รู้จักอาชีพนักนอน สบายจริง? จำเป็นแค่ไหนต่อธุรกิจ?

 

 

     อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากที่จะทำและเป็นที่พูดถึงมากในโลกโซเชียล ตั้งแต่ตอนที่บริษัท Mattress City ประกาศรับสมัครพนักงานแล้ว แต่ในจิตนาการของทุกคน เมื่อพูดถึง อาชีพนักนอน” ก็คงคิดว่ามันดูสบายจัง อยากทำบ้าง คงแค่ไปนอนเฉยๆ หรือเปล่า วันนี้เราก็เลยอยากจะพาทุกคนไปรู้ว่าการทำอาชีพนักนอนต้องทำอะไรบ้าง และทำไมต้องมีอาชีพนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์กับอะไรกัน

 อาชีพนักนอนต้องทำอะไรบ้าง

1.  นอนเพื่อใช้ร่างกายทดสอบผลิตภัณฑ์ที่นอนแต่ละรุ่นของแบรนด์

2. นักนอนจะต้องนอนหงาย ตะแคง คว่ำ ท่าละประมาณ 10 นาที ว่านอนแล้วรู้สึกเมื่อย หรือรู้สึกกดทับตรงไหน จุดไหนอย่างไรบ้าง

3. ศึกษาและวิเคราะห์ชั้นวัสดุของที่นอนอย่างละเอียด เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน

4. เขียนบรรยายสรุปผลการวิเคราะห์ในแต่ละวัน

5. ทำคอนเทนต์รีวิวผลิตภัณฑ์ที่นอนให้น่าสนใจ เพื่อให้คนดูเข้าใจว่าที่ลงทุนซื้อที่นอนดีๆ มีประโยชน์อย่างไร

ข้อเสียของอาชีพนักนอน

  • ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เพราะต้องทำงานในพื้นที่ตามที่บริษัทกำหนด กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 
  • ต้องนอนคนเดียว ตามเวลาที่บริษัทกำหนดและห้ามอดนอนเด็ดขาด ดูเหมือนเรื่องเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับหลายๆ คน เช่น คนที่นอนห้องโรงแรมคนเดียวไม่ได้เพราะกลัวผี
  • ต้องเป็น influencer มีตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต อาจไม่เหมาะกับบางคนที่ไม่ชอบทำงานลักษณะแบบนี้

 

ผู้ที่ไม่เหมาะกับอาชีพนี้

1. คนที่ติดสัตว์เลี้ยงหรือต้องนอนกอดสัตว์เลี้ยง

2. คนที่ชอบนอนเช้าตื่นบ่ายหรือนอนไม่เป็นเวลา

3. คนที่นอนหลับยาก

     ในแง่การทำธุรกิจ วิธีนี้คือการใช้ผู้บริโภคสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างแท้จริงๆ ที่จะส่งผลในแง่ความน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นการเก็บข้อมูลที่ได้จากเหล่านักนอนทั้งหมดรวบรวม และวิเคราะห์ออกมาว่าสินค้ามีข้อบกพร่องตรงไหน เพื่อจะได้นำจุดบกพร่องเหล่านั้นมาปรับปรุงให้ดีขึ้น และเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าจะทำให้สินค้าหรือบริการมีความน่าเชื่อถือ

     และนี่ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าทำไมต้องมีอาชีพนี้ขึ้นมา

    “คุณอาจจะรู้สึกอิจฉางานนักนอน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่งานที่ง่ายและสบายขนาดนั้น”

ที่มา : Sleepermattresscity

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร