รวมเรื่องเล่าจาก ผู้ไม่ยอมแพ้ ที่พลิกธุรกิจเกือบเจ๊ง กลับมาเจ๋ง

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     เป็นธรรมดาของการทำธุรกิจที่ย่อมมีปัญหาอุปสรรคเข้ามาเป็นบททดสอบให้เราแข็งแกร่งขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งหากไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน สักวันย่อมมีวันของเราอย่างแน่นอนเหมือนเช่นกับผู้ประกอบการเหล่านี้ที่กว่าจะประสบความสำเร็จขึ้นมาได้อย่างทุกวันนี้ พวกเขาล้วนเคยผ่านบทเรียนที่เจ็บปวดมานักต่อนักแล้ว แต่วันนี้ด้วยหัวใจนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้ กลับทำให้พลิกฟื้นธุรกิจขึ้นมาได้

 

     

     ด้วยความที่เกิดมายากจน เรียนน้อย ต้องสู้ชีวิตส่งตัวเองเรียนตั้งแต่สิบกว่าขวบ เพราะความขยันทำให้สอบได้ที่ 1 ทุกชั้นปี แต่ก็เรียนได้แค่ชั้นประถม 6 เพราะไม่มีเงิน ต้องเปลี่ยนโหมดมาเป็นสาวโรงงานเย็บผ้า หลังจากนั้นทำงานได้ 3 ปี ก็เก็บเงินมาเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ระหว่างนั้นก็นำความรู้และประสบการณ์ในการเย็บผ้ามาเปิดบริษัท โรส ผ้าม่าน ในปีพ.ศ. 2538

     แต่แทนที่จะได้เป็นเถ้าแก่เนี้ย นอนนับเงินสบาย “เพ็ญศรี ธรรมเสนา” หรือ “โรส” หญิงสาวสู้ชีวิตด้วยตัวเองมาโดยตลอด กลับถูกโกง ลูกค้าเบี้ยว หุ้นส่วนทิ้ง ต้องเป็นหนี้ และยังตอกย้ำมรสุมชีวิตให้หนักเข้าไปอีกเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการลง แถมต้องเจอมรสุมชีวิตตั้งแต่สูญเสียคุณแม่ ตามมาด้วยคุณยาย พี่สาวก็แยกกันอยู่ ไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร แต่เพราะไม่เคยบัญญัติคำว่าแพ้ไว้ในพจนานุกรมชีวิต และไม่เคยคิดทำร้ายตัวเอง หลังทนทุกข์มาได้แค่ 15 วัน จากนั้นก็ตั้งสติใหม่บอกตัวเองว่าเจอขนาดนี้ แต่ยังไม่ตายก็หาทางสู้กันใหม่ จนสุดท้ายสามารถประนอมหนี้กับธนาคารและผ่อนผันเจ้าหนี้ได้ทุกราย จนปัจจุบันได้เป็นเจ้าของธุรกิจผ้าม่านครบวงจรที่ทำตั้งแต่รับออกแบบ  ตกแต่งภายในและจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งครบวงจร และยังมีแบรนด์ตัวเองในชื่อ RORIA ผ้าม่านนวัตกรรมที่สามารถควบคุมด้วยรีโมทหรือสมาร์ทโฟนได้มีชื่อเสียงโด่งดังมาทุกวันนี้

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/4893.html

 

 

     

     KrackerKing บิสกิตผีเสื้อในตำนานของชาวสิงคโปร์ ก่อตั้งเมื่อปี 2498 หรือเมื่อ 66 ปีก่อน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปนวัตกรรมได้นำพาผลิตภัณฑ์สแน็กรูปแบบแปลกใหม่เข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น จนทำให้สแน็ตรูปแบบดั้งเดิมเกือบเอาตัวไม่รอดจวนเจียนจะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กอปรกับการเปลี่ยนจุดยืนของประเทศที่ต้องการเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและวิศวกรรม และค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งตัวขึ้น ทำให้จากที่เคยขายดีกลายเป็นทุกอย่างต้องหยุดชะงักลง จึงหันมาแก้เกมธุรกิจโดยการสั่งยุบทุกสายพานการผลิตและหันมานำเข้าสแน็ตจากต่างประเทศเข้ามาขายแทน

     กระทั่งสุดท้ายได้ทายาทรุ่น 3 เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการโดยการนำสูตรดั่งเดิมที่มีมาพัฒนาปรับปรุงรสชาติใหม่ให้มีความสากลมากขึ้นเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศด้วย การผลิตที่สดใหม่ได้วัตถุดิบมา ก็ผลิตในทันที ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สินค้าดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม เช่น ใช้เครื่อง de-oiling เพื่อกำจัดน้ำมันส่วนเกินที่ยังตกค้างจากการทอด จึงทำให้ธุรกิจพลิกฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้ง มีผลิตภัณฑ์กว่า 40 รายการ กลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ในสิงคโปร์ที่มีตัวแทนจำหน่ายกว่า 200 ราย

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/7274.html

 

     

 

     จากอดีตเถ้าแก่โรงพิมพ์ ที่ธุรกิจเจ๊งเพราะพิษต้มยำกุ้งปี 2540  เจอวิกฤตหนักทั้ง บ้านแตก พ่อเสีย เป็นหนี้ ประเดประดังเข้ามาพร้อมๆ กัน จนสุดท้ายตัดสินใจขายทุกอย่างทิ้ง กลับมาเป็นพ่อค้าไก่ย่างอยู่ จ.สุพรรณบุรี

     แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ “วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์” เกิดความท้อแท้ เขายังคงมุ่งมั่นทำการค้าขายสุจริต ยุติธรรมต่อผู้บริโภค จนสุดท้ายขยับมาทำขนมหวานที่สร้างชื่อคือวุ้นมะพร้าวบรรจุถ้วย ไม่ใส่สารฟอกสี อร่อยและดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ภายใต้ชื่อแบรนด์ “แม่ละมาย” จนได้นำไปลองเสนอขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2542 ก็พลิกชีวิตธุรกิจให้กลับมารุ่งอีกครั้งกลายเป็นแบรนด์ขนมเพื่อสุขภาพที่ขายดิบขายดีในร้านเซเว่นฯ มาถึงวันนี้ก็ 20 กว่าปีแล้ว

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/4729.html

 

      

     

     วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เป็นความทรงจำเลวร้ายที่เปลี่ยนอนาคตใครหลายคนไปโดยสิ้นเชิง แต่สำหรับบางคนแล้ว วิกฤตครั้งนั้นได้ให้ชีวิตใหม่เหมือนกับ “วินิจ ฤทธิ์ฉิ้ม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออโธพีเซีย จำกัด อดีตผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ประสบกับศึกสาหัสในวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 โดยก่อนเกิดวิกฤตเขาทำโรงงานรับจ้างผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์มากว่า 20 ปี เก่งผลิตแต่ต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขของลูกค้า ไร้อำนาจต่อรอง เพราะไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง จนมาเกิดวิกฤตปี 2540 งานหมด เงินหาย เมื่อลูกค้าเริ่มไม่จ่ายเงิน งานใหม่ไม่มีให้ทำ ส่วนงานที่ทำไปแล้วก็ไม่มีจ่าย ขณะที่ยังมีแรงงานที่ฝากชีวิตไว้ให้ดูแลอีกกว่า 60 คน

     สิ่งที่วินิจเลือกทำ คือ เดินหน้าต่อไปบนเส้นทางใหม่ โดยมองว่าไม่ว่าจะวิกฤตกี่ครั้งอุตสาหกรรมที่ไปต่อได้และลอยตัว คือ การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และการรักษา เขาจึงมุ่งสู่การศึกษาความรู้ใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างวัสดุดามกระดูก โดยมองว่าบ้านเรามีอุบัติเหตุทำให้กระดูกแตกหักเยอะ แต่ยังไม่มีผู้ผลิตในไทยและนำเข้ามาก็ราคาสูง

จากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์กลายมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ยังไง อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/5016.html

 

     

     

     จากการโดนกดดันและบีบคั้นด้วยนายทุนใหญ่จากระบบทุนนิยมที่ทุนหนากว่า ทำให้แม้จะขายแข่งขันกันในราคาเท่าเดิม แต่ต้นทุนที่ต้องเสียไปกลับสูงกว่า ทำให้เหลือกำไรน้อย หรือแทบจะไม่ได้กำไรเลย สิ่งนี้จึงทำให้ “พรรัตภูมิ ฟาร์ม” ฟาร์มไก่ไข่ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 46 ปี ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จากรุ่นพ่อที่ครั้งหนึ่งเคยเกือบล้มและไปไม่รอด

     แต่สุดท้ายก็ได้ลูกชายวิศวกรคอมพิวเตอร์จากบริษัทอินเดียกลับมาช่วยสานต่อกิจการของครอบครัวพร้อมกับพี่ชาย เพื่อกอบกู้วิกฤติได้ทัน ด้วยการกลับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้ เพื่อสร้างระบบโรงเรือนให้ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนการผลิต จนทำให้กลายเป็นฟาร์มไก่เล็กพริกขี้หนูที่สามารถแข่งขันกับฟาร์มใหญ่ และพึ่งพาตนเองได้

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/5396.html

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ