ธุรกิจควรไปต่อหรือต้องรีบเปลี่ยน เปิดลิสต์วิธีตรวจสอบ พร้อมเทคนิคปรับตัวให้รอดในช่วงวิกฤต

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

 

    จากบทความก่อนมีหลายท่านสอบถามผมเข้ามาว่า แล้วเราจะต้องปรับตัวเมื่อไหร่ แล้วจะต้องปรับตัวอย่างไร บทความนี้ผมเลยขอมาขยายความมากยิ่งขึ้นครับ

     เมื่อวิกฤตเกิดขึ้นไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก “ธุรกิจที่อยู่รอด คือ ธุรกิจที่ปรับตัวได้” เพราะธุรกิจที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะต้องสูญพันธ์ถูก Disrupt หายไป

Checklist ธุรกิจต้องปรับตัวหรือยัง

     1. Past: Performance

     ผลประกอบการณ์ที่ผ่านมามันเป็นอย่างไร เพราะผลประกอบการเป็นข้อมูลตัวสะท้อนการดำเนินธุรกิจในอดีต เราจะทราบได้ว่าเราในอดีตนั้นทำได้ดีแค่ไหน หรือไม่ดีอย่างไร เราสามารถมองเห็นปัญหาของธุรกิจได้จากข้อมูลเหล่านี้ แต่ก็ต้องพึงระวังว่า “ข้อมูลต้องถูกต้องและรวดเร็ว” เพราะถ้าข้อมูลผิดพลาดการกำหนดกลยุทธ์ก็จะผิดพลาด หรือข้อมูลมาช้าเกินไปการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินการอาจจะล่าช้าไม่ทันการทำให้เสียโอกาสในการแก้เกมส์นั้นๆไป

     โดยแบ่งส่วนย่อยในการพิจารณาออกเป็น

     1.1 Cashflow : ธุรกิจเหลือกระแสเงินสดมากน้อยแค่ไหน มีเวลาให้เราปรับตัวมากไหม เพราะถ้าไม่มาก การเลือกกลยุทธ์ก็ต้องเน้นผลลัพธ์ที่เห็นผลทันที และผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง

     1.2 Profit : กำไรธุรกิจของเราเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร มากกว่าแสดงให้เห็นว่าน่าจะมาถูกทาง แต่ถ้าน้อยกว่าเราจะได้พิจารณาหาจุดแก้ไขพัฒนาต่อไป หรือหากขาดทุนถ้าขาดทุนต่อเนื่องสะสมทั้งอุตสาหกรรม แสดงว่าเป็นอุตสาหกรรม Sunset ก็ควรกำหนดกลยุทธ์สำหรับล่าถอย หรือหา New S Curve ใหม่

     1.3 Credit : ตอนนี้เรายังมี Credit ดีไหม อาจจะพิจารณาจาก Statement บริษัท, Working Capital กับคู่ค้า, D/E Ratio ว่ายังก่อหนี้เพิ่มได้ไหม ถ้าปัจจัยต่างๆยังดี แสดงว่าเรายังมีโอกาสและเวลาในการปรับเปลี่ยนแก้ไขธุรกิจ

     1.4. Relation : เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของคน ซึ่งประกอบไปด้วยหลายมิติ ทั้งกับคู่ค้า ลูกค้า และพนักงานในบริษัทของเราเอง ถ้าประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าเรายังดี มีฐานแฟนคลับของธุรกิจเราอยู่ แสดงให้เห็นว่าต่อให้เราเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจก็ยังสามารถทำได้

     2. Now: Action

     ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาเราลองทำอะไรไปแล้วบ้าง อะไรที่ทำแล้วดี อะไรที่ทำแล้วไม่โดน เราต้องจับประเด็นตกผลึก เรียนรู้และพัฒนา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ “การทดลองทำให้เยอะ เร็ว และเรียนรู้” เพราะการทดลองทำที่เยอะจะทำให้เราเห็นสิ่งที่ดีและไม่ดี หากเราทำได้เร็ว เรียนรู้ปรับตัวได้เร็ว ก็จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดต่อไปได้ เพราะโลกในปัจจุบันมันคือโลกใหม่ พฤติกรรมใหม่ ทฤษฏีหลายๆ อย่างไม่สามารถใช้ได้ทันที ต้องเรียนรู้และทดลองใช้ใหม่เลย

     3. Future: Assumption

     ภาพอนาคตคือการตั้งสมมติฐาน ทุกธุรกิจเริ่มต้นจากการคาดการณ์ตั้งสมมติฐานทั้งนั้น คิดว่าสินค้านี้จะขายดี ขายได้ ต้องพิจารณาเสมอว่าสมตติฐานในอดีตและปัจจุบันของเรามันเปลี่ยนไปหรือยัง ถ้าสมมติฐานเปลี่ยน แผนก็ต้องเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับ Vision ของเราแล้วว่าจะนำพาธุรกิจไปแบบไหนกับสมมติฐานปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

กลยุทธ์การปรับตัวให้ธุรกิจอยู่รอด

     และเมื่อเราเห็นเหตุปัจจัยที่กระทบต่อธุรกิจของเราในภาวะวิกฤตจาก Checklist ข้างต้นแล้ว เรานำข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ มากำหนดเป็นกลยุทธ์ขององค์กรต่อไป อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากกำหนดกลยุทธ์เรียบร้อยคือ การขับเคลื่อน / การดำเนินการตามกลยุทธ์ ให้เกิดผลลัพธ์นั้นเอง จึงขอเสริมเทคนิคในการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ได้ คือ

     1. Leadership

     ผู้นำองค์กรต้องเอาจริง ต้องเปลี่ยน Mindset ตัวเองและสร้าง Culture ขององค์กรให้เป็นไปตามที่เราต้องการ เพราะหลายๆครั้งไม่เปลี่ยนความคิดการกระทำก็ไม่เปลี่ยน

     2. Process

     ทำกระบวนการให้ชัดเจน จับต้องได้ เข้าใจง่าย ถ้าเราวางกระบวนการได้ดีต่อให้เปลี่ยนคนไหนมาดำเนินการก็จะสามารถทำได้ องค์กรไม่ควรพึ่ง Superman ที่ทำได้คนเดียวแล้วแบกองค์กรไว้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวงของธุรกิจ

     3. People

     ต้องคอยพัฒนาคนในองค์กร อย่าปล่อยให้คนในองค์กรเป็น Dead wood หรือไม้ตายซาก เพราะจะทำให้องค์กรเราอ้วนเทอะทะ และไม่ก้าวไปข้างหน้า กล่าวคือ จะทำอะไรใหม่ก็ยาก จะปรับเปลี่ยนอะไรก็ยาก เพราะคนเราไม่เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้เข้ากับโลกใบใหม่ เราจะต้องให้โอกาสกับพนักงานในองค์กรได้เติบโต เก่งขึ้น มีพื้นที่ มีความสุข และมีวิธีการดำนเนินการเมื่อไม่เป็นไปตามนั้นเช่นกัน เพื่อรักษา Shape และ Energy ขององค์กร

     พื้นฐานของกลยุทธ์ คือ สิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน ถ้าเรายังทำเหมือนเดิม ผลลัพธ์เราก็จะได้แบบเดิม จะคาดหวังผลลัพธ์ใหม่ๆ ได้อย่างไร วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเพียงตัวเร่งกระตุ้นให้เราคิดเท่านั้น

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน