ธุรกิจอาหารยุค 4.0 ปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ตรงใจผู้บริโภค





           สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โดย โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) สถาบันวิจัยฟรอนโฮเฟอร์ ประเทศเยอรมนี และ บริษัท สตราทีจิคอินเตอร์คอม  ร่วมกันจัดการประชุมสมัชชานวัตกรรมทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย - ยุโรป " ครั้งที่ 5 (5th ASIAN-EUROPEAN BUSINESS INNOVATION CONGRESS) และนำผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมเมืองนวัตกรรมอาหาร ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย



           โดยดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมเป็นฐาน หรือ ไทยแลนด์ 4.0 โดยต้องเพิ่มทักษะให้กับทรัพยากรบุคคล ตลอดจนผู้ประกอบการให้เป็น smart entrepreneur or smart SMEs นอกจากนี้รัฐบาลยังได้พยายามปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อให้ทันต่อกระแสโลก ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อหลายโครงการ รวมถึงเมืองนวัตกรรมอาหาร ซึ่งเกิดจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของทั้งภาครัฐและเอกชน



           ขณะที่วิทยากรจากภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองอย่างน่าสนใจ โดย มร.อเล็กซานเดอร์  ซามูเอล หัวหน้างานด้านอาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน บริษัทซีเมนส์ ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารมีการปรับเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้เป็นยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน สามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์กระบวนการขั้นตอนในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มให้มีความหลากหลาย สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการออกแบบส่วนผสม จนถึงภาชนะบรรจุ และการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของแต่ผู้บริโภคแต่ละบุคคล เช่น สามารถตอบได้ว่าส่วนผสมในอาหารทำมาจากอะไร



           มร.แมทธิว ก็อตเฟรย์ จากบริษัทนิวทริเชียล อินโนเวชั่น ฟู้ด กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการความเป็นธรรมชาติของผลิตภัณฑ์มากขึ้น การวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนส่วนใหญ่เป็นโรคและสุขภาพไม่ดีส่วนหนึ่งเกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ การบริโภค เกลือ น้ำตาล ไขมัน เกินความจำเป็น จึงทำให้เกิดกระแสการกินผักและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารโดยลดปริมาณน้ำตาล เกลือ ไขมัน ในอาหารลง ผู้ประกอบการด้านอาหารก็ต้องปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทฯ เองได้เปิดสถาบันวิจัยรสชาติอาหารขึ้นเพื่อตอบโจทย์เอสเอ็มอี ที่ไม่สามารถจัดการปัญหาเองได้ทั้งหมด



           ด้าน ซินดี้ อู ผุ้อำนวยการภูมิภาคด้านกฎหมายและวิทยาศาสตร์ บริษัทดูปองท์ กล่าวว่า กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการต้องมีจิตสำนึกในการใช้วัตถุดิบและส่วนผสมในอาหาร ในส่วนของบริษัทดูปองท์เองมีส่วนของ อาหารปลอดภัย มีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านอาหารปลอดภัยเพื่อสร้างความตระหนักให้เข้าไปอยู่ในจิตสำนึก



           ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาเช่น ค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ความต้องการอาหารของต่างชาติ เช่น ยุโรป ทำให้ไทยต้องเจอกับปัญหามาตรฐานการส่งออก การสร้างเมืองนวัตกรรมอาหารขึ้นมา วัตถุประสงค์หนึ่งคือ เพื่อการทำให้ผู้ประกอบการไทยนั้นยังคงสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก สามารถทำให้การผลิตภัณฑ์อาหารตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกได้ด้วย และสิ่งที่ต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันคือ บุคลากรทางด้านอาหารที่มีความสามารถสูง 



           นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเป็นฐานรากให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารก็นับเป็นสิ่งสำคัญ เมืองนวัตกรรมอาหารจึงเลือกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่จัดตั้ง เนื่องจากมีความพร้อม และในอนาคตอันใกล้ก็จะขยายไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคอาเซียน และผลจากการที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้จัดประชุมการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอาหารในครั้งนี้ ก็เป็นการปักหมุดความเป็น ศูนย์กลางเครือข่ายวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในระดับอาเซียน 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน