นายจ้างรู้ยัง? 40% ของคนรุ่นใหม่ ไม่ได้อยากเป็นหัวหน้า ทำงานหนัก พักน้อย ไร้เวลาส่วนตัว

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • พนักงานยุคใหม่ไม่ได้ต้องการเลื่อนตำแหน่ง แต่ต้องการความสุขในชีวิตมากกว่า

 

  • และยินดีที่จะอยู่ในตำแหน่งที่เล็กกว่า ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรที่กดดัน หรือเครียดจนเกินไป

 

     การได้เลื่อนตำแหน่ง อาจถูกมองเป็นความก้าวหน้าของคนทำงานยุคหนึ่ง แต่รู้ไหม? วันนี้พวกเขาอาจไม่ได้คิดแบบนั้นเสมอไป มีข้อมูลรายงานจากบริษัทจัดหางานที่ใหญ่ที่สุดในโลกกล่าวไว้ว่า พนักงานเกือบครึ่งหนึ่งจากร้อยคนไม่ได้อยากขวนขวายเลื่อนตำแหน่ง แต่ชอบที่จะทำงานอยู่ในตำแหน่งเดิมมากกว่า ถ้ามีความสุขดีอยู่แล้ว

     จากรายงานประจำปีของ “Randstad” บริษัทให้คำปรึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อต้นปี 2024

     พบว่าจากการทำการสำรวจผู้คนกว่า 27,000 คนที่ทำงานอยู่บริษัท 34 แห่งทั่วยุโรป เอเชียแปซิฟิก และอเมริกา โดยมีอายุระหว่าง 18-67 ปี ทั้งในรูปแบบพนักงานประจำ, ฟรีแลนซ์ หรือแม้แต่คนที่กำลังว่างงาน และกำลังมองหางานใหม่พบว่ากว่า 39% ไม่ต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เพราะพวกเขาชอบในงานปัจจุบันของตนดีอยู่แล้ว และอีกกว่า 34% ยังตอบว่าไม่เคยมีความต้องการอยากเลื่อนเป็นหัวหน้าหรือผู้จัดการเลยด้วยซ้ำ

     จากผลการสำรวจดังกล่าว Sander van 't Noordende ซีอีโอของ Randstad กล่าวสรุปว่า แรงจูงใจของผู้คนทำงานยุคนี้อาจไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยการเลื่อนตำแหน่งเสมอไป ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ความยืดหยุ่นระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงานให้มีความสุขมากกว่าการเลื่อนตำแหน่ง หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หากทำไปแล้วไม่ได้มีความสุขเหมือนเดิม

     ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ของผู้คนทำงานยุคนี้ เช่น Quiet Quitting - การลาออกอย่างเงียบ (เลิกทำงานเกินหน้าที่) lazy girl jobs – งานสาวขี้เกียจ ที่อยากได้งานมั่นคง เงินดี แต่เวลาทำงานไม่มากเกินไป และ Bare Minimum Mondays - การทำงานขั้นต่ำในวันจันทร์ หรือวันแรกของสัปดาห์ เพื่อช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์ จากเทรนด์ดังกล่าวล้วนส่งเสริมให้ผู้คนลดความทะเยอะทะยานในการทำงานลง เปรียบเหมือนการนั่งรถก็ยินดีที่จะนั่งสบายๆ อยู่เบาะหลังดีกว่า ถ้ามีความสุขดีแล้ว มากกว่าจะดิ้นรนมาเป็นคนขับอยู่ข้างหน้า ถ้าต้องแลกด้วยความเครียด หรือความกดดันที่จะตามมา เรียกง่ายๆ ว่าเลือกความสุข มากกว่าผลตอบแทนหรือเงินที่จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง

     โดยซีอีโอของ Randstad ได้ให้คำแนะนำทิ้งท้ายว่าหากอยากมัดใจคนทำงานยุคนี้ได้ นายจ้างต้องเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ความก้าวหน้าไม่ได้หมายถึงการเลื่อนตำแหน่งหรือผลตอบแทนที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับสิ่งอื่นด้วย เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง การท่องเที่ยว ประสบการณ์ชีวิตอื่นๆ ด้วย นั่นแหละจึงจะมัดใจพวกเขาได้ เพราะต่อให้เอาเงินมากอง แต่ไม่มีความสุข พวกเขาก็ไม่เลือกทำนั่นเอง

ที่มา : https://www.businessinsider.com/workers-happy-jobs-never-want-be-managers-promotions-randstad-workmonitor-2024-1

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

AI Co-worker ปฏิวัติโลกการทำงาน เมื่อเพื่อนร่วมงานคือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่คิดแย่งงาน แต่มาแบ่งงานไปช่วย   

หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของโลกการทำงานกำลังถือกำเนิดขึ้น เมื่อ AI แต่ไม่ได้มาในฐานะผู้แย่งชิงแบบที่หลายคนหวาดหวั่น แต่จะเป็นพนักงานใหม่ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มัดรวม 8 กฎตัวเลข เปลี่ยนพฤติกรรม ทางลัดสู่ความสำเร็จ !!

การจะทิ้งพฤติกรรมเดิมทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป และง่ายต่อการล้มเลิกกลางทาง จะดีกว่าไหมถ้าค่อยๆ พัฒนาทีละนิดอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ 8 กฎพัฒนาตนเอง ที่จะช่วยสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เป็นคนเดิมที่ดีกว่าเดิม

หยิบหลักคิด “Panda Parenting” เลี้ยงลูกน้องให้เติบโตแบบแพนด้า สร้างคนเก่ง คนกล้าให้อยู่คู่องค์กร  

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมแพนด้าถึงไม่สูญพันธุ์ นั่นอาจจะไม่ใช่เพราะโชคช่วยเพียงอย่างเดียว แต่เพราะทุกอย่างนั้นอยู่ในสายตาของ “พ่อแม่”  เราเลยชวนมาถอดวิธีเลี้ยงลูกแบบหมีขาว-ดำ สู่การพัฒนาลูกน้องในองค์กรให้เติบโตอย่างเข้มแข็งกันบ้างดีกว่า