รู้จัก Thailand Taxonomy กติกาการค้าใหม่เพื่อความยั่งยืน

     นานแค่ไหนกันแล้วที่คนไทยไม่ได้ใส่เสื้อหนาวตามฤดู

     นานแค่ไหนที่ระยะเวลาของฤดูหนาวมีจำนวนวันน้อยลงทุกที

     นี่คือ ตัวอย่างของผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ปัญหาดังกล่าวล้วนเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ทำให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัวที่จะช่วยกันลดโลกร้อน

     ปลายปี 2565 ได้มีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน คือการออกร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Taxonomy) เป็นฉบับแรก ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับภาคธุรกิจ ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

     ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Thailand Taxonomy เพื่อการเตรียมตัวปรับในอนาคต

Taxonomy ไม่ใช่การเก็บภาษี

     ก่อนอื่นต้องบอกว่า Taxonomy ไม่ใช่การเก็บภาษี แต่คือ ระบบการจำแนกประเภท และการจัดทำรายการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน กล่าวคือกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมระบุวัตถุประสงค์ ที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง ระบุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม หลักการในการระบุกิจกรรมว่าเป็นสีเขียว กำหนดภาคเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในขอบเขต และวิธีการดำเนินงาน

Thailand Taxonomy คือ อะไร

     Thailand Taxonomy คือ มาตรฐานกลางที่ใช้ในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย พัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกับภาคเอกชน

     Thailand Taxonomy ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายการจำกัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 °C โดยมีโครงสร้างสำคัญ ดังนี้

  • เพื่อกำหนดแนวทาง กรอบแนวคิด และมาตรฐานให้แก่ตลาด นักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

     Taxonomy จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยหลีกเลี่ยง "การกล่าวอ้างเกินจริง (greenwash)" ของธุรกิจในด้านการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังช่วยให้การจัดสรรเงินทุนไปยังโครงการสีเขียวสอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ตามแนวโน้มที่ผู้คนและสถาบันการเงินจำนวนมากต้องการลงทุนในโครงการที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืน

     นอกจากนี้ Taxonomy ยังทำให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติหรือกรอบการดำเนินงานอื่น ๆ มากขึ้น เช่น แนวปฏิบัติของกลุ่มคณะทำงานมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Taskforce on ClimateRelated Financial Disclosures (TCFD))

  • เพื่อดึงดูดเงินลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากต่างประเทศ

 

     Thailand Taxonomy จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และ Taxnomy ของประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย Thailand Taxonomy จะช่วยเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือในการขอสินเชื่อของธุรกิจไทยในตลาดโลก

  • เพื่อเอื้อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลที่สอดคล้องกัน

 

     Thailand Taxonomy จะกำหนดนิยาม ของโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับอ้างอิงทำให้สามารถพัฒนาระบบข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบข้อมูลที่ดีจะทำให้ภาครัฐภาคเอกชน และหน่วยงานในภาคการเงินที่นำ Thailand Taxonomy ไปใช้ในการดำเนินงานสามารถเปรียบเทียบสัดส่วนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

  • เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเสนอทางเลือกในการลดความเสี่ยง

 

     เงื่อนไขและตัวชี้วัดภายใต้ Thailand Taxonomy จะเป็นแนวทางที่ให้ภาครัฐและภาคเอกชนรับทราบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประเมินความเสี่ยงในภาคการเงิน

  • เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐให้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง

 

     ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามที่ได้ตกลงไว้ในความตกลง ปารีส (Paris Agreement) และตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) โดยภาครัฐสามารถใช้ Thailand Taxonomy เป็นเครื่องมือในการกำหนดกิจกรรมเป้าหมายและพัฒนานโยบายสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

  • เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการเก็บข้อมูล

 

     Thailand Taxonomy กำหนดเงื่อนไขและตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในการทำความเข้าใจสถานการณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงนโยบายและการดำเนินการเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate action)

     สำหรับประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาเป็น Thailand Taxonomy มีเป้าหมายเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ระยะที่ 1 ครอบคลุมภาคพลังงานและการขนส่ง มีเกณฑ์การประเมินวัดจากระบบ Traffic-Light System แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

     สีเขียว คือ กิจกรรมที่มีการดำเนินงานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็น Net Zero แล้ว หรือใกล้เคียงแล้วในปัจจุบัน เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังงานลม ฯลฯ มักใช้กับกิจกรรม สินทรัพย์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาคการขนส่ง

     สีเหลือง คือ กิจกรรมที่มีศักยภาพสามารถไปสู่ความเป็น Net Zero ได้ โดยมีแผนการเปลี่ยนผ่านตามเส้นทางการลดคาร์บอนและกรอบเวลาที่น่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่ใช้กับการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าชีวภาพที่มีแผนปรับปรุงเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงในระยะสั้น

     สีแดง คือ กิจกรรมที่ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญคือ อยู่นอกเหนือขอบเขตการเปลี่ยนผ่านที่น่าเชื่อถือ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ และสมควรที่จะลด หรือยุติการใช้ให้เร็วที่สุด 

     อย่างไรก็ดีแม้ Thailand Taxonomy จะไม่ใช่มาตรการบังคับ แต่อาจใช้เป็นตัววัดของภาคธุรกิจ ซึ่งใครที่ทำได้ตามมาตรฐานนี้ก็ย่อมได้เปรียบในแง่หนึ่งที่จะเห็นได้ชัดขึ้นในอนาคตคือ การยอมรับจากสถาบันการเงิน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, finbiz by TTB,

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน