Facebook ใจดีรับซื้อใบแจ้งหนี้ จ่ายเงินให้ SME ไปหมุนก่อน กลยุทธ์มัดใจ ลูกค้าของเจ้าพ่อโซเชียล




         ไม่มีวิกฤตครั้งไหนที่ยาวนานเท่าครั้งนี้ ธุรกิจโดยเฉพาะ SME กำลังประสบปัญหากระแสเงินสดขาดสภาพคล่อง เพราะค้าขายทำรายได้ไม่มากเท่าช่วงเวลาปกติ แต่รายจ่ายกลับคงที่หรือมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ และบางทีวางบิลลูกค้าไป ก็ใช่จะได้เงินมาทันที ต้องติดเครดิตเทอมตั้งแต่ 15 วันไปจนถึง 60 วันเลยทีเดียว แถมบางทีถูกเบี้ยวหนี้ซะอย่างนั้น
               

          Facebook เองก็ได้ยินว่าซัพพลายเออร์ของบริษัทกำลังดิ้นรนต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 มากแค่ไหน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Facebook จึงมองหาวิธีที่จะสามารถช่วยซัพพลายเออร์ของธุรกิจตัวเอง และเริ่มต้นทดลองโปรแกรม Facebook Invoice Fast Track ซื้อใบแจ้งหนี้ที่ค้างชำระจากธุรกิจเหล่านั้นเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ธุรกิจสามารถส่งใบแจ้งหนี้คงค้างขั้นต่ำ 1,000 ดอลลาร์มาให้ Facebook ซึ่งเมื่อพิจารณารับซื้อแล้วจะได้รับการชำระเงินภายในไม่กี่วัน แล้วหลังจากนั้นลูกค้าจะชำระหนี้ที่ค้างอยู่ให้กับ Facebook แทน โดยเบื้องต้นจะมีค่าธรรมเนียมเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าใบแจ้งหนี้




                
          วิธีนี้จะทำให้เงินไปอยู่ในมือของ SME เร็วขึ้น และ Facebook จะเป็นผู้รับความเสี่ยงที่ต้องรอเงินจำนวนนั้นไว้เอง เพราะสำหรับธุรกิจใหญ่ที่สร้างรายได้เกือบ 86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 การรอชำระเงินนั้นเป็นเรื่องเลวร้ายน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดเล็ก


        หลังจากที่ทดลองใช้โปรแกรมนี้กับซัพพลายเออร์ของตัวเองแล้วประสบความสำเร็จอย่างมาก ตอนนี้ Facebook กำลังขยายโปรแกรมด้วยวงเงินสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 30,000 แห่ง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีเจ้าของเป็นผู้หญิง LGBTQ+ ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ ทหารผ่านศึกของกองทัพสหรัฐฯ หรือคนพิการ



 
               

         หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านโปรแกรมนี้ ก็คือ Lisa Dunnigan ผู้ร่วมก่อตั้ง The Wright Stuff Chics ซึ่งทำธุรกิจขายสื่อการสอนและการจัดประชุมให้กับครูอาจารย์ สถานการณ์โควิดบีบคั้นให้ Dunnigan ต้องยกเลิกกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้น แล้วหันไปจัดการประชุมเสมือนจริงแทน แต่ลูกค้าหลายคนชำระเงินด้วยคำสั่งซื้อที่ใช้เวลานานมากในการชำระ Dunnigan จึงส่งใบสมัครไปที่ Facebook และได้รับเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในไม่กี่วันหลังจากนั้น และนั่นไม่ใช่ครั้งเดียว เธอสมัครเข้าร่วมโปรแกรมอีกหลายครั้ง
 
               

          โปรแกรมนี้เป็นความพยายามของ Facebook ในการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก เพราะกลุ่มนี้ล่ะที่เป็นผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการโฆษณาและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของพวกเขา
 

          ที่มา : www.cnbc.com





                 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน