5 เรื่องน่ารู้ก่อนทำคาร์บอนเครดิต Standard T-VER กับ Premium T-VER มาตรฐานแบบไหนที่เหมาะกับเอสเอ็มอี?

TEXT : สุภาวดี ใหม่สุวรรณ

     อย่างที่รู้กันว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) เป็นกลไกเดียวที่ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. แต่ปัจจุบันมีการพัฒนา Premium T-VER ขึ้นมาอีกระดับ เราสรุป 5 ประเด็นสำคัญมาให้ว่ามาตรฐาน T-VER ที่มีอยู่เดิมกับ Premium T-VER มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการจัดทำคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER

     1.มาตรฐาน T-VER ดั้งเดิมพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Standard T-VER เพราะมีการพัฒนา Premium T-VER ซึ่งมีความเข้มข้นในการดำเนินการมากกว่า คาร์บอนเครดิตมีคุณภาพสูงกว่า ทำให้โครงการ T-VER ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบให้เลือกดำเนินการคือแบบ Standard และ Premium

     2.คาร์บอนเครดิตของ Premium T-VER มีคุณภาพสูงกว่า Standard T-VER เริ่มตั้งแต่การคำนวณ ถ้าเป็นแบบ Standard จะเทียบกับการดำเนินงานปกติ เช่น กรณียานยนต์ไฟฟ้าจะเทียบจากเชื้อเพลิงที่รถคันเดิมใช้ เช่น เบนซิน ดีเซล ถ้าเป็นแบบ Premium จะเทียบกับสิ่งที่ดีกว่าปกติ กรณีนี้คือเทียบกับเชื้อเพลิงที่สะอาดที่สุด เช่น ก๊าซธรรมชาติ เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำสุดในบรรดาเชื้อเพลิงฟอสซิล คาร์บอนเครดิตที่จะเกิดจากโครงการ Premium T-VER จึงมีแนวโน้มว่าจะน้อยกว่าแบบ Standard แต่คุณภาพสูงกว่า

     3.Standard T-VER พัฒนาขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยมากๆ โดยมีผลพลอยได้เป็นคาร์บอนเครดิต ดังนั้น ไม่ว่าโครงการเก่าหรือใหม่สามารถทำเข้าร่วมโครงการ Standard T-VER ได้หมด เพียงแต่โครงการเก่าที่ดำเนินการมาแล้วจะต้องไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ประเมินภายนอก

     ถ้าเป็น Premium T-VER ต้องเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่เริ่มดำเนินงานเท่านั้น และที่สำคัญต้องสนใจสังคมรอบข้าง โดยต้องจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโดยรอบโครงการ จากนั้นส่งเอกสารให้ อบก. เพื่อรับฟังความเห็นของสาธารณะบนเว็บไซต์ หากมีข้อกังวลใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตจะต้องแสดงแนวทางป้องกันผลกระทบเชิงลบและการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอกสารข้อเสนอ

     4.สำหรับระยะเวลาคิดเครดิต ถ้าเป็น Standard T-VER อายุโครงการทั่วไป 7 ปี (ต่ออายุได้ 1 ครั้ง) อายุโครงการป่าไม้ 10 ปี (ต่ออายุได้ไม่จำกัด) และอายุโครงการเกษตร 7 ปี (ต่ออายุได้ไม่จำกัด) ส่วน Premium T-VER อายุโครงการทั่วไปลดเหลือ 5 ปี (ต่ออายุได้ 2 ครั้ง) ส่วนอายุโครงการภาคป่าไม้เพิ่มเป็น 15 ปี (ต่ออายุได้ 2 ครั้ง)

     5.กรณีการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ทั้ง Standard T-VER และ Premium T-VER สามารถซื้อขายได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งแบบ OTC และบนแพลตฟอร์ม FTIX แต่ Premium T-VER จะพิเศษกว่าตรงที่สามารถนำเครดิตไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศได้ เช่น โครงการ EV Bus ของ EA ที่ขายเครดิตให้กับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะต้องมีหนังสืออนุญาตการใช้คาร์บอนเครดิตจากประเทศต้นทางด้วย

“ถามว่าควรทำมาตรฐานแบบ Standard หรือ Premium เอสเอ็มอีต้องดูว่าเรามีกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกอะไร เริ่มดำเนินการแล้วหรือยัง ถ้าเริ่มแล้วตัด Premium ออกเลย ถ้ายังก็สามารถไปได้ทั้ง 2 ทาง ถามว่าต้องการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้ซื้อของท่านต้องการคุณภาพเครดิตอย่างไร คำตอบที่ได้จะช่วยท่านเลือกมาตรฐานได้ถูกและง่ายขึ้น”

ดร.ปราณี หนูทองแก้ว ผู้จัดการสำนักรับรองคาร์บอนเครดิต อบก.

งานสัมมนา The Business Game Changer : เมกะเทรนด์ขับเคลื่อน SME สู่ความยั่งยืน

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน