มาแน่! เลานจ์และฟิตเนสกลางอากาศ คอนเซปต์เครื่องบินโดยสารอนาคต

Text: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์





 
Main Idea

 
  • คงจะเป็นเรื่องดีหากการเดินทางในเที่ยวบินไกลๆ ผู้โดยสารจะสามารถผ่อนคลายอิริยาบถด้วยการเล่นโยคะยืดกล้ามเนื้อ จิบค็อกเทล ฯลฯ
 
  • เพราะการบริการที่เลิศย่อมสร้างประสบการณ์ที่เยี่ยม ดีไซเนอร์ระดับแนวหน้าทำงานให้กับ บริษัทออกแบบและตกแต่งภายในอากาศยาน (เครื่องบิน) ชั้นนำของอังกฤษมองว่าในการโดยสารเครื่องบิน มนุษย์ไม่ควรต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลายาวนานอีกต่อไป




     อุตสาหกรรมการบินเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง นอกจากราคาค่าโดยสารแล้ว สิ่งที่จะทำให้สายการบินนั้นได้รับการยกย่องว่าเหนือระดับกว่าคู่แข่งคือเรื่องของบริการ ด้วยเล็งเห็นว่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเที่ยวบิน Ultra-long-haul flights เที่ยวบินระยะไกลที่บินนานเกิน 12 ชั่วโมงได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น รอส เบิร์นส ดีไซเนอร์ระดับแนวหน้าผู้ทำงานให้กับเอไอเอ็ม อัลติจูด บริษัทออกแบบและตกแต่งภายในอากาศยาน (เครื่องบิน) ชั้นนำของอังกฤษมองว่าในการโดยสารเครื่องบิน มนุษย์ไม่ควรต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลายาวนานเช่นนั้น





     รอสจึงเกิดความคิดคงจะเป็นเรื่องดีหากการเดินทางในเที่ยวบินไกลๆ ผู้โดยสารจะสามารถผ่อนคลายอิริยาบถ เช่น ได้เล่นโยคะยืดกล้ามเนื้อ ได้จิบค็อกเทล หรือรับประทานอาหารในบรรยากาศคล้ายเลานจ์ ได้เดินไปซื้อเครื่องดื่มและอาหารพร้อมทานแบบง่ายๆ เช่นแซนด์วิช ฮอทด็อกรวมถึงขนมขบเคี้ยวต่างๆ หรือมีพื้นที่ให้นั่งพิมพ์งานแบบสบายๆ เหมือน co-working space แทนที่จะนั่งจับเจ่าในที่ที่จำกัดนาน 12-20 ชั่วโมง





     เมื่อคิดได้เช่นนั้น รอสจึงลงมือออกแบบโครงการที่เรียกว่า “Ultraflex” โดยใช้เวลานาน 10 เดือน และได้นำเสนอโปรเจกต์นี้ในงาน Airplane Interiors Expo (AIX) ประจำปี 2019 ที่จัดขึ้นที่เมืองฮัมบวร์ก เยอรมนี “Ultraflex” จะเป็นพื้นที่บนเครื่องบินโดยสารที่ออกแบบให้เป็นทั้งฟิตเนส บาร์ ร้านค้า ร้านอาหาร และห้องประชุม โดยทางเอไอเอ็ม อัลติจูดได้จำลองพื้นที่ให้เห็นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับสายการบิน และผู้โดยสาร
                 




     ภาพที่จำลองให้เห็นคือเมื่อย่างก้าวเข้าไปใน “Ultraflex” ที่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่ผ่อนคลายอิริยาบถ และพูดคุยระหว่างผู้โดยสารด้วยกัน มีร้านค้าเล็กๆ ให้ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม มีบาร์ขนาดจิ๋วที่เวลาเปิดปิดแล้วแต่ระยะทางบิน มีพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ ให้หลบมุมดินเนอร์ มีที่สำหรับเล่นโยคะเพื่อเหยียดยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น





     “Ultraflex” ออกแบบมาให้เป็นพื้นที่เอนกประสงค์ เก้าอี้ในพื้นที่สามารถกางและพับเก็บได้ในกรณีที่ต้องการใช้พื้นที่มากขึ้น ที่ผ่านมา พื้นที่เดียวที่ผู้โดยสารจะยืดแข้งขาและเปลี่ยนอิริยาบถได้คือบริเวณทางเดินซึ่งไม่เป็นส่วนตัวนัก แต่การทำกิจกรรมใน “Ultraflex” จะทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น นอกจากนี้ในการออกแบบยังพิถีพิถันไปถึงการติดตั้งลูกกลิ้งที่พื้นใกล้เก้าอี้นั่งเพื่อนวดเท้าให้เลือดไหลเวียนดีขณะนั่งที่เก้าอี้อีกด้วย





     ทั้งนี้ เอไอเอ็ม อัลติจูดกำลังอยู่ระหว่างนำเสนอแนวคิด “Ultraflex”ไปยังสายการบินต่างๆ แต่จะมีการตอบรับมากน้อยแค่ไหนยังบอกไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ แนวคิด “Ultraflex”ได้ผ่านการพิจารณาเพื่อเข้าประกวดในรางวัล Crystal Cabin Awards ประจำปีนี้ และได้รับความสนใจจากผู้ร่วมชมงาน AIX จำนวนมาก รอส เบิร์นส เจ้าของไอเดียและผู้ออกแบบ “Ultraflex” กล่าวว่าเป็นการนำเสนอแนวคิดไปยังสายการบิน และทางเลือกอื่นที่นอกเหนือไปจากการนั่งนิ่งๆ ในที่นั่งของตัวของผู้โดยสาร ผู้โดยสารต้องการผ่อนคลายอิริยาบถและเขาเชื่อว่าโครงการนี้เหมาะสมอย่างมากกับเที่ยวบินระยะไกล

 
อ้างอิง : https://edition.cnn.com/travel/article/ultraflex-cabin-concept-aim-altitude/index.html


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร