รู้จัก ครามสกล แบรนด์ของฝากที่ใครไปสกล ก็ต้องซื้อ

      “ครามสกล”แบรนด์ของฝากที่ใครไปสกลก็ต้องซื้อ

     ทำความรู้จักแบรนด์ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดสกลนคร เมืองแห่งผ้าคราม แหล่งผลิตมากที่สุดในประเทศ ใน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนครล้วนมีการผลิตผ้าครามทั้งหมด จากผู้ประกอบการเป็นร้อยราย ทำไม ครามสกล จึงเป็นแบรนด์ที่โดดเด่น จนต้องอยากซื้อเป็นของฝาก ไปดูกัน

ทำความรู้จักครามสกล

     ณฐมน เผ่าวงศ์ษา ผู้จัดการร้านครามสกลเล่าว่า ครามสกล ก่อตั้งขึ้นมาราวปี 2556  โดย คุณนก - สกุณา สาระนันท์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ ซึ่งเป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เป็นหนึ่งในคนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาต่อยอดผ้าย้อมครามซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดสกลนครให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่น  ทำให้ผ้าครามจากจังหวัดสกลนครเป็นที่รู้จักมากขึ้น รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่

โดดเด่นจนเป็นของดีประจำจังหวัด

     สิ่งที่ทำให้ครามสกลมีความโดดเด่นคือพัฒนาคุณภาพของผ้าย้อมอย่างต่อเนื่อง เช่นการทอที่ละเอียดขึ้น ให้สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

     ผ้าย้อมครามของครามสกลเป็นกระบวนการผลิตที่เรียกว่าการย้อมเย็นที่ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการนำนวัตกรรมมาช่วยให้ผ้ามีคุณสมบัติในการดูแลง่าย เพราะทำจากผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งแบคทีเรียใส่แล้วเย็น ไม่มีกลิ่น กันยูวี เป็นต้น

     สินค้าแบรนด์ครามสกลมีค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ชิ้นเล็ก เช่น พวงกุญแจ ไปถึงใหญ่ เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ราคาเริ่มต้นที่ หลักสิบไปถึงหลักพัน มีให้เลือกตั้งแต่สินค้าทั่วไป สวมใส่ง่ายๆ และสินค้าพิเศษที่เป็นงานฝีมือ ต้องใช้ระยะเวลาการทำนาน

สร้างแต้มต่อที่เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม

     นอกจากสินค้ามีคุณภาพแล้ว ณฐมนเล่าถึงการทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจับลูกค้าได้ทุกกลุ่มคือ การทำงานระดับประเทศ รับผลิตผ้าพันคอให้ผู้ที่มาร่วมประชุมในงาน APEC 20200 ทำให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้น

     หรือแม้แต่ลูกค้าชาวญี่ปุ่น ด้วยความที่จังหวัดสกลนครเป็นแหล่งครามขึ้นชื่อของไทย ทำให้เป็นที่สนใจของชาวญี่ปุ่นสนใจ เธอจึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในการเจรจาธุรกิจให้กับชาวบ้านเพื่อที่เผยแพร่จะสินค้าในชุมชนไปสู่ตลาดสากล

     สำหรับตลาดในประเทศก็มีการผลิตสินค้าให้หลากหลายขึ้น จากสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า กระเป๋า ก็พัฒนาเป็นสินค้าไฟล์สไตล์ อาทิ พวงกุญแจ เน็กไท ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

     “การทำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญา เราควรมีทั้งงานอนุรักษ์ และงานที่เสิร์ฟไว ลูกค้าบางคนไม่เคยใช้ อาจลองเสิร์ฟงานออร์เดิร์ฟแบบเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่ายไปก่อน เพื่อให้เขาได้ทำความรู้จัก ค่อยๆ เพิ่มเรเวลขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเมนคอร์สงานคุณค่าที่เป็นของยาก เพื่อให้ภูมิปัญญาไม่สูญหายไปไหน พร้อมกับการเตรียมสินค้าเพื่อส่งไปในตลาดต่างประเทศที่ชอบงานคราฟท์ เช่น ญี่ปุ่น จีน”

สร้าง Story telling ผ่านอาณาจักรครามสกล

     อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคถึงความพิเศษของแบรนดืคือ บรรยากาศร้าน

     “จุดเด่นอีกข้อของครามสกล คือ เรามีพื้นที่พร้อม ร่มรื่น กว้างขวาง สามารถจัดโซนให้ลูกค้าเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นผ้าครามสกลได้หนึ่งผืน ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง เช่น การย้อม, การทอ ทำให้เขาอินกับบรรยากาศ นอกจากนี้เรายังมีจัดเวิร์คช็อประยะเวลาสั้นๆ แค่ 1 ชม. ให้ลูกค้าได้ลองย้อมครามด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องราวของครามมากขึ้น เมื่อเข้าใจ ก็จะเห็นคุณค่า นี่คือ เหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่ตั้งอยู่ในเมือง ไม่งั้นก็เป็นร้านขายเสื้อผ้าธรรมดาร้านหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรื่องราวของชุมชน”

เรื่องเล่าจากคราม

ครามเป็นพืชตระกูลถั่ว มีอายุโตเต็มวัยประมาณ 3 เดือน ชาวบ้านจะทำการปลูกในรูปแบบหมุนเวียน คือ ปลูกฤดูแล้ง (มี.ค.-พ.ค) รอให้เติบโตในฤดูฝน ในระหว่างที่รอครามโตก็ออกไปดำนา เมื่อครามโตแล้วก็จะเกี่ยวครามแล้วนำไปแช่น้ำ เพื่อหมักเอาไว้ โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ 3 ครั้งต่อปี ครามน้ำ 1 (เก็บครั้งแรก) จะได้เม็ดสีที่สวยงาม สมบูรณ์ที่สุด โดยครามหม้อหนึ่งหากเลี้ยงให้ดีๆ สามารถอยู่ได้ถึง 40-50 ปีทีเดียว

     และนี่คือ เหตุผลว่า ทำไมไป “สกล” แล้วต้องซื้อ “ครามสกล”

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ