เทรนด์ Workation ก็มา! อุทยานแห่งชาติญี่ปุ่น เปิดพื้นที่รับคนทำงานยุคใหม่ ได้ทั้งงานและพักผ่อนไปในตัว

TEXT : กองบรรณาธิการ




Main Idea

วิธีปรับตัวของภาคการท่องเที่ยวญี่ปุ่น
 
  • มองเห็นเทรนด์ที่องค์กรธุรกิจในญี่ปุ่นยอมรับการทำงานระยะไกล
 
  • ใช้เงินลงทุนสำหรับการปรับปรุงพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถรองรับการทำงานทางไกลได้
 
  • นำเสนอแผนการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ทั้งการทำงานและการพักผ่อนไปพร้อมกัน




      โควิด-19 ทำให้องค์กรต่างๆ ได้ทดลองให้พนักงานทำงานจากระยะไกล และเพราะการระบาดระลอกที่ 2 ทำให้ยังคงต้องใช้มาตรการนี้ต่อเนื่องมาจนถึงตอนนี้ เมื่อไม่ได้ทำงานที่ออฟฟิศ พนักงานก็ต้องทำงานที่บ้านใช่ไหมล่ะ แต่ถ้าอยู่ที่บ้านตลอดทั้งวันคงน่าเบื่อและโหยหาความแปลกใหม่ในชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม อุทยานแห่งชาติทั่วญี่ปุ่นจึงสนใจไอเดีย “Workation” ผสมผสานระหว่างธุรกิจและการพักผ่อนเพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถทำงานทางไกลระหว่างท่องเที่ยวได้ด้วย
              




      รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมแนวคิดนี้ โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ให้เงินทุนสนับสนุนเพื่ออัปเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานและพื้นที่ตั้งแคมป์ ปรับปรุงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพิ่มจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ไปจนถึงการตกแต่งพื้นที่ให้เหมาะสำหรับการทำงานโดยเฉพาะ
              




      โรงแรม Chuzenji Kanaya ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Nikko ในจังหวัด Tochigi ได้จัดเตรียมพื้นที่ทำงานสำหรับแขกได้ถึงสามคนโดยแยกจากห้องพักทั่วไป และนำเสนอแผนการที่แขกสามารถทำงานในตอนเช้าและเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินป่าและพายเรือแคนูกับครอบครัวในช่วงบ่ายได้
              

      ขณะที่โรงแรม Kyukamura Kishu Kada ในพื้นที่ Setonaikai National Park ที่เปิดห้องพักให้นักเดินทางเข้ามาใช้ทำงาน พวกเขาต้องการให้ผู้คนทำงานทางไกลพร้อมกับพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน
              





      ไม่ใช่แค่ในรูปแบบห้องพักสบายๆ เท่านั้น ยังมีแผนเปิดให้เช่าเต็นท์ขนาดใหญ่ พร้อมเครื่องปั่นไฟแบบพกพาและ Pocket Wi-Fi ที่ลานตั้งแคมป์ในอุทยานแห่งชาติ 4 แห่งทั่วประเทศ โดยที่มีเจ้าหน้าที่จัดเตรียมและรื้อเต็นท์ รวมทั้งจัดหาอาหารให้กับแขกเพื่อให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนสามารถใช้เวลาทำงานได้อย่างเต็มที่ตามความต้องการของเจ้านายที่อยู่ในโตเกียว
              





      เรื่องนี้รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมอย่างเต็มที่ ในช่วงต้นเดือนกันยายน “ชินจิโร โคอิซุมิ” รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้แสดงตัวอย่างผลงานนี้ด้วยการเข้าร่วมการประชุมออนไลน์กับตัวแทนองค์กรและเจ้าหน้าที่ในกระทรวง ที่โรงแรมในอุทยานแห่งชาติ andai-Asahi ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น
              





              
      การขยับตัวของภาคการท่องเที่ยวในญี่ปุ่นครั้งนี้ เป็นความหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยวิธีการปรับตัวที่ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่ใช้จุดแข็งตอบโจทย์พฤติกรรมคนให้ได้
      
        
ที่มา : www.japantimes.co.jp
 




 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: MARKETING

ใช้ “Baby Schema” สิ่งที่เรียกว่า “ความน่ารัก” ตกลูกค้า มัดใจคนให้อยู่หมัด!

รู้จัก “Baby Schema” จิตวิทยาบ่งบอกความคิ้วท์ ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอมยิ้ม อยากหยิก อยากหยอกสิ่งที่เห็น

อวสานฟาสต์ฟู้ด! ทำยังไง? เมื่อร้านสะดวกซื้อเขยิบขึ้นมาเป็นคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภค ถูก ดี และสะดวก

ทำยังไง? เมื่อคุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร แต่คู่แข่งของคุณวันนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านอาหารด้วยกันเอง แต่เป็น C-Stores หรือร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้าน ที่กำลังเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ทั้งถูก ดี และสะดวก

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน