‘อาณาจักรกาแฟดอยช้าง’ จากแหล่งปลูกฝิ่นสู่ผู้ผลิตกาแฟที่ดีที่สุดในโลก




Main Idea
 
  • ดอยช้าง ในสมัยก่อนคือแหล่งปลูกฝิ่นจนกระทั่งได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่น โลกของพวกเขาก็เปลี่ยนไป ทว่าด้วยความไม่มีเงินทุน ปลูกกาแฟแล้วไม่รู้จะไปขายที่ไหน เลยเป็นอุปสรรคสำหรับชาวดอยช้างในตอนนั้น
 
  • บสย. คือหนึ่งในแรงสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ชาวดอยช้างสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมทั้งมีเครื่องคั่วกาแฟตัวแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ “กาแฟดอยช้าง” ซึ่งกลายเป็นผู้ผลิตกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา



     หากย้อนกลับไป “ดอยช้าง” จังหวัดเชียงราย ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2512 คุณคงได้เห็นว่าชาวบ้าน ณ ตอนนั้นปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลัก ผู้คนบนดอยยังคงไร้สัญชาติ ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก จนกระทั่งได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่น ชีวิตของพวกเขาก็เปลี่ยนไป





      ปณชัย พิสัยเลิศ
 กรรมการผู้จัดการ บริษัทดอยช้างคอฟฟี่ออริจินอล จำกัด ได้เล่าว่า ตัวเขาเองเป็นชนเผ่าอาข่า เกิดและเติบโตบนดอยช้าง โดยบรรพบุรุษของเขาและคนในชุมชนนั้นเคยปลูกฝิ่นเป็นอาชีพมาก่อน จนกระทั่งได้รับการส่งเสริมให้คนบนดอยปลูกกาแฟ ทว่าด้วยความยากลำบากในการเดินทางจึงไม่สามารถนำกาแฟที่มีไปขายได้หรือแม้แต่จะผลิตกาแฟให้มีคุณภาพดี มีมาตรฐานก็เป็นไปได้ยากเช่นกันเพราะไม่มีเงินทุนมาสนับสนุนเรื่องของเครื่องจักรในการผลิต


     “เมื่อก่อนเราปลูกกาแฟแต่ไม่สามารถเอาลงไปขายได้ ทุกคนบอกว่าติดรถของคนอื่นสิ แค่ไม่มีเงิน แต่พวกเรานี่คือไม่ใช่แค่ไม่มีเงินอย่างเดียวนะ สัญชาติก็ไม่มี นี่คือความลำบาก การไม่สามารถไปไหนมาไหนได้เป็นอุปสรรคกับเรามาก มีช่วงหนึ่งที่เราเอากาแฟไปขาย เสร็จแล้ว เรากลับมา ตัดต้นกาแฟทิ้ง ถามว่าทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะว่าช่วงนั้นมันปลูกแล้วไม่มีที่ขาย ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คุณภาพดี พอเราเผาเพื่อที่จะกลับมาปลูกฝิ่น ปรากฏว่ากาแฟไม่ยอมตาย ต้นกาแฟที่ปลูกอยู่มันแตกหน่อมาใหม่ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้น” เขาเล่า





     จากอาชีพปลูกฝิ่นและการเป็นคนไร้สัญชาติของชาวดอยช้าง สู่คำมั่นสัญญาครั้งใหม่ว่าอยากจะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวดอยช้างให้ดีขึ้น นี่คือจุดเริ่มต้นของผู้ผลิตกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


      “หลังจากนั้น เรารวบรวมพี่น้องเกษตรกรด้วยเป้าหมายของเราที่อยากให้ทุกคนอยู่ดี กินดี เราอยากให้เขามีความมั่นคงในชีวิต จึงเริ่มต้นทำ แต่มันไม่ง่ายเลย เพราะพื้นที่ที่เราอยู่ ไม่มีโฉนด ไม่สามารถขออะไรจากทางราชการได้เลย แหล่งเงินทุนก็ไม่มี เราไม่มีอะไรเลยแม้แต่เครื่องจักรที่เราต้องการในการผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพก็ไม่มีแต่ด้วยความโชคดีนั่นคือสิ่งที่พระองค์ท่านมอบให้ เราคงมาไม่ถึงตรงนี้ถ้าไม่มีกาแฟสายพันธุ์ที่ดีที่สุดซึ่งมาอยู่ที่ดอยช้าง เราไม่รู้ว่ามันดีอย่างไร แต่พอเราส่งไปให้เพื่อนชิม ไม่ว่าเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เขาบอกว่ากาแฟตัวนี้หายไป 40-50 ปีแล้วนะ คุณภาพอย่างนี้ กาแฟที่ดีแบบนี้ เรามั่นใจเลยว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่จะมอบให้พี่น้องบนดอยช้างและดอยอื่นๆ”

               



      สิ่งสำคัญในช่วงเริ่มต้นคือเงินลงทุนและแรงหนุนที่จะช่วยผลักดันให้พวกเขาสานฝันของตัวเองให้เป็นจริงได้ โดยบสย. หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม คือแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ชาวดอยช้างเริ่มต้นก้าวแรกของตนเองได้
               




      “ด้วยความโชคดี ในช่วงปี 2545-2546 บสย. ได้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องเครื่องจักร อย่างเครื่องคั่วกาแฟตัวแรก ฉะนั้น บสย. เขาเข้ามาช่วยตั้งแต่เริ่มต้น อันนี้คือจุดเปลี่ยนวิถีของคนบนดอยช้างและดอยอื่นๆ มันเป็นสิ่งที่เรียกว่าจุดประกาย มันเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นกาแฟของดอยช้างก็กลายเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ ถ้าไม่มีบสย. เราก็ไม่รู้ว่าจะมาถึงจุดนี้ได้หรือเปล่า ผมว่าเมืองไทยก็ยังไม่มีใครรู้จักว่ากาแฟดีตัวหนึ่งของโลกอยู่ในประเทศไทย บนดอยช้าง มัน  มหาศาลมากสำหรับสิ่งที่บสย. เข้ามาช่วยพวกเรา”

               



       คำว่ากาแฟสำหรับคุณ มันอาจเป็นแค่เครื่องดื่มที่ช่วยคลายความง่วงในยามเช้า แต่สำหรับคนบนดอยช้าง กาแฟคืออาชีพ คือลมหายใจ คือสิ่งที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
               

       “ชีวิตเรามันเป็นสายเลือด หายใจเข้าออกคือกาแฟ เย็นก็อยู่กับกาแฟ เช้าก็อยู่กับกาแฟ วิถีชีวิตวันๆ มีแต่กาแฟ ผมว่าเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก อย่างพี่น้องที่นี่เขารู้สึกว่ามีศักดิ์ศรีในตัวของเอง รู้สึกว่าตัวเองเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เขาหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ พี่น้อง 3 ชนเผ่า ไม่มีใครรู้สึกว่าฉันเป็นเผ่านี้ เผ่านั้น แต่ความรู้สึกคือรัก มีความรู้สึกว่าเขาคือคนไทย นั่นคือสิ่งที่เรามองเห็น จากการที่ปลูกกาแฟขายและมีรายได้เข้ามา วิถีชีวิตของคนที่นี่คือดีขึ้น เราภาคภูมิใจมาก” เขาบอกในตอนท้าย
 

     เพราะความฝันอย่างเดียวคงไม่อาจทำให้เราทุกคนไปถึงฝั่งฝันได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน การหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันรวมถึงแรงหนุนที่สำคัญในช่วงเริ่มต้นด้วย ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการคนหนึ่งที่กำลังต่อสู้ให้ถึงฝันสามารถปรึกษาหมอหนี้ บสย. โทร: 02-890-9999 Line : @doctor.tcg หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40ayt9598b
 

       รับชมแรงบันดาลใจเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/228821910512147/posts/2805479976179648/
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​