เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการสร้าง story




Credit Picture: Bloggang.com   Benjawan_B
 

เรื่อง : พิชชานันท์ สุโกมล

     เราเคยสังเกตตัวเองไหมว่า หากเราจะซื้อสินค้าสักชิ้นหนึ่ง อะไรคือสิ่งที่เราตัดสินใจ? ความต้องการ ราคา คุณภาพ ของแถม หรือสิ่งจูงใจอื่นๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนถูกนำมาใช้ในการโฆษณาเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อได้ผลมาแล้วนับไม่ถ้วน

      แต่สำหรับผู้ผลิตสินค้าแล้ว นอกจากวิธีการดังกล่าวที่ยกตัวอย่างมานั้น ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้สินค้านั้นโดนใจและเข้าถึงผู้บริโภคได้ นั่นก็คือ การสร้าง story หรือการสร้างเรื่องราวให้กับตัวสินค้า ซึ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเขาไม่ได้ถูกยัดเยียดให้ซื้อสินค้าจนเกินไป กลับกัน ผู้บริโภคอาจได้เรียนรู้เรื่องราวจากสินค้าบางอย่างในสิ่งที่อาจคาดไม่ถึงก็ได้

 

Credit Picture : kumkong999.com
 

     กรณีศึกษาที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนที่อยากนำมาเสนอเวลานี้ เห็นทีคงต้องยกตัวอย่างของ “กาแฟขี้ชะมด” ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง คือตกเฉลี่ยแล้วจะขายกันอยู่ที่แก้วละ 500 -1,000 บาท หรืออาจสูงกว่านี้ในบางประเทศ

     ถามว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้กาแฟขี้ชะมดนั้นสูงลิบลิ่ว ทั้งๆ ที่แค่ชื่อก็ไม่น่าพิศสมัยเอาซะเลย!! 

     คำตอบอยู่ที่การสร้างเรื่องราวให้กับเมล็ดกาแฟนั่นเอง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในแวดวงของคอกาแฟทั้งหลายว่า เมล็ดกาแฟที่ได้จากก้อนอึหรือขี้ที่เจ้าตัวชะมดปล่อยปล่อยออกมานั้น เกิดจากการที่ตัวชะมดกินเมล็ดกาแฟเข้าไป โดยที่ชะมดจะเลือกกินเฉพาะเมล็ดกาแฟที่สด ไม่เน่า ผลสุกพอดี เมื่อชะมดแทะเนื้อและกลืนเมล็ดลงไป กระบวนการย่อยจึงเปรียบเสมือนการหมักบ่มเมล็ดกาแฟได้เป็นอย่างดี เมื่อชะมดถ่ายออกมาจึงทำให้ได้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพ  ถึงตอนนี้เขาก็จะนำก้อนอึของชะมดที่มีแต่เมล็ดกาแฟมาผ่านกรรมวิธี คัดแยก ล้าง ตาก คั่ว จนได้เป็นกาแฟพร้อมดื่ม จะได้รสชาติที่หอมกลมกล่อมและลงตัวพอดิบพอดี (เขาว่าต่อๆ กันมา) ทำให้กาแฟขี้ชะมดกลายเป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวมันเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

 

Credit Picture: www.hlingzhi.com

     อีกสักหนึ่งตัวอย่าง ขอยกกรณีของ “น้ำแร่” ซึ่งถามว่า คุณค่าระหว่าง “น้ำแร่” กับ “น้ำเปล่าธรรมดา” ต่างกันตรงไหน ซึ่งมีผลวิเคราะห์ออกมาแล้วว่า ระหว่างน้ำแร่และน้ำเปล่า ล้วนเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขับของเสียออกจากร่างกาย จะต่างกันก็ตรงที่น้ำแร่มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่าน้ำเปล่าเท่านั้นเอง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ เราจะได้รับอยู่แล้วในทุกๆ วัน ซึ่งได้จากการรับประทานอาหาร ถ้าร่างกายได้รับแร่ธาตุมากเกินไป ก็จะถูกขับออกมาในรูปของของเสีย ทำให้ดื่มไปก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรขึ้นมา แถมราคาก็แพงกว่าน้ำเปล่าเสียอีก

    แต่สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายแพงกว่า นั่นเป็นเพราะนัก creative หรือนักการตลาดทั้งหลาย ได้ให้ความสำคัญของการนำเสนอไปที่เรื่องราวของแหล่งน้ำแร่ทั้งหลายว่า น้ำแร่จากแหล่งนั้น แหล่งนี้ มีที่มาที่ไปและประโยชน์อย่างไร เช่น มาจากแหล่งภูเขาไฟ แหล่งน้ำพุร้อน น้ำพุเย็น โดยผ่านขั้นตอนการผลิตและบรรจุขวดอย่างไร เหล่านี้ล้วนเป็นกลไกที่นักการตลาดนำมาเล่นกับความรู้สึกของผู้บริโภค เป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าให้มีภาพลักษณ์ที่ดูดี ทำให้คนอยากซื้อ ซึ่งจะว่าไปแล้ววิธีการสร้าง story นี้ นับเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์สินค้าหรือบริการได้อีกทางหนึ่ง แต่หากไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น ความน่าสนใจก็จะน้อยลงเช่นกัน
 

Credit Picture: montira-meena.blogspot.com

    สรุปแล้ว การสร้าง story ให้กับสินค้าหรือบริการนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างความแตกต่าง สร้างเอกลักษณ์ และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือคุณต้องสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคจดจำ ชี้ให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณมีประโยชน์หรือมีลักษณะที่โดดเด่นจากคู่แข่งอย่างไร หากคุณทำได้โดนใจ เชื่อเถอะว่าผู้บริโภคเขายอมควักกระเป๋าจ่ายถึงแม้สินค้าของคุณจะมีราคาแพงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันแต่ไม่มีความโดดเด่นอะไรเลย 

create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ใช้ “Baby Schema” สิ่งที่เรียกว่า “ความน่ารัก” ตกลูกค้า มัดใจคนให้อยู่หมัด!

รู้จัก “Baby Schema” จิตวิทยาบ่งบอกความคิ้วท์ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอมยิ้ม อยากหยิก อยากหยอกสิ่งที่เห็น

อวสานฟาสต์ฟู้ด! ทำยังไง? เมื่อร้านสะดวกซื้อเขยิบขึ้นมาเป็นคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภค ถูก ดี และสะดวก

ทำยังไง? เมื่อคุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร แต่คู่แข่งของคุณวันนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านอาหารด้วยกันเอง แต่เป็น C-Stores หรือร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้าน ที่กำลังเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ทั้งถูก ดี และสะดวก

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน