ธพว.จับมือ 4 พันธมิตร เสริมแกร่ง SME สร้างโอกาสยุคดิจิตอล




    ธพว. จับมือ 4 พันธมิตร พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs สร้างโอกาสยุคดิจิตอล สอดรับนโยบาย Local Economy ด้วยเทคโนโลยีระบบ ERP ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 พร้อมผลักดัน SMEs เตรียมรับมือมาตรฐานบัญชีใหม่ หนุนยื่นกู้จากสถาบันการเงินตามเกณฑ์รายได้ ดีเดย์ 1 ต.ค. 2561

     ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จับมือพันธมิตร 4 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) และ Intelligent Enterprise Consulting (IEC) เปิดตัววโครงการ “การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” 

     พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อร่วมกันผลักดันส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในการสร้างโอกาสทางการตลาด การปรับตัวธุรกิจสู่ระบบยุคเศรษฐกิจดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ERP บนระบบ Cloud Internet ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ SMEs เตรียมรับมือมาตรฐานบัญชีใหม่ หนุนยื่นกู้จากสถาบันการเงินตามเกณฑ์รายได้ ดีเดย์ 1 ต.ค. 2561 เสริมอาวุธให้แข็งแกร่ง ติดปีกก้าวไปสู่ตลาด CLMV และยังสนับสนุนผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ข้อ 1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ข้อ 2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และข้อ 4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

     ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า อุบลราชธานี ถือเป็นศูนย์กลางภูมิภาคในการเชื่อมโยงและการระดมความร่วมมือการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกและนำเข้าเพื่อพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล (Local Economy 4.0 Hub Support Rescue Network Center) ร่วมผลักดันให้ผู้ประการเข้าสู่มาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนขยายโอกาส ค้าขายไปยังตลาดเพื่อนบ้าน CLMV สร้างเป็นห่วงโซ่การผลิต การเอื้อหนุนอุตสาหกรรมและแลกเปลี่ยน วัตถุดิบ การแปรรูป ยกระดับการสร้างมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น 

     นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ได้ร่วมกันมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ได้พัฒนาธุรกิจของตนเอง เติมศักยภาพด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของธนาคาร (SME Development Bank) ที่นอกจากการสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและยังต้องเติมเต็มความรู้ให้แข็งแกร่งทุกมิติ อาทิ เข้าสู่ระบบมาตรฐานบัญชี และระบบเทคโนโลยีแบบครบวงจร โดย ธพว. จะดำเนินการเป็นตัวกลางในการนำเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึง เช่น การอบรมให้ความรู้ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Workshop เพื่อรองรับธุรกิจ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเงินให้มีเสถียรภาพ พร้อมเติมเต็มเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อาทิ “สินเชื่อ SMEs Transformation Loan”  สนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ยุคอุตสาหกรรม4.0 วงเงิน 15,000 ล้านบาท วงเงินขอสินเชื่อได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี นอกจากนี้ กรณีกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถใช้ บสย.ค้ำประกันได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ 

     "สินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน" วงเงิน 7,500 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดา กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคล กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมนาน 7 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ใช้ บสย.ค้ำประกัน) ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.5 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.0 ต่อปี (กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ของธนาคาร) และ “โครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ” โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท  อัตราดอกเบี้ย 1% ตลอดอายุสัญญา  ระยะเวลาชำระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ใน 3 ปีแรก   ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย และ 75% ขึ้นไปจะเป็นวงเงินกู้ไม่เกิน  3 ล้านบาทต่อราย  เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล ธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด

     นายดนุชา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP โดยที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุน SME แล้วไม่น้อยกว่า 7,000 ราย ในการดำเนินงาน ITAP สรรหาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถตรงกับโจทย์และความต้องการของ SME แต่ละราย เพื่อมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ทำโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม ในความร่วมมือครั้งนี้ โปรแกรม ITAP จะให้สนับสนุน SME ที่ต้องการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม รวมทั้งมีเงินทุนสนับสนุนให้บางส่วน เพื่อจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และจะเชื่อมโยงในการสร้างขีดความสามารถการทำวิจัย และการพัฒนาของอุตสาหกรรมไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน

     นางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ  บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับเป็นต้นแบบที่ดีแห่งการบูรณาการการขับเคลื่อน SMEs โดย บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) จะเปิดบริการให้ใช้ระบบ Cloud Solution ฟรี แก่บริษัทที่ได้มาตรฐานในการให้บริการและการยกระดับเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ โดยมีฐานข้อมูลระบบ Cloud Solution ที่ประเทศไทย สำหรับเชื่อมโยงการพัฒนาระบบต่าง ๆ เป็นบริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถนำข้อมูล ฐานลูกค้าที่เป็นประโยชน์ไปใช้ วิเคราะห์ พัฒนาหรือเชื่อมโยงให้เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจของตัวเอง

     นางปรัชนันทน์  โภควณิชกุลพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท  อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนซัลติ้ง จำกัด (IEC) กล่าวว่า   มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม โดยบริษัท อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนซัลติ้ง จำกัด (IEC) เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไทยและธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกด้วยการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว (Real Time) พร้อมรายงานการวิเคราะห์ข้อมูล โดยบริษัทมีระบบบริหารคลัง (YuuAccount) ระบบวางแผนการผลิต (YuuProduction) ระบบเครื่องชั่ง online  (YuuScale) ระบบขนส่ง (YuuLogistic) ระบบควบคุมคุณภาพและตรวจสอบย้อนหลัง (Yuu QC) ระบบควบคุมการเบิกใช้อะไหล่ (YuuService) ระบบส่งยอดขายฝาก (YuuPC) และ ระบบขายหน้าร้าน (YuuPOS)  ทั้งนี้ บริษัทได้นำเสนอ ให้ผู้ประกอบการสามารถทดลองใช้บริการระบบฟรี 3 เดือน ทั้ง Software และพื้นที่  ( On Cloud ) พร้อมการอบรม และ Call service หลังจาก 3 เดือนจะได้รับราคาพิเศษ ในการใช้บริการจริง เพื่อผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศบนระบบ Cloud Internet 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน