8 เทคนิคเป็นผู้จัดการยุค Millennial ให้มีประสิทธิภาพ


 
 
 
TEXT   ManpowerGroup
 
 
      ปัจจุบันวิธีการทำงานเริ่มเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่มีบทบาทกับการทำงานมากขึ้น เทคโนโลยีมีส่วนในการขับเคลื่อนการทำงาน ส่งผลให้แรงงานในกลุ่ม Millennial หลายคนได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้จัดการ บางคนเป็นพนักงานที่มีผลงานดี แต่การที่จะประสบความสำเร็จในตำแหน่งงานได้นั้น ต้องอาศัยทักษะประสบการณ์ในการทำงานหลายอย่าง และยิ่งในตำแหน่งผู้จัดการ การบริหารแรงงานในยุคนี้จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ในยุคที่แรงงานมีการตื่นตัว การเตรียมความพร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ขอแนะ 8 เทคนิคสร้างเสริมประสบการณ์สู่การเป็นผู้จัดการยุค Millennial ให้ประสบความสำเร็จ ดังนี้
 
  1.สร้างทีมงานมืออาชีพ จะเป็นทีมงานที่ประสบความสำเร็จได้ ในฐานะผู้จัดการ คุณจะแสดงศักยภาพของคุณได้มากเพียงได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากความสามารถของลูกน้องในทีมของคุณด้วย คุณจึงต้องเลือกสรรคนที่เหมาะสมมาร่วมทีม และสร้างเป้าหมายเดียวกัน
 
 
  2.มีความเป็นผู้นำ แน่นอนว่าการเป็นผู้จัดการนั้น คุณจะต้องมีความเป็นผู้นำที่ดี สามารถบอกได้ว่าตนเองต้องการอะไร และคนอื่นหรือลูกน้องในทีมต้องทำอะไร คุณจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องในทีมและนำทีมทำงานอย่างมีจุดหมายและดำเนินไปอย่างมีแบบแผน
 
 
    3.ให้เกียรติผู้อื่นในทีม ถึงคุณจะได้ขึ้นมาอยู่ในระดับหัวหน้างาน ไม่ว่าจะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า คุณก็ต้อง ให้เกียรติผู้อื่นในทีม รวมถึงเปิดใจยอมรับความคิดเห็น หรือความคิดใหม่ๆของทีมหรือลูกน้องของคุณ โดยไม่เห็นแก่พวกพ้อง ถ้าเราทำงานโดยไม่ให้เกียรติผู้อื่น ผู้อื่นก็จะไม่ให้เกียรติเราเช่นกัน
 
 
    4.สร้างแรงจูงใจให้คนในทีม คุณจะต้องหาให้ได้ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจสำคัญสำหรับคนในทีมของคุณ และใช้สิ่งนั้นกระตุ้นการทำงานของเขา ไม่ว่าจะเป็น คำชื่นชม ของรางวัล หรือการยอมรับ แม้แต่การลงโทษ ก็เป็นสิ่งกระตุ้นได้เช่นกัน
 
  5.บริหารเวลาให้ดี เวลาเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นของตัวคุณเองหรือของทีม คุณต้องสามารถจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของแต่ละงานให้ได้ และสามารถแจกแจงให้กับลูกทีมของคุณ เพื่อที่ให้ทุกคน
 
ช่วยทำงานในทุกๆชิ้นออกมาสำเร็จทันเวลาอย่างมีคุณภาพ
 
 
    6.กล้าเผชิญกับปัญหา เมื่อทำงานหลายๆคน บางครั้งคุณอาจต้องเผชิญกับความขัดแย้งของลูกน้องในทีมบ้าง หรือแม้แต่กับตัวคุณเอง คุณควรกล้าที่เผชิญหน้ากับปัญหา ตั้งสติ และค่อยๆแก้ปัญหานั้นๆ อย่าเพิกเฉยเพราะจะยิ่งทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น และอาจถึงขั้นแตกหักในที่สุด
 
 
  7.พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เราต้องค้นหาตัวเราก่อนว่าเรามีจุดเด่นอะไร และมีจุดอ่อนตรงไหน และเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่จำเป็นหรือจุดอ่อนของเราก่อน รวมถึงพัฒนานวัตกรรมหรือการคิดค้นบุกเบิกสิ่งๆใหม่ๆที่สามารถนำมาใช้กับงานให้ดียิ่งๆขึ้นไป
 
 
  8.วางตัวเป็นหัวหน้าที่ดี คุณจะต้องให้ความเข้าใจ และความเอกใจใส่ในลูกน้องของคุณ เพราะหากมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ลูกน้องก็จะเกิดความรู้สึกเต็มใจทั้งการทำงาน การช่วยเหลือ ให้กับคุณและองค์กรอย่างเต็มความสามารถ
 
 
        หากเราอยากเป็นผู้จัดการที่ดี การเตรียมความพร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในยุคที่แรงงานมีการตื่นตัวมากขึ้น บุคลากร ลูกน้องที่เราต้องบริหารจัดการ วิธีการให้เป็นที่ยอมรับในตำแหน่งงานจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ 
 
        เราจะต้องมุ่งมั่นเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารที่มีความรวดเร็ว และการปรับให้สอดคล้องกับทีมแรงงานยุคดิจิทัล หากคุณนำเทคนิคทั้ง 8 ข้อไปปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถเป็นผู้จัดการยุค Millennial ที่ดีได้อย่างแน่นอน นอกจากจะดีต่อตัวคุณแล้วทีมยังถือเป็นการผลักดันทีมงาน ให้สามารถผลิตผลงานได้อย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน จน นำพาทีมของคุณก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

AI Co-worker ปฏิวัติโลกการทำงาน เมื่อเพื่อนร่วมงานคือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่คิดแย่งงาน แต่มาแบ่งงานไปช่วย   

หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของโลกการทำงานกำลังถือกำเนิดขึ้น เมื่อ AI แต่ไม่ได้มาในฐานะผู้แย่งชิงแบบที่หลายคนหวาดหวั่น แต่จะเป็นพนักงานใหม่ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มัดรวม 8 กฎตัวเลข เปลี่ยนพฤติกรรม ทางลัดสู่ความสำเร็จ !!

การจะทิ้งพฤติกรรมเดิมทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป และง่ายต่อการล้มเลิกกลางทาง จะดีกว่าไหมถ้าค่อยๆ พัฒนาทีละนิดอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ 8 กฎพัฒนาตนเอง ที่จะช่วยสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เป็นคนเดิมที่ดีกว่าเดิม

หยิบหลักคิด “Panda Parenting” เลี้ยงลูกน้องให้เติบโตแบบแพนด้า สร้างคนเก่ง คนกล้าให้อยู่คู่องค์กร  

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมแพนด้าถึงไม่สูญพันธุ์ นั่นอาจจะไม่ใช่เพราะโชคช่วยเพียงอย่างเดียว แต่เพราะทุกอย่างนั้นอยู่ในสายตาของ “พ่อแม่”  เราเลยชวนมาถอดวิธีเลี้ยงลูกแบบหมีขาว-ดำ สู่การพัฒนาลูกน้องในองค์กรให้เติบโตอย่างเข้มแข็งกันบ้างดีกว่า