ทฤษฎีแมลงสาบ แนวคิดแก้ปัญหาของ ซีอีโอ Google ใช้สติเปลี่ยนเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ในการบริหารธุรกิจที่ต้องเจอหลากหลายปัญหา เชื่อว่า CEO แต่ละท่านก็มีวิธีจัดการปัญหาแตกต่างกันไป 

 

  • หนึ่งในวิธีที่ถูกแชร์และถูกพูดถึงกันมากในช่วงหนึ่ง คือ 'ทฤษฎีแมลงสาบ' ของ Sundar Pichai, ซีอีโอของ Google ที่เผยถึงมุมมองในการสยบปัญหาวุ่นๆ ให้จบลงอย่างง่ายๆ

 


     เรื่องราวของ Sundar Pichai ยังคงเป็นข่าวไปทั่วโลกเป็นระยะๆ แม้แต่เรื่องราวในอดีตสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของเขายังคงถูกพูดถึงเสมออย่างน้อยตามหน้าสื่อในอินเดีย นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของ Sundar Pichai ซึ่งได้รับการแบ่งปันอย่างมากในช่วงหนึ่ง คือ 'ทฤษฎีแมลงสาบ' ที่เขาเคยกล่าวไว้ตอนสมัยเรียน

ทฤษฎีแมลงสาบ

     ซีอีโอ Google ได้เล่าว่า เรื่องเกิดที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง

     ได้มีแมลงสาบตัวหนึ่งบินมาเกาะตัวลูกค้าผู้หญิงคนหนึ่ง ทำให้ผู้หญิงคนนั้นตกใจเธอเริ่มกรีดร้องด้วยความกลัว เธอเริ่มกระโดดขึ้นพร้อมๆ กับมือทั้งสองข้างพยายามกำจัดแมลงสาบเป็นพัลวัน  โดยที่เพื่อนๆ ของเธอได้แต่มองด้วยความตื่นตระหนกเช่นกัน ในที่สุดผู้หญิงคนนั้นก็สามารถผลักแมลงสาบออกไปได้ แต่ … มันไปโดนผู้หญิงอีกคนในกลุ่ม ตอนนี้ก็ถึงตาผู้หญิงอีกคนในกลุ่มที่จะต้องรับไม้ต่อที่จะกำจัดแมลงสาบเจ้าปัญหา

     ทันใดนั้นมีเด็กเสิร์ฟทางร้านคนหนึ่งเห็นเหตุการณ์รีบวิ่งมาที่โต๊ะเพื่อช่วยเหลือพวกเธอ

     ไม่ทันที่จะได้ไถ่ถาม แมลงสาบตัวนั้นก็เปลี่ยนเป้าหมายจากผู้หญิงในโต๊ะมาเกาะที่เด็กเสิร์ฟแทน 

      แม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นคล้ายๆ กับก่อนหน้านี้ แต่ปรากฏว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กเสิร์ฟคนนี้ยืนนิ่งๆ อย่างมั่นคง ตั้งสติ และสังเกตพฤติกรรมของแมลงสาบบนเสื้อของเขา 

     เมื่อเขานิ่งแมลงสาบก็นิ่ง เขาสังเกตว่าแมลงสาบจะไม่บินไปไหนก็คว้ามันด้วยนิ้วแล้วโยนมันออกไปนอกร้านอาหาร 

ปัญหาอยู่ที่แมลงสาบหรืออยู่ที่ไหน

     Sundar เล่าเหตุการณ์ในร้านอาหารต่อว่า ขณะนั้นเขาจิบกาแฟและมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็กเสิร์ฟ เขาก็ฉุกคิดบางอย่างขึ้นและเริ่มสงสัยว่า ทำไมแมลงสาบถึงบินวุ่นวายกับผู้หญิง? ในขณะที่กับเกาะนิ่งๆ กับพนักงานเสิร์ฟ?

     หรือว่าจริงๆ แล้ว ต้นเหตุของปัญหาหรือความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในร้านนี้ไม่ใช่เพราะแมลงสาบ แต่เกิดจากความสามารถในการรับมือกับปัญหา และสิ่งที่เข้ามากวนใจของแต่ละคน และแต่ละคนจะมีวิธีรับมืออย่างไร

     ผู้หญิงสองคนมีอาการตื่นตระหนกจึงไม่สามารถคุมสติจัดการกับปัญหาได้ดีนัก

     ในขณะที่เด็กเสิร์ฟสามารถคุมสติได้ทำให้จัดการกับปัญหาในเรื่องเดียวกันได้ดีกว่าและจบปัญหานั้นได้อย่างรวดเร็ว

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้

     ในแต่ละวันที่เราเจอปัญหากวนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด คอมพิวเตอร์มีปัญหา ฯลฯ บางครั้งเราไม่สามารถไปแก้ปัญหารถติดได้ แต่เราสามารถควบคุมสติและแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ในกรณีรถติดหลายคนก็ใช้ตัวช่วยเป็นวินมอเตอร์ไซด์ เหมือนกับหัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็สามารถทำให้ไปทำงานได้ทันเวลา

     ดีกว่ามานั่งเสียเวลาหงุดหงิด หรือปล่อยให้เกิดอารมณ์โมโหซึ่งจะไปบั่นทอนการทำงานเปล่าๆ 

     บางทีบางปัญหาที่เป็นเรื่องใหญ่อาจมาจากอารมณ์ของคน ทุกครั้งที่เกิดปัญหาลองนึกถึง ทฤษฎีแมลงสาบ อย่างน้อยอาจช่วยทำให้เรามีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น

 

Cr: https://www.dmit.co.th/en/google-tips/heres-sundar-pichais-cockroach-theory-that-will-teach-you-a-thing-or-two-about-life/?fbclid=IwAR2hOAJT9gz2M3drvy-bCnrPQaUfO5obeFzXE9QWnd7Zz19Hgf3D725xfMo

https://www.investopedia.com/terms/c/cockroach-theory.asp

https://www.mensxp.com/technology/latest/27319-heres-sundar-pichais-cockroach-theory-that-will-teach-you-a-thing-or-two-about-life.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน