ต่อยอดธุรกิจยังไงให้มีมูลค่า 500 ล้านใน 3 ปี เจาะไอเดีย สันติ วจนพานิช จาก AutoPair

Text: สุภาวดี ใหม่สุวรรณ์

 

     เติบโตมากับร้านค้าส่ง-ค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ที่มีอายุกว่า 60 ปีในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  สันติ วจนพานิช จึงซึมซับและเข้าใจธุรกิจอะไหล่รถยนต์เป็นอย่างดี และมองเห็น painpoint ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมอะไหล่ยานยนต์ทั้งหมดมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท มาต่อยอดธุรกิจที่มีชื่อว่า “ออโต้แพร์” (AutoPair) ร้านซื้อ-ขายอะไหล่รถยนต์ในรูปแบบ On Cloud ในปี 2561

การก้าวผ่าน 2 ปีแรกแห่งความท้าทาย

     สันติเริ่มต้นจากการทำเว็บไซต์ซื้อ-ขายอะไหล่แบบง่ายๆ เพื่อเทสต์ตลาดด้วยทุนของตนเอง โดยจูงใจให้ร้านอะไหล่เข้ามาในระบบเพื่อป้อนสินค้าให้กับอู่หรือศูนย์บริการอะไหล่รถยนต์ที่ปัจจุบันไม่นิยมสต็อกสินค้า ต้องการใช้งานเมื่อใดก็สั่ง “อะไหล่ด่วน” ที่จัดส่งมาภายใน 1 ชั่วโมง ปรากฏว่าระยะเวลาเพียง 6 เดือน เขาก็ได้ลูกค้ารายใหญ่คือเครือข่ายศูนย์บริการ FIT Auto ของ PTTOR 

     “ช่วงสองปีแรกที่เริ่มต้นออโต้แพร์ถือว่ายากมาก เหนื่อยสุดๆ ต้องจูงใจทั้งร้านค้าอะไหล่และอู่ซ่อมรถยนต์ให้เข้ามาใช้บริการพร้อมกัน มันเหมือนไก่กับไข่ ถ้าไปเอาอู่มาแต่ไม่มีร้านอะไหล่ เขาก็ไม่สั่ง ถ้าไปเอาร้านอะไหล่มาแต่ไม่มีอู่ เขาก็ไม่ขาย เรียกว่าท้าทายยิ่งกว่าการพัฒนาระบบเสียอีก” 

     การที่มองภาพธุรกิจแบบ 360 องศา ทำให้ระบบ B2B Marketplace ที่เขาสร้างขึ้นสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนี้ได้อย่างลงตัว อู่ซ่อมรถยนต์ไม่จำเป็นต้องสต๊อกสินค้า ร้านอะไหล่เองก็ได้ประโยชน์ในแง่ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น หากบริการเร็วและดี เครดิตสกอร์ของร้านก็จะสูงตามไปด้วย ส่งผลให้เห็นออร์เดอร์และกดรับงานได้ก่อนใคร นอกจากนี้หาก Basket Size ใหญ่เพียงพอ ร้านอะไหล่ที่อยู่ไกลออกไปก็สามารถกดรับออร์เดอร์ได้ด้วย หากคำนวณแล้วว่าคุ้มค่าต่อการจัดส่ง

ทำเรื่องง่ายๆ ให้จริงจัง

     ปัจจุบันออโต้แพร์มีเครือข่ายของอู่ซ่อมรถยนต์ที่ใช้งานระบบนี้อยู่ประมาณ 130 สาขาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นศูนย์บริการอะไหล่รถยนต์ที่มีหลายสาขา เช่น FIT Auto, Cockpit, Tyreplus, Autobacs ขณะที่เครือข่ายร้านอะไหล่ก็มีอะไหล่ยานยนต์ทุก SKU ไว้รองรับ อย่างไรก็ตามการแข่งขันคือสิ่งที่หลักเลี่ยงไม่ได้ แต่สันติก็มีมุมมองที่น่าสนใจว่า

     “ระบบสามารถทำตามกันได้ง่าย แต่ประเด็นสำคัญคือเราสามารถชนะใจลูกค้าได้ก่อนไหม  หากอู่ซ่อมรถยนต์เซ็นสัญญากับเรา ร้านอะไหล่ก็ต้องใช้ระบบของเรา เพราะว่าออร์เดอร์มันมาจากตรงนั้น หน้าที่ของเราคือต่อสัญญากับลูกค้าให้ได้ทุกปี เซอร์วิสให้ดี ช่วยเหลือลูกค้าให้ได้มากจนเขาไม่อยากเปลี่ยนไปใช้งานรายอื่น  ความท้าทายคือเราต้องไม่อยู่กับที่ ตอนนี้เรากำลังพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ๆ  เพื่อทิ้งห่างคู่แข่งไปเรื่อยๆ”

     ในอุตสาหกรรมนี้คอนเนกชั่นเป็นสิ่งสำคัญ ในปี 2019 เขาได้ KK Fund ของสิงคโปร์ เข้ามาสนับสนุนด้านเงินทุน และการระดมทุนรอบล่าสุดเได้บริษัทซัมมิทซึ่งใหญ่ที่สุดในวงการรถยนต์มาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ ถือว่าช่วยตอบโจทย์ในเรื่องคอนเนกชันได้เป็นอย่างดี”

     สันติเผยว่าไม่เคยคิดมาก่อนว่ามูลค่าบริษัทของออโต้แพร์จะเติบโตถึง 500 ล้านบาทภายในเวลา 3 ปี เขาเชื่อว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจโตเร็วขนาดนี้ คือการทำเรื่องง่ายๆ อย่างจริงจัง เพราะเขาไม่ได้มองเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง แต่มองเรื่องการสร้าง “คุณค่า” ให้กับลูกค้าเป็นหลัก

     “ความคิดที่ว่าจะระดมทุนได้เงินเท่านั้นเท่านี้ ผมว่ามันเป็นกับดักของสตาร์ทอัพ และมันจะกลายเป็น Money Game แทนที่จะมองว่าหน้าที่ของเราคือการสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมที่เราทำอยู่ ถ้าเราสามารถสร้างคุณค่าได้จริง เดี๋ยวเงินก็จะตามมาเอง สำหรับออโต้แพร์เรามีวิชั่นที่ต้องการจะทำ Digitization ตลอดทั้งซัพพลายเชน นอกจากอู่ซ่อมรถยนต์และร้านอะไหล่ สเตปต่อไปเราอยากจะดิจิไทซ์ไปถึงต้นน้ำคือโรงงาน และผู้บริโภคสินค้าที่อยู่ปลายทางครับ”

 

…………………..

 

บริษัท ออโต้แพร์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)

0-2219-1600

www.autopair.co

FB : autopair.co

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ