DEPA กับภารกิจสนับสนุนผู้ประกอบการสู่ยุคดิจิทัล


    เราทุกคนต่างเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ที่พัฒนาและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เข้ามามีบทบาทสำคัญและสร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคดิจิทัล 4.0  ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล 


    ในวันนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเอกชนรายใหญ่ที่ไม่จำกัดขอบเขตอยู่เพียงแค่กลุ่มการสื่อสารหรือการเงินการธนาคาร ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีความอ่อนไหวต่อโลกเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก การลงทุนเรื่องนี้ย่อมเป็นที่หนึ่งอยู่แล้ว แต่หากมองให้ดี เราเริ่มจะได้เห็นอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ ๆ ของไทย เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขัน และอีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มการรับรู้ความต้องการเข้าถึงผู้บริโภค หรืออย่างน้อยก็เพิ่มความสามารถของการจัดการอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้นนั่นเอง 


    ดังนั้นความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี คือสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งถ้าต้องการอยู่รอดได้ในระยะยาว จำเป็นต้องมีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคนอื่น และต้องสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโตมากยิ่งขึ้น   ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงจะเกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน


    จากโจทย์ดังกล่าว สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัลเทคโนโลยี จึงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลและผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การจัดการสัมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการอย่างงาน “พลิก Up ธุรกิจ”  การจัดค่ายพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม (Tech Tycoon”  การสร้างเครือข่ายเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อจัดอบรมนักศึกตั่งแต่อยู่ในรั้วมหาลัย รวมทั้งจัดงานเสวนารายย่อยที่สาขาเชียงและภูเก็ตเรื่อยมา โดยหวังว่าจะเป็นโครงการต่าง ๆ ที่ DEPA ทำจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัลสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 


    ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า DEPA มีพันธกิจหลักคือการเดินหน้าพัฒนาความรู้ สร้างความเข้าใจ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดิจิทัล และผู้สนใจนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญามายกระดับธุรกิจ สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้  ซึ่งการส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลนั้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 โดยจะตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี


    ทั้งนี้ในนอนาคตการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลทางหน่วยงานจะมุ่งเน้นการสร้าง ดิจิทัล สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีพันธุ์ใหม่ ตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยคาดว่าจะเกิดผู้ประกอบการฐานดิจิทัล 500,000 ราย รวมถึงการพลิกโฉม 24,700 ชุมชน 77 เมือง 3 ล้านเอสเอ็มอี และ 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ให้ขับเคลื่อนโดยฐานดิจิทัลซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของระบบเศรษฐกิจประเทศ


RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน