ทฤษฎีกระจกแตก บทเรียนสอนให้รู้ว่า รูรั่วเล็กๆ สร้างความหายนะให้ธุรกิจได้

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     เห็นข่าวกราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู แล้วทำให้ความคิดวูบหนึ่งนึกไปถึง ทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีกระจกแตก (Broken Windows Theory) เพราะทฤษฏีนี้ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ ก็คล้ายกับการปล่อยให้เรื่องบานปลาย หรือปล่อยเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่

     แล้วทฤษฎีกระจกแตกมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจได้อย่างไร

     ทฤษฏีเขียนโดย James Q. Wilson and George L. Kelling เมื่อ 19 ปีก่อน ใน Atlantic Monthly เกิดขึ้นจากการทดลองของศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา Dr. Philip Zimbardo ได้ทดลองเอารถ Oldsmobile สองคันจอดทิ้งไว้ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมต่างกัน 

     คันหนึ่งจอดทิ้งไว้บนถนนที่ตรงข้าม Bronx Campus ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งมีเรื่องสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี ส่วนอีกคันจอดทิ้งไว้บนถนนในเมือง Palo Alto, California ใกล้กับมหาวิทยาลัย Stanford สภาพแวดล้อมที่ดี

     ผ่านไป 3 วัน รถที่จอดทิ้งไว้ที่ Bronx ถูกงัดแงะทำลายรวม 23 ครั้ง ส่วนรถที่ Palo Alto กลับอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเวลากว่าสัปดาห์

     ทฤษฏีนี้ ว่าด้วยเรื่องของจุดด่าง หรือความไม่ดี หรือความไร้ระเบียบ แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถสื่อความหมายได้ว่า ไม่มีคนดูแล เป็นเหตุให้เกิดความไม่ดี หรือหายนะที่ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความกลัว ทำให้ชุมชนอ่อนแอลง และเพิ่มแนวโน้มพฤติกรรมทางอาชญากรรมถ้าไม่ได้รับการแก้ไขให้เข้าที่เข้าทางตั้งแต่มันยังเป็นจุดเล็กๆอยู่

ทฤษฎีกระจกแตกให้อะไรกับธุรกิจ

     สิ่งที่ผู้ประกอบการได้จากทฤษฎีกระจกแตกคือ การไม่ปล่อยให้เรื่องที่ไม่ดีเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็นเรื่องบานปลาย หากปล่อยไว้ไม่แก้ไขแต่เนิ่นๆ เช่น การลักเล็กขโมยน้อยที่อาจทำให้กลายเป็นการทุจริตในองค์กร หรือภาวะหมดไฟ จากคนๆ หนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไปกลายทำให้องค์กรขาดแรงจูงใจในการทำงาน คนที่เคยกระฉับกระเฉงก็อาจหมดไฟไปด้วย

     อย่างไรก็ดีธุรกิจสามารถนำทฤษฎีนี้ไปปรับใช้ในด้านการบริหารของธุรกิจได้ ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกทำความสะอาดคลังสินค้าให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อซัพพลายเออร์มาส่งของเห็นพื้นที่สะอาดก็จะส่งผลกระตุ้นให้พวกเขาจัดส่งสินค้าที่ไม่วางไว้เกะกะ หรือแม้แต่ร้านอาหาร ที่จัดร้านให้สะอาด ส่งผลให้ลูกค้าทำต้องรักษาบรรยากาศที่ดีไม่กล้าทิ้งขยะหรือทำร้านสกปรก

     สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราเลือกได้ว่าจะปล่อยให้มีรูรั่วเล็กๆ หรือจะป้องกันไว้ก่อน

ที่มา : https://www.rancord.org/broken-windows-theory-business-management-strategy

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1480397

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

AI Co-worker ปฏิวัติโลกการทำงาน เมื่อเพื่อนร่วมงานคือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่คิดแย่งงาน แต่มาแบ่งงานไปช่วย   

หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของโลกการทำงานกำลังถือกำเนิดขึ้น เมื่อ AI แต่ไม่ได้มาในฐานะผู้แย่งชิงแบบที่หลายคนหวาดหวั่น แต่จะเป็นพนักงานใหม่ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มัดรวม 8 กฎตัวเลข เปลี่ยนพฤติกรรม ทางลัดสู่ความสำเร็จ !!

การจะทิ้งพฤติกรรมเดิมทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป และง่ายต่อการล้มเลิกกลางทาง จะดีกว่าไหมถ้าค่อยๆ พัฒนาทีละนิดอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ 8 กฎพัฒนาตนเอง ที่จะช่วยสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เป็นคนเดิมที่ดีกว่าเดิม

หยิบหลักคิด “Panda Parenting” เลี้ยงลูกน้องให้เติบโตแบบแพนด้า สร้างคนเก่ง คนกล้าให้อยู่คู่องค์กร  

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมแพนด้าถึงไม่สูญพันธุ์ นั่นอาจจะไม่ใช่เพราะโชคช่วยเพียงอย่างเดียว แต่เพราะทุกอย่างนั้นอยู่ในสายตาของ “พ่อแม่”  เราเลยชวนมาถอดวิธีเลี้ยงลูกแบบหมีขาว-ดำ สู่การพัฒนาลูกน้องในองค์กรให้เติบโตอย่างเข้มแข็งกันบ้างดีกว่า