Google เลือกคนจาก 1 ล้านเรซูเม่ต่อปีอย่างไร? ให้ได้คนที่ใช่ ตอบโจทย์องค์กรระดับโลก

TEXT : กองบรรณาธิการ 

Main Idea

  • ในแต่ละปี Google ได้รับเรซูเม่มากกว่า 1 ล้านเรซูเม่ ดังนั้นพวกเขาจึงรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์งานหลายหมื่นครั้งเพื่อพยายามหาว่าคนที่ดีที่สุดที่จะเข้ามาทำงานควรเป็นแบบไหน

 

  • เกรดเฉลี่ย ใบปริญญา คงไม่ใช่ตัวชี้วัดอันดับต้นๆ สำหรับที่ Google

 

     นอกจากจะเป็นองค์กรใหญ่ระดับโลกที่หลายคนอยากร่วมงานด้วยแล้ว Google น่าจะเป็นองค์กรที่มีข้อมูลมากกว่าบริษัทใดๆ ในโลกที่มาจากคนทั่วโลกเข้าไปเสิร์ชหาข้อมูลต่างๆ ทำให้ Google สามารถนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์การทำธุรกิจหรือแม้แต่การรับสมัครงาน

     Laszlo Bock อดีตผู้บริหารของ Google เคยให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ว่าในโลกการจ้างงานนั้น เกรดเฉลี่ยอาจมีค่าในมหาวิทยาลัยแต่อาจไร้ค่าสำหรับเกณฑ์การจ้างงาน เพราะมันไม่สามารถบอกอะไรได้มากนัก

     เขาให้เหตุผลไว้ว่า ด้วยสภาพแวดล้อมในโรงเรียนนั้นเป็นสภาพแวดล้อมเทียม ผู้คนได้รับการฝึกฝนให้ตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงถูกกำหนดไว้ ดังนั้นคนที่ฝึกฝนมาอย่างดี ประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมนั้น

     เขายังบอกอีกว่า มันจะน่าสนใจกว่ามากถ้าคุณสามารถหาคนที่สามารถมาแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขันเฉพาะหน้าได้ โดยไม่มีแนวทางคำตอบที่ชัดเจน

     เพื่อให้สมกับองค์กรที่มีข้อมูลมากมาย Laszlo Bock บอกว่าบริษัทเขาเคยทำการศึกษาจากคนที่มาสมัครงานที่ Google หลายหมื่นครั้ง พบว่าการที่ผู้สมัครที่มีเกรดเฉลี่ยดีในมหาวิทยาลัยนั้น ท้ายสุดแล้วพวกเขาก็มีความสัมพันธ์เป็นศูนย์ในออฟฟิศ

     ด้วยเหตุนี้ Google จึงจ้างพนักงานที่ไม่วุฒิการศึกษาจำนวนมากขึ้นๆ  Bock กล่าวเสริมว่า "ดังนั้นในองค์กรเราจึงมี 14 เปอร์เซ็นต์ของทีมที่ประกอบด้วยคนที่ไม่เคยเรียนจบมหาวิทยาลัย

คนแบบไหนที่ Google มองหา

แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

     ในการทำงานแต่ละวันที่ต้องเจอกับอุปสรรคมากมายซึ่งยากจะคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้นความสามารถในการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันทีเป็นสิ่งที่ทาง Google ต้องการคนแบบนี้ และคุณสมบัติแบบนี้ก็อยากที่จะวัดจากแค่เกรดเฉลี่ยหรือใบปริญญา

มีภาวะผู้นำอยู่ในตัว

     การที่คุณเคยเป็นประธานชมรมต่างๆ ในสมัยเรียนนั้น ไม่ได้หมายถึงภาวะผู้นำจะติดตัวคุณมาตลอด เมื่อมาทำงานแม้คุณเป็นเพียงหนึ่งในทีมแต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาคุณจะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในเวลาที่เหมาะสมได้หรือไม่ และเช่นเดียวกันหากคุณเป็นผู้นำแล้วยามเกิดวิกฤตคุณไม่สามารถจัดการได้ คุณจะเต็มใจสละอำนาจเพื่อปล่อยให้คนอื่นจัดการแทนหรือไม่

เป็นน้ำไม่เต็มแก้ว

     มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับความคิดที่ดีกว่าของผู้อื่น สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาได้  คุณสมบัติเหล่านี้ Google เปรียบเสมือน 'ความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา' "หากไม่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คุณจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้

เน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี

     คุณสมบัติสำคัญที่สุดที่ Google มองหาคือ ไม่ได้มองหาคนที่แม่นวิชาการ เพราะการทำตามตำราเป็นสิ่งที่ทุกคนสามาสามารถทำได้ แต่ในขณที่คนชอบลองสิ่งใหม่ๆ ช่วยทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร

     เพราะคน คือ ขุมทรัพย์จำเป็นในธุรกิจ ถ้าคุณได้เพื่อนร่วมงานที่ดี ธุรกิจเล็กๆ อย่าง SME ก็มีสิทธิ์ที่จะเติบโตแบบ Google ได้

ที่มา : https://www.educatenepal.com/job_application_guides/display/google-hr-boss-explains-why-gpa-and-most-interviews-are-useless

https://ethicaljobs.com.au/blog/how-google-is-changing-the-way-people-are-recruited

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

AI Co-worker ปฏิวัติโลกการทำงาน เมื่อเพื่อนร่วมงานคือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่คิดแย่งงาน แต่มาแบ่งงานไปช่วย   

หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของโลกการทำงานกำลังถือกำเนิดขึ้น เมื่อ AI แต่ไม่ได้มาในฐานะผู้แย่งชิงแบบที่หลายคนหวาดหวั่น แต่จะเป็นพนักงานใหม่ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มัดรวม 8 กฎตัวเลข เปลี่ยนพฤติกรรม ทางลัดสู่ความสำเร็จ !!

การจะทิ้งพฤติกรรมเดิมทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป และง่ายต่อการล้มเลิกกลางทาง จะดีกว่าไหมถ้าค่อยๆ พัฒนาทีละนิดอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ 8 กฎพัฒนาตนเอง ที่จะช่วยสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เป็นคนเดิมที่ดีกว่าเดิม

หยิบหลักคิด “Panda Parenting” เลี้ยงลูกน้องให้เติบโตแบบแพนด้า สร้างคนเก่ง คนกล้าให้อยู่คู่องค์กร  

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมแพนด้าถึงไม่สูญพันธุ์ นั่นอาจจะไม่ใช่เพราะโชคช่วยเพียงอย่างเดียว แต่เพราะทุกอย่างนั้นอยู่ในสายตาของ “พ่อแม่”  เราเลยชวนมาถอดวิธีเลี้ยงลูกแบบหมีขาว-ดำ สู่การพัฒนาลูกน้องในองค์กรให้เติบโตอย่างเข้มแข็งกันบ้างดีกว่า