Text : Sir.nim
กว่าจะประสบความสำเร็จให้เราเห็นอย่างทุกวันนี้ได้ หลายแบรนด์ดัง ต้องเคยผ่านอุปสรรคกันมาบ้าง จนหลายแบรนด์เกือบเคยสิ้นชื่อ ล้มละลายมาแล้วก็มี แต่สุดท้ายก็กลับมาได้ พวกเขาผ่านมันมาได้ยังไง ลองมาถอดบทเรียนไปพร้อมกัน
Netflix : วิกฤตจากการปรับแพลตฟอร์มธุรกิจ โดยลืมฟังเสียงลูกค้า
เมื่อเดือนกันยายน 2011 นาย Reed Hastings ซีอีโอของ Netflix ตัดสินใจครั้งใหญ่ประกาศการแยก Netflix ออกเป็น 2 บริการ บริการสตรีมมิ่ง และ บริการดีวีดี ออกจากกัน ภายใต้ชื่อใหม่ "Qwikster" สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าเกลียด จนนักวิเคราะห์มองว่าอาจถึงจุดจบของ Netflix เพราะทำให้บริษัทสูญเสียสมาชิก 800,000 รายในชั่วข้ามคืน หุ้นร่วงลงกว่า 75% ในเวลาไม่กี่สัปดาห์
Hastings ใช้เวลา 23 วันในการกอบกู้สถานการณ์ จากการได้รับเสียงโทรศัพท์จากทีมตอนตี 3 เปิดเผยให้เห็นว่า 40% ของลูกค้าที่ยกเลิกอ้างเหตุผล เพราะพวกเขาเกลียดการจัดการ 2 บริการแยกกัน โดยในตอนนั้น Netflix กำลังอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างการให้บริการเช่า DVD และบริการสตรีมมิ่ง ลูกค้ากำลังเรียนรู้เพื่อเริ่มเปลี่ยนจากใช้บริการเช่า DVD มาเป็นสตรีมมิ่ง แต่อยู่ดีๆ บริษัทมาบังคับให้เลือก โดยการแยกทั้งสองบริการออกจากการอย่างชัดเจน จึงทำให้ลูกค้าโกรธ ดังนั้นบางอย่างธุรกิจก็ควรรอ ให้เวลาเป็นผู้ตัดสิน ลูกค้าจะเป็นผู้เลือกเองว่าสินค้าบริการไหนจะอยู่ หรือไปในวันที่เขาพร้อม และเข้าใจดีแล้ว
Nintendo : วิกฤตผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ตอบโจทย์ความคุ้มค่า
วิกฤตของ Nintendo ในปี 2011 เกิดจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เป็นไปตามคาด ด้วยการเปิดตัว Nintendo 3DS ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยี 3 มิติที่ไม่ต้องใช้แว่นตาก็สามารถดูได้ โดยหวังอยากให้เป็นความสำเร็จทางนวัตกรรมครั้งใหญ่ของบริษัท แต่ด้วยราคาจำหน่ายที่สูงเกินไป และตัวเกมไม่น่าดึงดูดความสนใจเท่าที่ควร บวกกับในขณะนั้นมีการเข้ามาตลาดเกมมือถือและสมาร์ทโฟนเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจกับเกมบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น ยอดขายของบริษัทจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ Nintendo นำมาใช้แก้เกมธุรกิจ คือ ประกาศลดราคา Nintendo 3DS ลงทันที 50% ซึ่งก็ทำให้ยอดขายกลับคืนมา แม้จะต้องลดราคาจาก 250 เหรียญ เป็น 170 เหรียญ จนทำให้ไตรมาสแรกขาดทุนถึง 37,700 ล้านเยน (297 ล้านดอลลาร์)
นอกจากนี้ซีอีโอของแบรนด์เอง ก็ยอมลดเงินเดือนลง 50% เพื่อแสดงความรับผิดชอบและช่วยเหลือบริษัทด้วย จากการแก้ไขปัญหาด้านราคายังมีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ และปล่อยเกมฮิตและพอร์ตเกมเดิมที่เคยนิยม พัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ เช่น Mario 3D Land และ Mario Kart 7 เพื่อกระตุ้นความสนใจและสร้างความคุ้มค่าให้กับผู้ซื้อ, การโปรโมตประสิทธิภาพของ Nintendo 3DS ในการเล่นเกม 3 มิติ ไม่ต้องใช้แว่นตาให้รู้จักมากขึ้น ไปจนถึงการมองหาช่องทางใหม่ๆ ในการพัฒนาสินค้าสู่กลุ่มตลาดใหม่ เช่น เกมบนมือถือ โดยใช้จุดแข็งของแบรนด์ผู้สร้างความสนุกจากวิดีโอเกมพัฒนาแบรนด์ต่อไป
Aribnb : วิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โลกบีบบังคับ
ในช่วงโควิด-19 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักสุดย่อมไม่พ้นการท่องเที่ยวและการโรงแรม Airbnb สตาร์ทอัพให้บริการจองที่พักก็เป็นหนึ่งในนั้น ในปี 2020 บริษัทขาดทุนถึง 72% เพราะรายได้ลดลงรุนแรง จากการหยุดเดินทางทั่วโลก
สิ่งที่ผู้บริหาร Aribnb ทำ ก็คือ การพยายามควบคุมกับสิ่งที่สามารถทำได้ เช่น การเจรจาชะลอจ่ายหนี้ ไปจนถึงการปรับลดพนักงานลง เพื่อลดรายจ่าย ด้วยการดูแลชดเชยอย่างดีที่สุดให้ เช่น การให้หุ้นบริษัท, การหางานให้ใหม่, การให้สวัสดิการเงินชดเชย และการประกันสุขภาพ จนทำให้ได้รับคำชื่นชม นอกจากนี้ยังมีการปรับแผนธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงการเข้าพักหรือแก้ไข หากไม่สามารถเดินทางได้, ให้ส่วนลด สำหรับเช่าระยะยาว, เน้นการพักในท้องถิ่น Staycation ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการกักตัว ไปจนถึงการตัดสินใจขาย IPO ในปี 2020 เพื่อระดมทุน ต่อสายป่านไปต่อให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลางวิกฤต จนได้รับเงินจากการระดมทุนสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี