นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบธนาคารพาณิชย์ 1.1 ล้านราย ขณะที่อีก 1.6 ล้านราย ไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันและแผนดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งในจำนวนที่กู้จากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ มีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) รองรับการปล่อยกู้ได้เพียง 7.9 หมื่นราย และมีบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันได้ 5.9 หมื่นรายเท่านั้น และธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออกและนำเข้าอีก 1,242 ราย
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบธนาคารพาณิชย์ 1.1 ล้านราย ขณะที่อีก 1.6 ล้านราย ไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันและแผนดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งในจำนวนที่กู้จากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ มีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) รองรับการปล่อยกู้ได้เพียง 7.9 หมื่นราย และมีบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันได้ 5.9 หมื่นรายเท่านั้น และธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออกและนำเข้าอีก 1,242 ราย
แสดงให้เห็นว่าธนาคารของรัฐไม่สามารถปิดช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เลย เพราะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขอสินเชื่อจากธนาคารรัฐได้เพียง 1.4 แสนรายเท่านั้น และยังพบว่าการปล่อยกู้ของเอสเอ็มอีแบงก์เฉลี่ยต่อรายสูงถึง 3 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้เพียง 2.52 แสนบาทต่อรายเท่านั้น.
อย่างไรก็ตาม จากข้อูลของธนาคารแห่งประเทศ พบว่าผลลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 นั้นสินเชื่อเอสเอ็มอียังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.7%