ขยายกิจการยังไงให้โต น้ำปลาร้าตำมั่ว สูตรต่อยอดธุรกิจให้ยั่งยืนแบบ ZEN

 

 

     ทำธุรกิจใครก็อยากเติบโต แต่จะโตแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เหมือนกับ ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านอาหารตำมั่ว ที่เปิดเผยว่าการขยายกิจการสู่ผู้ผลิตเจ้าของแบรนด์น้ำปลาร้าตำมั่ว นั้นส่วนหนึ่งมาจากวิกฤตโควิดทำให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนด้วยเช่นกัน

     เมื่อมีตัวเร่งมาช่วยกระตุ้น แต่ผู้บริหาร ตำมั่ว” ร้านอาหารไทย - อีสาน เจ้าของสโลแกน “อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ” ที่มีสาขามากถึง 120 สาขาทั่วประเทศ ก็ไม่ได้ผลีผลามแบบสุกเอาเผากิน เพราะเขาตระหนักดีว่า

     “ผมอยากสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน ค่อยๆ สร้างไป ไม่เน้นความหวือหวา แต่อยากให้เป็นความจำเป็นที่คนไทยขาดไม่ได้ เหมือนกับตำมั่วอยู่มากว่า 30 ปี”

ยกระดับน้ำปลาร้าสู่เครื่องปรุงคู่ครัวไทย

      ต้องบอกว่าน้ำปลาร้าถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาโดยเฉพาะทางภาคอีสานของประเทศไทยที่ใช้น้ำปลาร้าเป็นเครื่องปรุงในครัว และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่คนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังเมื่อการขายของออนไลน์ได้รับความนิยมในบ้านเราและเหล่าศิลปินคนดังหรือยูทูบเบอร์ที่มีการรีวิวกินส้มตำน้ำปลาร้ายิ่งทำให้น้ำปลาร้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับช่วงโควิดที่ผ่านมาผู้บริโภคไม่สามารถมาทานอาหารที่ร้านได้หันมาทำอาหารทานเองที่บ้านมากขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำปลาร้าในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

      “แต่ที่ผ่านมาน้ำปลาร้ามักถูกโจมดีในเรื่องความสะอาด น้ำปลาร้าก็คล้ายๆ น้ำปลาไปอยู่บ้านใครแล้วไม่ค่อยเปลี่ยนยี่ห้อ ถ้ารุ่นแม่ใช้แล้วก็มักใช้ไปจนถึงรุ่นลูกหรือรุ่นต่อๆ ไป เรื่องยากสุดคือ ทำอย่างไรให้ขวดแรกที่เขาซื้อไปได้มาตรฐานอย่างที่เขาต้องการ รสชาติมีความสม่ำเสมอ”

     เพื่อให้ได้น้ำปลาร้าที่มีคุณภาพ บริษัทจึงเสริมจุดแข็งโดยได้เข้าไปลงทุนในโรงงานผลิตน้ำปลาร้าชื่อดังกว่า 20 ปีจากจังหวัดมหาสารคามคือ บริษัท เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์ ถึง 51%

      “ต้องบอกว่าเรามีประสบการณ์ขายส้มตำ 30 ปี มี 100 กว่าสาขาในทุกภูมิภาค เราเข้าอกเข้าใจคนกินดีว่าต้องการความสะอาดปลอดภัย ในการผลิตเราจึงใช้โรงงานที่ได้มาตรฐานส่งออก อาทิ มาตรฐาน GMP และ HACCP แล้วเรายังมีประสบการณ์ในการทำปลาร้า รู้แหล่งปลาชั้นดี ขั้นตอนวิธีการหมัก รสชาติหรือกลิ่นแบบไหนที่คนสะดวกใจที่จะทาน น้ำปลาร้าตำมั่วของเราผ่านการทดลองมามากมาย แม้แต่การหมักที่เคยคิดว่าถ้าหมักนานจะดีเหมือนไวน์ แต่จริงๆ มันมีช่วงเวลาที่เหมาะสมของมันต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งปีได้ความนัว”

      นอกจากการผลิตแล้ว บริษัทยังพร้อมรุกตลาดค้าปลีกด้วยการจับมือกับ Durbell บริษัทพันธมิตรที่เข้ามาช่วยกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกว่า 30,000 ร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น

     ศิรุวัฒน์ ยังทิ้งท้ายว่าตลาดน้ำปลาร้ายังโตได้อีกมาก มีร้านส้มตำเกิดขึ้นมากมายทั้งร้านเล็กร้านใหญ่ ดังนั้นน้ำปลาร้าก็ต้องเติบโตตาม ปัจจุบันทางบริษัทได้ผลิตน้ำปลาร้าตำมั่วออกมาทั้งหมด 4 สูตรคือสูตรดั้งเดิม เหมาะสำหรับทำแกงหรือน้ำพริก สูตรแม่น้อยสำหรับใช้ใส่ส้มตำ สูตรเข้มข้นและสูตรกัญชา

     “ปีนี้น่าจะจบรายได้อยู่ที่ 200-300 ล้านบาทเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เราเพิ่งควบรวบกิจการกับโรงงานมาได้ปีเดียว แต่เราได้พาร์ตเนอร์ Durbell มาช่วยกระจายสินค้า ช่องทางจำหน่ายสินค้าเราเข้มแข็งมากขึ้น ลงไปถึงรากหญ้า ถือว่าโตเกินเป้าที่ตั้งไว้ แต่เรายังมีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น อยากให้ปลาร้าเราเข้าไปอยู่ในทุกครัวเรือน รวมทั้งเป็นสินค้าแบรนด์ไทยพร้อมส่งออกที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทย” ศิรุวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​