ส่องนโยบายส่งเสริม SME 4 พรรคใหญ่ก่อนเลือกตั้ง ปี 66

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ก่อนเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม รู้หรือไม่? ว่าพรรคการเมืองไหน มีนโยบายอะไรบ้าง

 

  • หลากหลายพรรคก็แข่งกันนำเสนอนโยบายต่างๆ ออกมามากมาย วันนี้เราชวนมาดูแต่ละพรรค มีข้อเสนออะไร มาหนุนผู้ประกอบการรายย่อยบ้าง

 

     เราได้รวบรวมนโยบายที่ส่งเสริม SME เอาไว้ให้ทุกคนที่มีสิทธิในการเลือกตั้งเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อให้ SME สามารถเติบโตเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศได้ ต้องคิดให้ดี เลือกอย่างฉลาด เพราะการเลือกครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองในอนาคต 

พรรคประชาธิปัตย์

     SME ต้องมีแต้มต่อ 3 แสนล้าน ยกระดับ ขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันทั้งตลาดภายใน และ ต่างประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ตลอนจน เพื่อเสริมสร้าง ความมั่งคงให้กับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ทั้งนี้ จะดำเนินมาตรการ เพื่อเป็นแต้มต่อให้กับ SME 3 ข้อ

     แต้มต่อที่ 1 ด้านการผลิต สนับสนุนให้ SME มีการบริหารธุรกิจที่ ทันสมัย บนพื้นฐานของนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการ ดำเนินธุรกิจ สร้างการยอมรับของตลาด และมุ่งปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุค ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Transformation)

     แต้มต่อที่ 2 ด้านการตลาด ผลักดัน SME ให้มีโอกาสเข้าสู่ตลาดทั้ง ภายใน และต่างประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษด้านการตลาดในนิทรรศการที่ เกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการของตนต่อตลาดภายนอกได้

     แต้มต่อที่ 3 จัดตั้งกองทุน 3 แสนล้านบาท เพื่อให้กลุ่ม SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับการพัฒนา ต่อเติม ขยายกิจการ ตลอดจนการเพิ่มทุนธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้กับประเทศ ต่อไปได้

    นโยบายเพิ่มเติมที่ https://www.democrat.or.th/นโยบาย/ 

พรรคก้าวไกล

      พรรคก้าวไกลเสนอนโยบาย แต้มต่อหนุน เงินทุนมี และภาษีช่วยเหลือSME  พรรคยังเน้นในเรื่องของการคัดค้านการควบรวมของธุรกิจรายใหญ่ เพื่อให้SMEมีโอกาสในการทำธุรกิจมากขึ้น ให้แรงงานและผู้ประกอบการเติบโตไปด้วยกัน

  • เพิ่มลูกค้าให้ SMEs โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้า SME ได้รับแถมสลากกินแบ่งของรัฐบาลไปลุ้นรางวัล

 

  • สำหรับคนซื้อ หรือ ประชาชนทั่วไป: เมื่อซื้อสินค้าจาก SMEs ครบ 500 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ (จำกัดไม่เกิน 2 ใบ/คน/เดือน และ จำนวน 10 ล้านคน/เดือน)

 

  • เพิ่มโอกาสลุ้นหวยให้ SMEs โดยการนำยอดขายมาแลกเป็นสลากกินแบ่งของรัฐบาลได้ด้วย

 

  • สำหรับคนขาย หรือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ: เมื่อขายสินค้าครบ 5,000 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ

 

  • รัฐช่วยสมทบค่าประกันสังคมในส่วนของผู้ว่าจ้าง สำหรับแรงงานที่ถูกกระทบโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (6 เดือนแรก)

 

  • เปิดให้ SME นำค่าแรงมาหักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 2 เท่า (2 ปีแรก)

 

  • ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs ให้เหลือ 0-15%

 

  • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท) จาก 15% เป็น 10%

 

  • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 ล้านบาท ถึง 30 ล้านบาท) จาก 20% เป็น 15%

 

  • เปิดให้ SMEs หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษีบุคคลได้เพิ่มเป็น 90% (จากเดิม 60%)

 

  • ปล่อยกู้ให้ SME เข้าถึงแหล่งทุนในระบบ (สำหรับเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนขยายกิจการ) โดยการจัดสรรงบอุดหนุนให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันความเสี่ยงให้ SMEs เพื่อให้ SME กู้เงินได้โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ผ่าน 2 โครงการ: “ทุนแสนตั้งตัว” (1 แสนบาท/ราย) สำหรับ SME 200,000 ราย/ปี  และ “ทุนล้านสร้างตัว” (1 ล้านบาท/ราย) สำหรับ SME 25,000 ราย/ปี

 

  • จัดตั้งสภา SMEs ในทุกจังหวัด เพื่อให้ SMEs มีตัวแทนช่วยสะท้อนความต้องการสู่ทุกภาคส่วน

 

  • นิยาม SMEs ใหม่ ป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนใหญ่แตกบริษัทออกมาเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อมารับสิทธิประโยชน์ของ SMEs ได้

 

     นโยบายเพิ่มเติมที่ https://election66.moveforwardparty.org/policy/collection/PolicyCategory/40 

พรรคเพื่อไทย

     พรรคเพื่อไทย เน้นแก้ปัญหาSME 3 ข้อ ที่กระทบSME คือ ต้นเงิน ต้นทุน ต้นตอของปัญหาด้วยกุญแจ 3 ดอก ด้วยการสร้างเขตธุรกิจใหม่ เพื่อดึงเงินนอก ปลุกเงินใน เปลี่ยนเงินที่หลับใหล เป็นเงินที่สร้างเงิน

     สร้างเขตธุรกิจใหม่ 4 แห่งเป็นพื้นที่นำร่อง ได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น และหาดใหญ่ ด้วยความพร้อมทางด้านมหาวิทยาลัย สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมเพื่อขับเคลื่อน Start-ups และ SMEs สู่การสร้างรายได้ใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยกุญแจ 3 ดอก

     กุญแจดอกที่ 1 “กฎหมายธุรกิจชุดใหม่” เพื่อเป็นการปลดล็อกปัญหาการทำธุรกิจของ Start-ups และ SMEs ในทุกมิติรวมถึงดึงเงินนักลงทุนจากต่างชาติ เข้าแก้ไขปัญหาด้านใบอนุญาตต่างๆ ปัญหาแรงงาน การนำเข้าส่งออก และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ 

     กุญแจดอกที่ 2 “สิทธิประโยชน์ใหม่” ให้สิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีนำเข้า จะไม่แพ้ที่ใดในโลก 

     กุญแจดอกที่ 3 “ระบบนิเวศทางธุรกิจใหม่” โดยการสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ระบบการศึกษาและการผลิตคนทำงานใหม่ ระบบธนาคารใหม่ เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนได้

     นโยบายเพิ่มเติมที่ https://ptp.or.th/นโยบายหลักพรรคเพื่อไทย/นโยบายด้านเศรษฐกิจ

พรรคไทยสร้างไทย

     พรรคไทยสร้างไทยชูนโยบาย แก้หนี้ เติมทุน ลดรายจ่าย ขจัดอุปสรรค เปิดการลงทุนให้กับSMEเพิ่มเติม โดยสนับสนุนนิคมสำหรับเอสเอ็มอี ทำกองทุนนวัตกรรม และแพลตฟอร์มสำหรับเอสเอ็มอีด้วย โดยสนับสนุนให้มีกองทุนเพื่อSME

     กองทุนสร้างไทย

     แหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขผ่อนปรน เพื่อผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดเข้าไม่ถึงแหล่งทุนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ซึ่งประกอบด้วย 5 กองทุนย่อย ได้แก่ กองทุน SMEs กองทุน Startup กองทุนวิสาหกิจชุมชน กองทุนการท่องเที่ยว และกองทุน Venture Capital

     กองทุน SMEs

     SMEs คือตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพราะประเทศเรามี SMEs อยู่กว่า 3 ล้านราย จ้างงานกว่า 13 ล้านคน สร้าง GDP กว่า 5.60 ล้านล้านบาท หรือ 34.6% ของ GDP รวม แต่มี SMEs ไม่ถึง 400,000 ราย ที่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ SMEs กลางลงล่างเข้าไม่ถึงแหล่งทุน เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการบริการ ร้านอาหาร เราจึงจำเป็นต้องตั้งกองทุน SMEs เพื่อให้ SMEs ขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อฟื้นธุรกิจจากโควิดและสามารถต่อยอดธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

     กองทุน Start Up

     เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่เก่งมีโอกาสตั้งตัวได้ หลังจากที่ทางพรรคได้มีนโยบายที่จะทำการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการหาเลี้ยงชีพของประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการคนตัวเล็ก ซึ่งรวมถึงธุรกิจของคนตัวเล็กอย่างเช่น Startup ที่ทางพรรคตั้งใจจะให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยความรู้ความสามารถที่ตนเองเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา กองทุน Start Up มีวัตถุประสงค์เพื่อการนี้

     กองทุนวิสาหกิจชุมชน

     เพื่อให้เกษตรกร และลูกหลานได้รวมตัวกันในการประกอบธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ โดยการแปรรูปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรกร

     กองทุนการท่องเที่ยว

     ที่มีเกี่ยวข้องหลายสิบล้านคนได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทั้งผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก ร้านอาหาร สถานบันเทิง จนไปถึงร้านนวดสปา

     กองทุน Venture Capital (VC) หรือ กองทุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน

     เป็นแหล่งเงินทุนที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านการเงินให้แก่ธุรกิจ มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจ Startup ที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ก้าวหน้า หรือธุรกิจที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของ SMEs โดยส่วนรวม รูปแบบทั่วไปของการเข้าไปช่วยเหลือ VC จะเข้าไปร่วมลงทุนในกิจการ เป็นช่วงที่ธุรกิจเริ่มมีรายได้เข้ามาแล้ว และต้องการใช้เงินทุนในการปรับปรุงสินค้า/บริการ เพื่อต้องการขยายกิจการ ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น หรือการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ

     โดยทั่วไป VC จะมีระยะเวลาลงทุนประมาณ 3-5 ปี นานสุดไม่เกิน 10 ปี โดยจะมีการลงเงินเป็นรอบๆ ตาม Stage ของธุรกิจ นอกจากการให้เงินลงทุนแล้ว VC ยังให้คำปรึกษาทางด้านการบริหารกิจการ เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว VC ภายใต้กองทุนนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าครอบงำกิจการเพื่อยึดเป็นเจ้าของเหมือนดั่งเช่น VC อื่นๆ ทำกัน ถ้ากิจการเติบโตและขยายตัวได้ตามที่คาดหวัง VC ก็จะหาจังหวะที่เหมาะสมที่จะถอนตัว (Exit) เพื่อทำกำไรจากเงินลงทุน โดยวิธีการต่างๆ ที่ VC อาจเลือกเป็นทางออก ได้แก่ การขายหุ้นให้แก่กิจการขนาดใหญ่ที่มีความสนใจซื้อ การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการควบรวมกับกิจการอื่นและมีการแลกหุ้นกัน เป็นต้น

     นโยบายเพิ่มเติมที่ https://thaisangthai.org/party-policies/ 

     รักษาสิทธิของตัวเองไปเลือกตั้งกันนะครับ 1 เสียงของเรา อาจจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศได้เลยนะ วันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 14 พฤษภาคม เข้าคูหาได้ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. อย่าลืมพกบัตรประชาชนไปด้วย!

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ