ในปัจจุบันเรามักจะเห็นอาหารพร้อมทาน (Ready-to-eat) หลากหลายแบรนด์วางไว้ในตู้แช่แข็ง ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทำให้อาหารพร้อมทานในประเทศในปี 2563 มีมูลค่าประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท และก็ยังมีแนวโน้มโตต่อเนื่องได้อีก
อยากรู้ไหมว่าทำไมอาหารพร้อมทานจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น วันนี้ทาง SME THAILNAD ONLINE จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยกันว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร
แต่ก่อนอื่นเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักอาหารพร้อมทานกันก่อนว่ามีกี่ประเภท ซึ่งอาหารพร้อมทานจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. อาหารพร้อมทานแบบแห้งแบบจัดวางบนชั้น (Dried and Shelf Stable Ready-to-eat Food)
คิดเป็นสัดส่วน 57.1 % ของมูลค่าอาหารพร้อมทานทั้งหมดในประเทศ
สัดส่วนอาหารพร้อมทานแบบแห้งคิดเป็น 98.1 %
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 7 %
- อาหารพร้อมทานแบบจัดวางบนชั้น 9 %
2. อาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็ง (Chilled and Frozen Ready-to-eat Food)
คิดเป็นสัดส่วน 42.9 % ของมูลค่าอาหารพร้อมทานทั้งหมดในประเทศ
- อาหารพร้อมทานแช่เย็น (Chilled Ready-to-eat Food) 1 %
- อาหารพร้อมทานแช่แข็ง (Frozen Ready-to-eat Food) 69.9 %
สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจอาหาร Ready-to-eat ได้รับความนิยม
1. รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป Urbanization หรือความเป็นสังคมเมืองของประเทศไทยขยายเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ประมาณ 50% ของประชากร 70 ล้านคนของประเทศอาศัยอยู่ในเขตเมือง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 72% ภายในปี 2593
2. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนใช้ชีวิตบนความเร่งรีบ ซึ่งต้องการสิ่งที่ช่วยให้เขาใช้ชีวิตง่ายและรวดเร็ว ทำให้อาหารพร้อมทานตอบโจทย์ผู้คนในเมืองเป็นอย่างดี และคนนิยมอยู่คนเดียวหรือครอบครัวเล็กๆ อาหารที่เลือกทานก็เป็นอาหารง่ายๆ
3. การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ผู้คนออกไปทานอาหารข้างนอกไม่ได้ ทำให้ธุรกิจที่ทำอาหารพร้อมทาน (Ready-to-eat) เติบโตมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ธุรกิจอาหารหลายธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
“เพราะการปรับตัวให้เข้ากับทุกยุคสมัย คือกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ
ทุกวันนี้เราจึงได้เห็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารหลายๆ รายได้ปรับตัวหันเข้าสู่ตลาดนี้ โดยมีโควิด-19 เป็นตัวเร่ง ให้แตกไลน์สินค้าเป็นอาหารพร้อมทาน หนึ่งในนั้นคือ ร้านอาหาร “สลัดแฟคทอรี่” ที่ได้แตกไลน์สินค้าทำสลัดพร้อมทานวางขายในซุปเปอร์มาเก็ต หรือแม้แต่ตำมั่ว เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารตำมั่ว ก็ได้หันมาผลิตน้ำปลาร้าตำมั่ว เพื่อสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ได้อีกทางหนึ่ง
6 ปัจจัยหนุนตลาด RTE ในประเทศโตต่อเนื่อง
ไม่แปลกใจที่ธุรกิจหลายๆ รายทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กหันมาจับตลาดนี้เพราะเป็นตลาดที่กำลังเติบโต ในปี 2563 อาหารพร้อมทานมีมูลค่าตลาดในประเทศประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็นอาหารพร้อมทานแบบแห้งและแบบจัดวางบนชั้น 2.5 หมื่นล้านบาทและอาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็งมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยทำให้ตลาดอาหารพร้อมทานเติบโตมาจาก
1. การขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีสาขาจำนวนมากและกระจายไปยังแหล่งชุมชน ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งจำหน่ายได้ง่าย และสะดวกในการรับประทาน
2. การขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตของสังคมเมืองที่เร่งรีบและต้องการความสะดวกสบาย
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายเมนู และหลากหลายสัญชาติ อาทิ อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น อาหารอิตาเลี่ยน
4. คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารพร้อมทานแบบแห้งจึงดึงดูดผู้บริโภค
5. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านรุ่นใหม่ที่เอื้อให้การซื้ออาหารแช่เย็น-แช่แข็งมาบริโภคสะดวกขึ้น เช่น ตู้เย็นสมัยใหม่มีช่องแช่แข็งขนาดใหญ่ และไมโครเวฟมีราคาถูกลง
6. การจัดโปรโมชั่น ส่วนลด ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่จูงใจผู้บริโภค
อนาคตอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน
อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดว่าความต้องการบริโภคอาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็งในประเทศปี 2564 - 2566 จะมีมูลค่าเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 12 - 14 % ต่อปี โดยอาหารพร้อมทานแช่เย็น และอาหารพร้อมทานแช่แข็งจะเติบโตเฉลี่ย 13 - 14 % ต่อปี และ 12 - 13 % ต่อปี ตามลำดับ
โดยในช่วงปี 2564 - 2566 ปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3 - 4 % ต่อปี การส่งออกในช่วงปี 2564 - 2566 คาดว่ามูลค่าจะเติบโตเฉลี่ย 9 - 10 % ต่อปี
อาหารพร้อมทานแช่เย็น - แช่แข็งคาดว่าความต้องการบริโภคในประเทศปี 2564 - 2566 จะมีมูลค่าเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 12 - 14 % ต่อปี โดยอาหารพร้อมทานแช่เย็น และอาหารพร้อมทานแช่แข็งจะเติบโตเฉลี่ย 13 - 14 % ต่อปี และ 12 - 13 % ต่อปี ตามลำดับ ส่วนมูลค่าส่งออกในช่วงปี 2564 - 2566 คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 11 - 12 % ต่อปี
ด้วยตลาดที่มีมูลค่าเป็นหมื่นล้าน ทำให้ตลาดการแข่งขันกันย่อมสูง การปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของอาหารพร้อมทานประเภทอื่น อาทิ อาหารพร้อมทานแบบจัดวางชั้น และอาหารพร้อมทานปรุงสดใหม่ รวมถึงอาหารทดแทนอื่น อาทิ เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ธัญพืชอบกรอบ (ซีเรียล) ที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อาจยังเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันการแข่งขันได้ไม่มากก็น้อย
TEXT : กองบรรณาธิการ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี