กสอ.เตรียมเปิดศูนย์ ITC อัพเกรด SME ไทยผลิตสินค้ามูลค่าสูง




     กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผยความพร้อมการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center : ITC) ศูนย์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยน วัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง โดยศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วยฟังก์ชั่นบริการ 4 ส่วน ได้แก่ ITC Match, ITC Innovate, ITC Share และ ITC Fund โดยการส่งเสริมทั้งหมดเหล่านี้จะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่างๆ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการภายในศูนย์ ITC บนพื้นที่ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในราวเดือนสิงหาคม 2560 ภายใต้งบประมาณ 924 ล้านบาท

     ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมในการรับผิดชอบโครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ยุคประเทศไทย 4.0 (Industry Transformation for Thailand 4.0) พร้อมด้วยการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center : ITC) เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมนั้น ขณะนี้ได้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับความพร้อมในการให้บริการของศูนย์ฯรวมทั้งหน่วยงานและระบบปฏิบัติการสำหรับส่งเสริมผู้ประกอบการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากนี้ กสอ.จะเร่งการประชาสัมพันธ์พร้อมสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางให้เกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ประกอบการได้เห็นความสำคัญของการปฏิวัติสินค้าและบริการด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมขั้นสูงเพื่อผลักดันไปสู่ การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยจะนำมาซึ่งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางเอาไว้

     สำหรับรูปแบบการทำงานของศูนย์ฯ จะไม่ได้ทำงานแค่เพียงลำพังเท่านั้น แต่จะเป็นศูนย์กลางที่ดึงหลากหลายหน่วยงานที่มีความชำนาญทางด้านการออกแบบและวิศวกรรมจากสถาบัน เครือข่ายผู้ประกอบการ สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ มาให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือทั้ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันพลาสติก สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาส่งเสริมด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ 

     1.กิจกรรมปฏิรูปนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรม มุ่งเน้นการปฏิรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

     2.กิจกรรมปฏิรูปกระบวนการผลิตด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมและการพัฒนาโรงงานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการนำโปรแกรม อุปกรณ์เครื่องมือ หรือนวัตกรรมขั้นสูงต่าง ๆ เข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือใช้ในระบบการผลิตที่สอดคล้องกับ Global Value Chain รวมทั้งการวางระบบพัฒนาบุคลากร การปรับปรุงสถานที่ที่มีความทันสมัย ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยใช้ต้นแบบจากผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการ 

     โดยทั้ง 2 กิจกรรมหลักนี้ เบื้องต้นได้วางกรอบงบประมาณภาย ใต้โครงการปฏิรูปอุตสาหกรรมประเทศไทยสู่ยุค 4.0924 ล้านบาท ในการพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง สถานประกอบการ และผลิตภัณฑ์ โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานภายใน 5 ปี

     ดร.พสุ กล่าวว่า สำหรับฟังก์ชั่นบริการของศูนย์ ITC มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ ITC Match ศูนย์กลางการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลกและระดับประเทศและเครือข่าย SMEs ไทย เพื่อให้บริการความร่วมมือทางธุรกิจ การพบปะและหารือกับ LEs หรือ SMEs ของไทยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ชักจูงให้เกิดการลงทุนในศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาให้ SMEs มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

     ITC Innovate ศูนย์สาธิตและฝึกอบรมร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs รวมถึงการพัฒนาและบ่มเพาะให้เกิดงานวิจัยและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องจักรที่ช่วยขึ้นรูปงานต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 3D Printer Haptic systemสามารถรองรับการบริการให้กับ SMEs และ Startup  

     ITC Share แหล่งรวมบริการเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ และกำลังคนที่มีทักษะสูงเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรม โดยจัดให้มี Co-Working Space ให้คนเข้ามาติดต่อใช้บริการ Inspiration Galley การแสดงผลงานที่ประสบความสำเร็จ Workshop ให้คนมาสร้างต้นแบบ Learning Factory ให้คนมาทดลองเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี

     ITC Fund ศูนย์บริการโปรแกรมและนโยบายสนับสนุนทางการเงิน ผ่านช่องทางต่างๆ จากภาครัฐภาคเอกชนสู่ SMEs เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

     โดยทั้ง 4 แพลตฟอร์มจะถูกบรรจุเป็นการบริการในรูปแบบต่างๆ ในศูนย์ปฏิบัติการ ITC ซึ่งประกอบไปด้วย

     1.อาคารต้นคิดสตูดิโอ อาคารเพื่อการรับและถ่ายทอดเทคโ นโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่าง Global Players และ SMEs พร้อมด้วย Co-Working Space ภายในอาคารที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้พื้นที่ทำงานได้ 

     2.อาคารต้นกล้าสตูดิโอ อาคารสำหรับแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ 

     3.อาคารปฏิบัติการ Shop A และ Shop B ศูนย์รวบรวมเครื่องจักรและระบบต่างๆ ที่สำคัญในการต่อยอดงานต้นแบบด้วยการผลิตสินค้าทดลองในตลาดได้ โดยศูนย์จัดตั้งอยู่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตรถนนพระรามที่ 4 ซึ่งใกล้เคียงกับหน่วยงานสถาบัน เครือข่าย อาทิ สถาบันพลาสติก สถาบันสิ่งทอสถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันยานยนต์ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย 

     นอกจากนี้บริเวณรอบๆ ยังมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยการรวมตัวที่เกิดขึ้นจะช่วยเอื้อประโยชน์และความสะดวกต่อการดำเนินงานในบางประเภทได้อย่างมีนัยสำคัญ 

     ดร.พสุ กล่าวว่า ความพร้อมในการเปิดให้บริการ ในขณะนี้ได้ดำเนินกิจกรรมการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ จำนวน 95 ราย ในสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 70 ราย (เพิ่มผลิตภาพด้วยหุ่นยนต์) ชิ้นส่วนอากาศยาน 10 ราย (มาตรฐาน AS9100) และเครื่องมือแพทย์ 15 ราย (ต่อยอดนวัตกรรม) ตลอดจนการเชื่อมโยงนักวิจัยและเตรียมการกับ Global Player (AGP และ MEDIANA) จำนวน 6 รายโดยเบื้องต้นคาดว่าศูนย์ฯ และบริการต่าง ๆ จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2560 และคาดว่าน่าจะพร้อมเปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้

     นอกจากนี้ จากแผนพัฒนาโครงการฯ ในระยะเวลา 5 ปี กสอ.คาดว่าการส่งเสริมจากศูนย์ ITC นั้นจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านบุคลากรรองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพได้อย่างน้อยจำนวน 14,000 คน สามารถนำเอาความรู้ไปพัฒนาองค์กรของตนให้เข้าสู่อุตสาหกรรมศักยภาพใหม่ได้ร้อยละ 40 มีการพัฒนาสถานประกอบการได้อย่างน้อย 430 กิจการ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นระบบ Digital ได้ร้อยละ 80 และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1,720 ล้านบาท หรือประมาณ 4 ล้านบาทต่อ กิจการและสามารถพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 125 ผลิตภัณฑ์ และต่อยอดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้กว่า 250 ล้านบาท รวมถึงเกิดความร่วมมือในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการจากหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ในการสนับสนุนการวิจัย ฯลฯ

     อย่างไรก็ดี ศูนย์ ITC ยังได้ใช้งบประมาณบางส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี 2560 ในการเตรียมความพร้อมสถานประกอบการเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (Pre-Transformation) และเพื่อผลิตชิ้นงานต้นแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดได้ในทางอุตสาหกรรมภายใต้งบประมาณ 153.4 ล้านบาทไปส่วนหนึ่งแล้ว โดยได้แบ่งใช้ในการพัฒนาในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและขนส่งระบบราง อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรมและไบโอพลาสติก โดยเบื้องต้นได้เกิดชิ้นงานและตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์แล้ว อาทิ OXYGEN HOOD - อุปกรณ์การให้ออกซิเจนชนิดครอบศีรษะ,Cancer Mask – หน้ากากยึดจับสำหรับผู้ป่ วยมะเร็ง, Spacer-อุปกรณ์ช่วยพ่นยาโรคหอบหืดColostomy Bag - ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายทวารเทียม, Flat Feet Insole แผ่นรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเท้าแบน เป็นต้น

    สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-367-8100 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน