรูปแบบต่างๆ ประกอบไปด้วย

     1) การส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ภายใต้โครงการ DIProm Marketplace โดยสร้างช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถเข้ามาซื้อ-ขาย สินค้าและบริการดีๆ มีคุณภาพ

     2) การส่งเสริมด้านกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ผ่านการฝึกอบรม eLearning 26 หลักสูตร มุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเคล็ดลับการเจาะลึกตลาดในอาเซียน เพื่อหาตลาดใหม่ให้กับธุรกิจ

     3) การช่วยเหลือด้านการขนส่ง ผ่านโครงการ “ดีพร้อมแพค: บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่” (The Next Diprom Packaging: DipromPack) เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ

     4) แนวทางการตลาดร่วมเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ผ่าน 3 ช่องทาง ประกอบด้วย 1. การรับรอง Made in Thailand (MiT) โดย ส.อ.ท. 2. การขึ้นทะเบียนเอสเอ็มอี Thai SME-GP ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ3. การขึ้นบัญชีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thai GPP ของกรมควบคุมมลพิษ
 
     

   

  • เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน


     ด้วยการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง  ต้นทุนการขนส่งสินค้า และต้นทุนการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ผ่านโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้แก่ผู้ประกอบการ

  •  สร้างเครือข่ายพันธมิตร


     โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรให้แก่ผู้ประกอบการผ่านโครงการสำคัญต่างๆ อาทิ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและผู้แปรรูปโครงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเพื่อปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่, โครงการเชื่อมโยงเครื่องจักรเพื่อแปรรูป (i-Aid), โครงการช่าวชุมชน เป็นต้น
 



  • ปรับโมเดลธุรกิจ


     มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการดำเนินการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยการสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) และเสริมทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) รวมถึงการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan) เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน
 

     โดยคาดว่าจากทั้ง 5 มาตรการที่กล่าวไปนั้นจะสามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2564 จะสามารถช่วยส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคส่วนอุตสาหกรรมต่างๆ ได้จำนวนรวม 3,356 กิจการ 11,955 ราย 982 ผลิตภัณฑ์





     สุดท้ายมองว่าการจะช่วยให้ SME ผ่านวิกฤตไปได้ต้องมุ่งเน้นปัจจัย 3 ด้าน เหมือนเช่นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการมาแล้วในครึ่งปีแรกตามนโยบาย “สติ (STI)” ได้แก่ 1. SKILL : ทักษะเร่งด่วน เร่งเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้สามารถปรับตัวได้ 2. TOOL : ครื่องมือเร่งด่วน เพื่อนำมาใช้ในการขับเคลื่อน และ 3. INDUSTRY : อุตสาหกรรมเร่งด่วน สร้างโอกาสจากต้นทุนที่มีจุดแข็ง เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ