เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคมจับมือธรรมศาสตร์ จุฬา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวที ถกปัญหาความเหลื่อมล้ำเกษตรกรไทย พบคนยากจนกว่า5ล้านคนในไทยกว่าครึ่งมาจากอาชีพเกษตรกรรมทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทั้งสิทธิ โอกาส อำนาจและศักดิ์ตามมา โดยเฉพาะสิทธิในการกำหนดนโยบายถูกกำหนดจากการเมืองเป็นหลัก ไม่สามารถหลุดพ้นจากบ่วงประชานิยมไปได้ แนะ แก้ปัญหาที่ดินทำกิน หนุน ร่วมกำหนดนโยบายรัฐ ผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตร สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สำนึกรักในอาชีพ
บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด รายงานการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อปี 2555 มีมูลค่า 1.17 แสนล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 12.42% โดยทุกสื่อมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยสื่อโทรทัศน์ มูลค่า 6.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 9.43% หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 5.8 พันล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน สื่อวิทยุมูลค่า 6.3 พันล้านบาท เติบโต 7.28% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท เติบโต 4.42% สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 67.68% สื่อป้ายโฆษณา มูลค่า 4.5 พันล้านบาท เติบโต 5.77%
นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน รองกรรมการผู้จัดการในฐานะรักษาการกรรมการผู้จัดการด้านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์ ) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานปี 2556 ธนาคารได้เข้มงวดในการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาพบว่า มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ ประกอบกับลูกค้าของธนาคารมากกว่า 6 พันราย สำหรับผู้ประกอบการยังไม่ฟื้นตัวจากการประสบปัญหาน้ำท่วม และการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำตามนโยบายรัฐบาลแต่ไมได้รับการจ่ายชดเชย ส่งผลให้สิ้นปี 2555 ธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ถึงร้อยละ 33 หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากยอดสินเชื่อคงค้าง 9.8 หมื่นล้านบาท
น.ส.อาริศรา ธรมธัช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงแผนการปล่อยสินเชื่อภาครัฐในปีนี้ว่า ธนาคารมุ่งเน้นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งสินเชื่อรายย่อยที่ครบวงจรสำหรับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งสินเชื่อสวัสดิการต่างๆ สินเชื่ออเนกประสงค์ ตลอดจนสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ โดยตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อภาครัฐ กว่าหมื่นล้านบาท
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.มีภารกิจหลักที่ต้องดำเนินการในปี 2556 จำนวน 3 เรื่องตามนโยบายของนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.กระทรวงแรงงาน โดยเรื่องแรกเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในประเทศและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาการผลิตกำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการปรับค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ที่มีผลวันที่ 1 ม.ค.56 นั้น ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยเฉพาะต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้ เนื่องจากต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น
นายนันดอร์ วอน เดอร์ ลู ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการอภิปราย วิพากษ์ทิศทางยุทธศาสตร์การส่งเสริมลงทุนใหม่ ในการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ : เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ว่า ร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี (2556-2560) ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดทำขึ้น ภาพรวมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่กำหนดเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมชัดเจนขึ้น และจะเน้นเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) โดยจะยกเลิกให้สิทธิประโยชน์ตามเขตส่งเสริมฯ 1, 2 และ 3 แต่วิธีนี้บีโอไอจะต้องพิจารณาให้ดีเนื่องจากรัฐมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ก็จะยิ่งลดแรงจูงใจให้การลงทุนไปยังต่างจังหวัดน้อยลงตามไปด้วย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม(กสอ.)เปิดโครงการจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ AEC ซึ่งกิจกรรมอบรมดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับ SMEs ไทย ตลอดจนเพื่อพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่านโยบายของ กพร.ในปี 2556 มี 2 เรื่องหลักคือ การขับเคลื่อนการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งเรื่องนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์รมว.กระทรวงแรงงาน ได้กำชับเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้มอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ใช้แรงงาน หากสถานประกอบการรายใดต้องการให้ กพร.ช่วยฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.)และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) ทุกแห่ง