SME จะเข้าถึงเทคโนโลยีเละเทรนด์ได้อย่างไร ไขความลับกับ รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ หญิงแกร่งแห่ง อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย

TEXT : Neung Cch.

PHOTO : เจษฏา ยอดสุรางค์

Main Idea

  • เพราะเทคโนโลยีนั้นไม่ได้เกิดมาเพื่อคนตัวใหญ่เท่านั้น ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่เหมาะกับธุรกิจ SME ทั้งราคา และสเกลธุรกิจที่ช่วยทำให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็วและได้มาตรฐานอาทิ เครื่องผลิตซาลาเปา เครื่องจีบขนมจีบ ฯลฯ ที่สำคัญเครื่องจักรเหล่านี้ราคาไม่เกินหนึ่งล้านบาท

 

  • SME จะเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องจักรและนวัตกรรมเหล่านี้ได้อย่างไร ไปฟังคำตอบจากกูรูมากประสบการณ์ที่คุ้นเคยกับผู้ผลิตเครื่องจักรและเทคโนโลยีกว่าหลายสิบปี

 

     ปัญหาหนึ่งของธุรกิจ SME ก็คือมักมองว่าเรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่รู้จะไปเสาะหาผู้ผลิตเครื่องจักรดีๆ ได้ที่ไหน หรือจะไปงานแฟร์ก็เกิดความกังวลว่ามีแต่เครื่องจักรสำหรับผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น

     Pain point เหล่านี้คือสิ่งที่ บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ในการจัดงานแสดงสินค้ามากว่า 30 ปีต้องการจะปลดล็อกทำให้ SME สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องจักรและบรรจุภัณฑ์ดีๆ โดยวิธีการปลดล็อกจะเป็นอย่างไรไปฟังคำตอบจาก รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2023 (โพรแพ็ค เอเชีย 2023) งานแสดงสินค้าและนวัตกรรมในกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์

Q: เทคโนโลยีจำเป็นสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมากน้อยแค่ไหน

     “ต้องแยกเป็นประเภทว่า เอสเอ็มอีรายนั้นต้องการเติบโตไปในช่องทางใด ถ้าต้องการขายรีเทล ทำตลาดส่งออก เทคโนโลยีจะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลดความผิดพลาดน้อยลง ซึ่งถ้าใช้ manual อาจเกิดของเสียเยอะแล้วคุณภาพความคงที่ไม่ได้ ยกตัวอย่าง การผลิตน้ำส้มคั้น มันยากมากที่จะทำให้น้ำส้มทุกวันได้สีเดียวกัน ฉะนั้นในเรื่องคุณภาพตรงนี้เทคโนโลยีสามารถช่วยได้ หรือถ้าเป็นเอสเอ็มอีที่มุ่งเน้นการขายเดลิเวอรี ต้องการความรวดเร็ว และคุณภาพสินค้ายังคงที่จนถึงมือผู้บริโภค เพราะฉะนั้นตรงนี้มีเทคโนโลยีหลากหลายที่เข้ามาช่วยได้ ทั้งการทำบันทึกการซื้อการขาย ระบบหลังบ้าน

     “คำว่าเทคโนโลยีอาจจะฟังดูน่ากลัวสำหรับเอสเอ็มอี ทำให้เอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะเจออุปสรรคเรื่องการปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี ถ้าเอสเอ็มอีจะอยู่รอด ต้องเข้าใจในธุรกิจของตัวเอง แล้วทำโปรดักส์ที่มีอยู่ให้มีคุณภาพ แล้วต้องต่อยอดความหลากหลายให้มากขึ้น เพราะยุคสมัยก็เปลี่ยนผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำให้การผลิตไวขึ้น ได้มาตรฐานคงที่มากขึ้น”

Q: การเติบโตของธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง

     “แพ็กเกจจิ้งมันโตขึ้นทุกปี แล้วแต่ว่าประเภทไหนจะโตมากหรือโตน้อย อย่างพลาสติกถูกมองว่าเป็นตัวทำลายโลก แต่จริงๆ พลาสติกราคาถูกที่สุด เพียงแต่วิธีการนำไปใช้ไม่ถูกต้อง มันสามารถใช้ได้แต่ต้องไม่ใช่การใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ฉะนั้นตัวแพ็กเกจจิ้งที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาคือ กล่องกระดาษ ประเภทกระดาษ Biodegradable การที่บรรจุภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นไม่ใช่เพราะว่าใช้แล้วเหมาะกับทุกประเภท แต่มันมันเป็นเทรนด์ที่ส่งเสริมแบบนำกลับใช้ได้ เป็นเรื่องของความยั่งยืน นอกจากนั้นเป็นแบบกระป๋องอะลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นแทนขวดพลาสติก”

     “ปัจจุบันผู้ประกอบการยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกวัสดุสำหรับทำแพ็กเก็จจิ้งให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะเลือกวัสดุตามแฟชั่น เพราะตอนนี้เขาใช้วัสดุแบบนี้ ใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็ใช้ตาม แต่ยังขาดความรู้ว่าจริงๆ แล้วการเลือกวัสดุต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง วัสดุไหนที่เหมาะสม ไม่ใช่ทำเพื่อความสวยอย่างเดียว ไม่ใช่ให้แพคเกจจิ้งเป็นแค่ห่อบรรจุ แต่แพ็กเก็จจิ้งที่ดีจะต้องช่วยรักษาอายุสินค้าได้นานขึ้น ซึ่งในปัจจุบันตอนนี้เทรนด์สุขภาพมาแรง จะต้องคำนึงถึงฟังก์ชันว่าอาหารมันเป็นเรื่องของสุขภาพด้วย”

Q: เทรนด์บรรจุภัณฑ์ปี 2024 ที่ SME ต้องรู้

     “คิดว่าทุกอย่างถูกไกด์ด้วยผู้บริโภค ตอนนี้ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการเป็น personalize ต้องการซื้อสินค้าตามความชอบของตัวเอง โดยที่ความชอบของตัวเองมันถูกปลูกฝังด้วยเทรนด์ ว่าฉันต้องช่วยสังคมเรื่องความยั่งยืน ผลิตภัณฑ์ก็จะถูกเลือกโดยมีจิตสำนึกเรื่องความยั่งยืนเป็นแบ็กกราวน์

     “รวมทั้งการถูกผลักดันด้วยภาษีคาร์บอน ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวๆ แล้วไม่สามารถเลือกว่าเฉพาะบริษัทส่งออกเพราะมันจะ drive ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งบริษัทเล็กและบริษัทใหญ่ หรือเทรนด์หนึ่งที่เกิดขึ้นในในยุโรปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คือ แพ็กเกจิ้งแบบ refill ได้ ซึ่งเทรนด์นี้เพิ่งจะเกิดในเมืองไทยเมื่อปีที่แล้ว”

Q: เทรนด์การผลิตอาหารในปี 2024

     “วกกลับไปถึงเรื่องสุขภาพและผู้บริโภคเป็นหลัก ฉะนั้นเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าถูกเปลี่ยนมาเป็นจุดไฮไลท์ ซึ่งที่ดีที่สุดก็คือพวกเอาเอไอ เอาโรบอทมาใช้ในการผลิตมากขึ้น”

Q: ทำไมงาน Propak Asia ในปี 2023 ถึงหันมาบุกตลาด SME

     “จริงๆ แล้วเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ใช่สำหรับคนตัวใหญ่เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของธุรกิจขนาดย่อมขนาดเล็กด้วย อีกอย่างงาน Propak Asia มีทั้งเรื่องของ Processing (กระบวนการผลิต) และ Packaging (บรรจุภัณฑ์) ซึ่งแพ็กเกจจิ้งกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตมากในช่วงโควิด แต่ตอนช่วงโควิดเราจัดงานแฟร์ไม่ได้ ก็พลิกมาทำ Webinar เดือนมีนาคม ปี 2020 ปรากฏว่าคนที่มาเข้าฟังคือ SME เยอะมาก ซึ่งเขาสนใจแต่ส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องราคาเครื่องจักร เราก็เลยเริ่มคุยกับผู้ประกอบการเอ็กซิบิเตอร์ว่าจะลองจัดทำเอสเอ็มอีโซน เดือนตุลาคมปี 2020 จัดงาน Propak เริ่มดึงเอสเอ็มอีมา ตัวเลข Visitor ก็สวย พอมาปี 2021 มีโควิดอีกรอบเลยไม่ได้จัดงาน พอมาปี 2022 เราก็จัดงานกลับมาจัดใหญ่อีกครั้งจาก 4 ฮอลล์เพิ่มเป็น 6 ฮอลล์ ปรากฏว่ากเจอ pain point เดิมอีกคนตัวเล็กกลัว ไปงานแล้วไม่รู้เลือกร้านไหน ปีนี้ก็เลยคิดว่าต้องเปลี่ยนวิธีให้ SME เข้าใจตัวงาน แล้วถามว่าทำไมถึงทำเพื่อ SME เพราะ SME เป็นจิ๊กซอร์ตัวใหญ่ที่เป็นเครื่องจักร drive เศรษฐกิจ”

Q: SME จะได้อะไรจากการไปร่วมงานนี้บ้าง

     “ในงานแน่นอนเป็นเรื่องของเอ็กซิบิชั่น สิ่งที่จะได้ส่วนที่หนึ่งคือ เรื่องของการ sourcing ได้ไอเดียว่าใครทำแพ็กเกจจิ้งแบบไหน เครื่องจักรเทคโนโลยีแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจ

     ปีนี้เราก็จะมีไฮไลท์จัดกิจกรรม Exclusive SME Tour by SME Thailand ในงานโดยจะมีทีมงานที่พา SME ไปพบนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยีที่จะช่วยให้ SME สามารถ Scale up ได้ง่ายขึ้น แบบ Exclusive พร้อมการสาธิต เพียง 2 รอบเท่านั้น สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ฟรี!! ลงทะเบียนที่ https://forms.gle/YSQQjDcNkcHtCK5P

     นอกจากนี้จะเป็นเรื่องของ ซอฟต์พาวเวอร์ คือเราเน้นให้ผู้ประกอบการไปแล้วได้ประสบการณ์จริง ได้พูดคุยกับที่ปรึกษา โดยจะมีกิจกรรมที่สนับสนุนเช่น ไอเดียเธียร์เตอร์นำผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาแชร์ไอเดียในการทำธุรกิจ มีบูธให้คำปรึกษาหลากหลายธุรกิจ อาทิ คอสเมติก ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม อันนี้คือเป้าหมายของเราไม่ให้งานเอ็กซิบิชั่นเป็นแค่ที่ขายของ จะเป็นที่ที่มาแล้วคุณได้ความรู้กลับไป คุณได้เทรนด์กลับไป คุณได้ประสบการณ์ที่คนอื่นเขามีหรือผู้เชี่ยวชาญเขามี ได้แบ่งปันประสบการณ์ เกิดคอมมูนิตี้ขึ้น คือเดินเข้าไปในงาน เห็นไอเดียว่า โรงงานอุตสาหกรรมเข้าทำไงกันบ้าง แล้วเอามาปรับใช้

Q: รูปแบบ consult ภายในงานจะเป็นลักษณะไหน

     “สมมุติผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่ง แล้วอยากจะเอาผลิตภัณฑ์ตัวนั้นไปสเกลอัพ ก็สามารถที่จะไปติดต่อหน่วยงานภาครัฐ ที่เขาสามารถทำอาร์แอนดีที่มาร่วมออกบูธ นอกจากนี้ยังแบ่งโซน consult แยกเป็นส่วนๆ อาทิ ในเรื่องการจดทะเบียน การเลือกวัสดุสำหรับทำแพ็กเกจจิ้ง ด้านการผลิต ทดสอบ ทำการวิจัย การเลือก sustainable packaging โดยมีหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่จะมาให้คำตอบ โดยผู้สนใจไปขอคำขอคำปรึกษาจะต้องลงทะเบียนขอเข้ารับคำปรึกษาได้ฟรี”

Q: ยกตัวอย่างเครื่องจักรที่เป็นไฮไลท์สำหรับ SME

     “เป็นเครื่องที่ช่วยการผลิตที่ปกติใช้มือ ยกตัวอย่าง ที่ปั้นซาลาเปา ที่จีบขนมจีบ เครื่องทำ Retort เครื่องทำแพ็กเกจจิ้งเล็กๆ สำหรับเอสเอ็มอี ที่สำคัญเครื่องจักรเหล่านี้เฉลี่ยราคาไม่เกินหนึ่งล้านบาท”

Q: อยากฝากอะไรทิ้งท้ายสำหรับ SME

     “ก่อนอื่นไม่อยากให้เอสเอ็มอีต้องกลัวที่จะมางานนี้ ถ้าเป็นงานแบบนี้ที่เยอรมันสียค่าเข้าเป็นหมื่นบาท แต่งานนี้เข้าฟรี มีผู้ผลิตเครื่องจักรมากมายกว่า 1,800 แบรนด์มาร่วมงาน อยากให้ใช้โอกาสในการไปเรียนรู้ ไปดูว่าเทรนด์อะไรเกิดขึ้นแล้ว เป็นการเปิดหูเปิดตา ไปเพิ่มความรู้ สร้างคอนเนคชั่น”

     สำหรับการจัดงาน ProPak Asia 2023) ครั้งที่ 30 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 17 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Pre-Registered ได้ที่ www.propakasia.com

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร