5 แห่งไม่รอดเซรามิกลำปางดิ้นหนีตาย

น.ส.สุปราณี ศิริอาภานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และผู้บริหารโรงงาน SPP เซรามิกลำปาง กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมทุกระดับใน จ.ลำปาง ประสบปัญหาธุรกิจอย่างหนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่ประะกาศใช้ทั่วประเทศ ตลอดทั้งปรับขึ้นราคาก๊าซได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ กว่า 200 แห่ง ที่มีสายป่านน้อยต่างทยอยปิดกิจการ ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ก็ต้องมีการปรับแผนการดำเนินการขนานใหญ่เพื่อพยุงให้ธุรกิจอยู่รอด

ส.อ.ท.หวั่นทุนต่างชาติซ้ำเติม SMEs ไทย

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาทบทวนนโยบายการโรดโชว์และการให้สิทธิพิเศษทางภาษีดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในไทยใหม่ เพราะหากธุรกิจต่างชาติเข้ามาปริมาณมากจะยิ่งทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยต้องปิดตัวรวดเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะกิจการที่เอสเอ็มอีไทยดำเนินการอยู่แล้ว เนื่องจากจะทำให้เกิดการแย่งตลาดและแย่งคนงานจากธุรกิจคนไทยอีก

รัฐย้ำนายจ้างโยนบาปขึ้นค่าแรงทำโรงงานเจ๊ง

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกระแสข่าวการเลิกจ้างแรงงาน และการปิดกิจการของสถานประกอบการหลายแห่ง ซึ่งถูกมองว่าเกิดจากผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า จากข้อมูลของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ตั้งแต่วันที่ 1-9 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 421 ราย มีสถานประกอบการปิดกิจการ 5 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์การเลิกจ้างของสถานประกอบการทั้ง 5 แห่งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้มีผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแต่อย่างใด มองว่าเป็นการอ้างเหตุการณ์การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจในการเลิกจ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วนายจ้างมีสาเหตุการ เลิกจ้างมาจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มียอดสั่งซื้อหรือออร์เดอร์ การขาดทุนสะสม หรือต้องการย้ายฐานการผลิต ดังนั้น จึงไม่อยากให้เกิดความวิตกกังวลว่าการปรับค่าจ้างในครั้งนี้จะทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมาก

พาณิชย์รับขึ้นค่าแรง-ก๊าซ ส่งผลขึ้นราคาสินค้า

ด้านนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวหลังเป็นประธานปล่อยคาราวานรถธงฟ้าเคลื่อนที่ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและอาจส่งผลให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้า โดยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 มีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าโดยรวมประมาณ 3-5%

ออเดอร์ SMEs เริ่มหดต่างชาติเบนเข็มสั่งเพื่อนบ้าน

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าของสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่างแบรนด์เสื้อผ้า รองเท้า ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หลายรายเริ่มทยอยไปทำสัญญาในการสั่งผลิตสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา เวียดนาม จีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ ฯลฯ เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า เนื่องจากต้นทุนการผลิตในไทยมีราคาที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก โดยเฉพาเรื่องของวัตถุดิบและผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ

SCB ปรับกลยุทธ์รับปี 56 เพิ่มเซ็กเมนท์ SME ใหม่

ไทยพาณิชย์ สานต่อความสำเร็จลูกค้า SME ประกาศปรับกลยุทธ์ เพิ่มเซ็กเมนท์ SME กลุ่มใหม่ “Lower MB” หวังตอบสนองความต้องการเชิงลึก เชื่อดันยอดสินเชื่อปีนี้โต 45,000 ล้านบาท

ส.อ.ท.ชี้รัฐคลอดแผนเยียวยา SMEs ไม่ถูกจุด

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาของรัฐที่ออกมา พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่สามารถผ่านวิกฤติได้ด้วยตนเอง โดยที่มาตรการภาษีจะส่งเสริมให้มีความสามารถในการทำกำไรได้เพิ่มขึ้น มีรายได้มากขึ้น หรือว่าสามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนอุปกรณ์เป็นต้น ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายที่ทาง สอท.เสนอไป คือ ต้องการให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง มีสถานการณ์ไม่ดี

สสว.ของบ 40 ล้านบาทช่วย SMEs

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงฯ สำรวจว่ามีการปิดกิจการมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น การจัดคลินิกอุตสาหกรรม ปรับประสิทธิภาพเครื่องจักร ซึ่งลดต้นทุนได้ 10%