เลือกรูปแบบธุรกิจแบบไหนดี? เจ้าของคนเดียว - ห้างหุ้นส่วน – บริษัทจำกัด

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     อาจเป็นหนึ่งคำถามในใจของผู้ประกอบการธุรกิจว่าหลังจากวางแผนการทำธุรกิจไปเรียบร้อยแล้วเราควรจะเลือกทำธุรกิจในรูปแบบไหนระหว่างเป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือจดเป็นในรูปแบบบริษัทอันไหนจะดีกว่ากันหรือเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ต่อไปนี้ คือ ข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อดีข้อด้อยของรูปแบบแต่ละอย่าง เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นกัน

เจ้าของคนเดียว

รูปแบบ : ธุรกิจบุคคลธรรมดา

ข้อดี 

  • มีอำนาจการบริหารงานเต็มที่
  • สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
  • ผลกำไร/ขาดทุนนั้น ได้รับเต็มๆ คนเดียว ไม่ต้องแบ่งใคร

 

ข้อด้อย 

  • เงินลงทุนมีจำนวนจำกัด
  • หากต้องกู้ยืมมีเครดิตน้อยกว่าการมีหุ้นส่วนหรือเป็นบริษัทจำกัด
  • หนี้สิ้นต้องรับผิดชอบคนเดียว
  • ความน่าเชื่อถือน้อย

 

ภาษี :

  • สียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %

 

ห้างหุ้นส่วน

รูปแบบ : ระดมทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน), ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน) และห้างหุ้นส่วนจำกัด

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 1,000 บาท

ข้อดี 

  • ระดมเงินทุนได้มากขึ้น
  • ความน่าเชื่อถือปานกลาง
  • การลงทุนไม่มีขั้นต่ำ สามารถลงเป็นเงิน ทรัพย์สิน และแรงงานได้

 

ข้อด้อย :

  • การบริหารงานต้องปรึกษากับหุ้นส่วน
  • การตัดสินใจล่าช้าลง ต้องผ่านมติเป็นเอกฉันท์จากหุ้นส่วน
  • ผลกำไร/ขาดทุนหารเฉลี่ยกับหุ้นส่วน
  • ความรับผิดชอบต่อหนี้สิ้น แบ่งเป็น
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้)
    • ไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
    • เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
    • ผู้หุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ หรือตั้งตัวแทนเป็นผู้จัดการได้
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด มี 2 รูปแบบ(มีทั้งแบบจำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ)
    1. แบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สิ้นทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิสามารถเข้ามาร่วมตัดสินใจและบริหารจัดการได้
    2. แบบจำกัดความรับผิดชอบ (ไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้) รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น แต่ไม่สามารถมีสิทธิตัดสินใจและเข้ามาบริหารจัดการได้
  • เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบได้

 

ภาษี 

  • กรณีไม่จดทะเบียน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %
  • กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20 %

 

บริษัทจำกัด

รูปแบบ : ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน โดยแบ่งเงินลงทุนออกเป็นมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน หุ้นละไม่ต่ำกว่า 5 บาท

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 5,000 บาท

ข้อดี 

  • สามารถระดมทุนได้ง่าย และจำนวนมาก
  • ความรับผิดชอบหนี้สิ้นจำกัดเฉพาะมูลค่าที่ยังไม่ชำระ
  • มีความน่าเชื่อถือมาก

 

ข้อด้อย 

  • การบริหารงานต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ
  • ผลกำไร/ขาดทุน : แบ่งเงินปันผลตามผู้ถือหุ้น

 

ภาษี 

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20 %

     

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ใช้ “Baby Schema” สิ่งที่เรียกว่า “ความน่ารัก” ตกลูกค้า มัดใจคนให้อยู่หมัด!

รู้จัก “Baby Schema” จิตวิทยาบ่งบอกความคิ้วท์ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอมยิ้ม อยากหยิก อยากหยอกสิ่งที่เห็น

อวสานฟาสต์ฟู้ด! ทำยังไง? เมื่อร้านสะดวกซื้อเขยิบขึ้นมาเป็นคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภค ถูก ดี และสะดวก

ทำยังไง? เมื่อคุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร แต่คู่แข่งของคุณวันนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านอาหารด้วยกันเอง แต่เป็น C-Stores หรือร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้าน ที่กำลังเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ทั้งถูก ดี และสะดวก

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน