สร้างความสำเร็จด้วยการออกแบบ สมชนะ กังวารจิตต์

 



Text : สมชนะ กังวารจิตต์ 
นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design 


    งานออกแบบเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์เนื่องเพราะภาษาศิลปะถือเป็นภาษากลางของโลก ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนพูดภาษาอะไรก็ตาม แต่เมื่อเป็นเรื่องศิลปะก็จะกลายเป็นภาษาเดียวกัน ดังนั้น ศิลปะจึงสามารถแทรกเข้าไปอยู่ได้ทั้งสินค้าและบริการ


    ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวด้านงานออกแบบในบ้านเรานั้น หากดูจากการเรียนการสอนก็จะพบว่า มีสถาบันการ ศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งเปิดการเรียนการสอนการออกแบบเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในแง่มุมนี้จึงมั่นใจได้ว่าบุคลากรด้านการออกแบบที่จะสนับสนุนธุรกิจ SME นั้นมีจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาครัฐเองก็ยังพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME เข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบ มีการประกวด มอบรางวัล หรือกระทั่งพานักออกแบบไปดูงานต่างประเทศ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่ามีหลายปัจจัยเชื่อมโยงกันที่ทำให้เห็นภาพความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบที่ไปในทิศทางที่ดี


    สำหรับผู้ประกอบการ SME นั้นในวันนี้ให้ความสนใจด้านการออกแบบเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาของผู้ประกอบการSME คือ ความโชคร้ายที่ต้องไปเจอกับผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ใช่ของจริง ทำให้งานออกแบบที่ออกแบบมานั้นผิดวัตถุประสงค์ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริง เมื่อเป็นเช่นนั้นอาจมีคำถามว่า แล้วควรจะเลือกนักออกแบบอย่างไร? หลักๆ คือ ควรดูจากผลงานในอดีตที่ดูแลแบรนด์มาก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง และที่สำคัญควรเลือกนักออกแบบที่เป็นดั่งองครักษ์ของแบรนด์ ที่ทำหน้าที่พิทักษ์แบรนด์ที่ได้รับมอบหมายนั้น ฉะนั้นนักออกแบบจึงต้องมีความเข้าใจในธุรกิจ และพร้อมจะใช้แนวคิดมาต่อกรกับคู่แข่งในทุกเสี้ยววินาทีเสมือนเป็นแบรนด์ของเราเอง 


    อย่างที่บริษัท Prompt Design เรานั้น มีการปลูกฝังให้นักออกแบบทุกคนจงรักภักดีกับแบรนด์ที่เราทำและได้รับมอบหมาย ส่วนมากผมจะปูพื้นฐานให้ทุกคนเข้าใจว่ากว่าที่ผู้ประกอบการจะคิดและพัฒนาสินค้าหรือบริการขึ้นมาได้นั้นต้องใช้เวลาความพยายามมาก และยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มากกว่าการออกแบบเสียอีก ดังนั้น เราควรตั้งใจในการผลิตผลงานทุกชิ้น และต้องติดตาม และเก็บข้อมูล อีกทั้งต้องพยายามปกป้องแบรนด์ของลูกค้าอีกด้วย เช่น เมื่อเดินซูเปอร์มาร์เก็ตเห็นสินค้าที่เราออกแบบล้มหรือถูกอยู่ลึกเข้าไปก็ควรหยิบออกมาวางให้เรียบร้อย เพื่อที่ว่าทุกๆ นาทีไม่ควรจะต้องเสียโอกาสด้านการขาย 


     มีกูรูชาวอังกฤษท่านหนึ่ง กล่าวเอาไว้ว่า “งานดีไซน์ที่ดี คือการสร้างสมดุลระหว่างความสวยงามกับประสิทธิผลของผลลัพธ์ที่ได้”  


    หัวใจของการออกแบบที่จะทำให้สินค้าหรือบริการประสบความสำเร็จนั้น คือการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงที่สุด ไม่ว่านักออกแบบจะทำอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ใจผู้บริโภคให้มากที่สุด เช่น นักท่องเที่ยวคนไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่น เมื่อจะซื้อของฝากเพื่อน ญาติพี่น้อง ย่อมจะไม่อยากได้อะไรที่เป็นโมเดิร์น แต่ต้องการสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น เช่นเดียวกันฝรั่งเมื่อมาเที่ยวเมืองไทยก็ย่อมต้องการสินค้าอะไรที่สื่อความหมายความเป็นไทย นี่คือสิ่งที่นักออกแบบต้องมี 


    บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินเรื่องการสร้างแบรนด์ ซึ่งหลายคนคิดว่า การสร้างแบรนด์จะต้องเริ่มต้นด้วยการโฆษณา นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการสร้างแบรนด์จะมี 3 สเตปที่สำคัญ คือ ขั้นที่หนึ่ง เป็นเรื่องของจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อธุรกิจ ที่จะได้พัฒนาสินค้าและบริการขึ้นมา ถัดมาขั้นที่สองใช้การออกแบบเป็นสิ่งที่สื่อสารจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการออกไปสู่ตลาด ผ่าน Touch Point ต่างๆ และขั้นที่สาม เมื่อแบรนด์กำลังไปได้มียอดขายสนับสนุนระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยโฆษณา 


    ยกตัวอย่างแบรนด์กาแฟดังสตาร์บัคส์ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มต้นจากจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการของผู้เป็นเจ้าของ กลั่นกาแฟ ปลูกฝังพนักงาน จากนั้นจึงค่อยออกแบบร้าน โลโก้ สร้างแบรนด์จริงจัง และเมื่อมีลูกค้ามากขึ้น สุดท้ายจึงโฆษณา สำหรับผู้ประกอบการ SME หากอยากจะประสบความสำเร็จทางธุรกิจต้องรักษาสเตปการสร้างแบรนด์แบบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: MARKETING

ใช้ “Baby Schema” สิ่งที่เรียกว่า “ความน่ารัก” ตกลูกค้า มัดใจคนให้อยู่หมัด!

รู้จัก “Baby Schema” จิตวิทยาบ่งบอกความคิ้วท์ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอมยิ้ม อยากหยิก อยากหยอกสิ่งที่เห็น

อวสานฟาสต์ฟู้ด! ทำยังไง? เมื่อร้านสะดวกซื้อเขยิบขึ้นมาเป็นคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภค ถูก ดี และสะดวก

ทำยังไง? เมื่อคุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร แต่คู่แข่งของคุณวันนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านอาหารด้วยกันเอง แต่เป็น C-Stores หรือร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้าน ที่กำลังเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ทั้งถูก ดี และสะดวก

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน