ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ยุคใหม่ถึงห่างไกล R&D



Main Idea
 
  • หากพูดถึงเรื่องของการวิจัยและพัฒนา ผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน ไม่รู้ว่าจะเข้าถึงการวิจัยต่างๆ ได้อย่างไร ไหนจะเรื่องของเงินลงทุนอีก
 
  • ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทำธุรกิจแบบห่างไกล R&D โดยทำเท่าที่ตัวเองทำได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว การทำ R&D คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้




     หากพูดถึงเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ผู้ประกอบการหลายรายอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน ไม่รู้ว่าจะเข้าถึงการวิจัยต่างๆ ได้อย่างไร ไหนจะเรื่องของเงินลงทุน ที่ต้องใช้จำนวนไม่น้อย ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกทำธุรกิจแบบห่างไกล R&D โดยทำเท่าที่ตัวเองทำได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว การทำ R&D คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้
               

     แต่มีผู้ประกอบการไทยเพียงแค่ 0.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ลงมือทำ R&D นับว่าเป็นจำนวนที่น้อยมากหากเทียบกับปริมาณของธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย และวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไม SME ยุคใหม่ถึงยังห่างไกลจาก R&D แล้วจะทำอย่างไรที่จะทุบกำแพงทิ้งเพื่อให้เรื่องการทำวิจัยและพัฒนากลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับ SME มากขึ้น
               




     จากข้อมูลงานวิจัยของ Krungthai Macro Research เรื่อง “SMEs… ทำ R&D ไม่เดียวดาย” ได้มองเห็นความสำคัญของการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้ แม้แต่ธุรกิจ SME ขนาดเล็กก็สามารถทำ R&D จนประสบความสำเร็จเทียบเท่าธุรกิจขนาดใหญ่ได้เช่นเดียวกัน
 
  • การทำ R&D ดีอย่างไร?
  1. ช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่าง

     ยุคนี้ธุรกิจมีการแข่งขันที่สูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มักจะขายสินค้าที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคยังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น การพัฒนาสินค้าให้มีความสดใหม่อยู่เสมอเพื่อเข้ากับเทรนด์และความต้องการของผู้คนในปัจจุบันจะช่วยให้ธุรกิจสร้างกำไร สร้างสินค้าที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งได้
 
  1. เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

     จากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่าแม้บริษัทจะมีการลงทุนด้าน R&D ไม่มากนัก แต่หากสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ตรงจุดและรวดเร็ว ก็สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน R&D ได้สูงถึง 6 -23 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนของไทย มีงานวิจัยที่พบว่าโรงงานที่มีการทำ R&D มีประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงกว่าโรงงานที่ไม่ได้ทำ R&D ด้วย



 
  1. ทำให้ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืน

     การทำ R&D อาจไม่ได้ทำให้ธุรกิจมียอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลก็จริง แต่ก็ช่วยให้ธุรกิจอยู่ในวงจรความต้องการของลูกค้าอยู่เรื่อยๆ  โดยมีงานศึกษาหลายงานในต่างประเทศที่พบว่าการมีนวัตกรรมช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้นานขึ้น
 
  • ข้อกังวลยอดฮิตในการทำ R&D
  1. ขาดบุคลากรและเครื่องมือ

     เหตุผลยอดฮิตที่ทำให้หลายธุรกิจตัดสินใจไม่ทำ R&D นั่นคือเรื่องของบุคลากรและเครื่องมือ โดยจำนวน 44 เปอร์เซ็นต์ของ SME บอกว่าพวกเขามีปัญหาดังกล่าว
ทางแก้ : สำหรับ SME ที่ขาดบุคลากรและเครื่องมืออาจต้องหันหน้าพึ่งพาหน่วยงานที่พร้อมให้บริการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1.สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยภาครัฐ 2.ศูนย์วิจัยเฉพาะอุตสาหกรรม 3.ศูนย์วิจัยจากหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยหน่วยงานเหล่านี้สามารถสนับสนุน SME ได้หลายอย่างตั้งแต่การให้คำปรึกษา ให้ใช้เครื่องมือ ทีมวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี จนถึงเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาสินค้า





 
  1. ขาดข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและงานวิจัย

     สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ยอมทำ R&D อาจเพราะพวกเขารู้สึกว่าตนเองไม่มีความรู้ด้านนี้ ไม่มีข้อมูลด้านเทคโนโลยี เลยทำให้เขาคิดว่าการทำ R&D เป็นเรื่องไกลตัว
ทางแก้ : นี่คือยุคแห่งข้อมูล ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย หากว่าคุณอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีก็สามารถติดตามผลงานวิจัยใหม่ๆ ได้ทั้งแบบ Offline หรือช่องทาง Online ได้ง่ายๆ โดยในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สนับสนุนการจัดทำนวัตกรรม เช่น สวทช. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หรือ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
 
  1. ไม่มีต้นทุน

     มี SME จำนวนมากที่ไม่มีต้นทุนสำหรับการทำวิจัย อีกทั้งต้นทุนการทำ R&D ยังค่อนข้างสูง เรื่องของต้นทุนจึงเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ประกอบการ SME
ทางแก้ : SME ที่ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอ ก็สามารถขอรับการสนับสนุนจากโครงการสินเชื่อพิเศษสำหรับการทำ R&D จากสถาบันการเงินชั้นนำได้ แต่หาก SME รายใดที่มีไอเดียนวัตกรรมสร้างสรรค์ และต้องการเงินสนับสนุน ก็สามารถยื่นขอเงินทุนให้เปล่าเพิ่มเติมจากโครงการ 4 ประเภท จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้  เช่น โครงการ ITAP หรือ IRTC ที่ช่วยสนับสนุนทั้งเงินทุนและส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลการทำ R&D ในขณะที่บางโครงการจะให้ทุนสนับสนุนในการนำงานวิจัยจากสถาบันวิจัยภาครัฐมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์เช่น Research Gap Fund เป็นต้น
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน