นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในปี 2556 ส.อ.ท. มีความกังวล 6 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมให้ชะลอตัว หรือทรุดตัวลง ประกอบด้วย 1.ผลกระทบค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และการขาดแคลนแรงงานทุกกลุ่ม, 2.การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, 3.ความผันผวนราคาน้ำมันตลาดโลก, 4.การปรับราคาของวัสดุดิบในการผลิตสินค้าอย่างเหล็ก เคมีภัณฑ์ กระดาษ, 5.ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ และ 6.ความเสี่ยงจากนโยบายภาครัฐ ดังนั้นต้องการให้รัฐบาลหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และการลดต้นทุนของประกอบการโดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์
นายครรชิต จันทนพรชัย นายกสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 คาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าน่าจะเป็นปีที่เหนื่อยกว่าปีที่ผ่านมา และต้องปรับตัวกับปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามามีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะการปรับค่าแรง 300บาททั่วประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ผู้ผลิตรายเล็กๆ ซึ่งเน้นผลิตสินค้าราคาถูก ดีไซน์ตามแบบแบรนด์ดัง
นายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยจะลดจาก 30% เป็น 23% ในปีที่ผ่านมา และเหลือ 20% ในปีนี้ แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ที่เก็บภาษีนิติบุคคลที่ 16-17% ซึ่งทำให้ไทยยังเสียเปรียบประเทศดังกล่าวในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยดังนั้น กรมสรรพากรจึงตั้งเป้าหมายที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 15 % เพื่อให้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้ง คณะทำงานชักจูงการลงทุนและเชื่อมโยงผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ญี่ปุ่น และเอสเอ็มอีไทย ซึ่งมีนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นประธานและมีผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ในการชักจูงการลงทุนและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีญี่ปุ่นในกลุ่มผู้รับช่วงการผลิต (Tier 2 และ Tier 3) ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้บางบริษัทอ้างว่า จำต้องปิดกิจการเพราะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาท แต่ความเป็นจริงแล้วการปิดกิจการ หรือเลิกจ้างนั้น เป็นปัญหาของบริษัทเอง เช่น ไม่มีออเดอร์เข้ามา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนขึ้นมา 1ชุด เพื่อดูผลกระทบ รวมทั้งหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว
หลังรัฐบาลประกาศนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.56 จนทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วง ว่าจะมีผู้ประกอบการระดับกลางและเล็ก ไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายและส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบไปถึงค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นตามไปด้วยนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ม.ค.56 นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทำให้ บริษัท นางรองแอพพาเรล จำกัด ตั้งอยู่ถนนสายโชคชัย-เดชอุดม ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และบริษัท โรงงานเสื้อผ้าชุมชน ตั้งอยู่ ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอหรือตัดเย็บเสื้อผ้า ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานแล้วจำนวน 120 คน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต จากผลพวงของการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีการประชุมกัน 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน โดยกลุ่มของ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. จัดประชุมที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีคณะกรรมการเข้าร่วมประมาณ 183 คน ส่วนฝั่ง นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ รักษาการประธาน ส.อ.ท. ได้ประชุมกันที่โรงแรมดุสิตธานี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 176 คน
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำเว็บไซต์ผู้ผลิต ผู้บริโภคตื่นตัว (Producer & Consumer Alert) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนและผู้ผลิตในการติดตามภาวะราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพได้เป็นรายสัปดาห์
กรมสรรพากรร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดสัมมนาเรื่อง แนวทางการใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร