พักจากเรื่องเครียดๆ อย่างตัวเลขปิดกิจการ มาดูข้อมูลที่พอจะเป็นความหวังอย่างตัวเลขเปิดกิจการใหม่กันบ้างดีกว่า ว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คนเปิดกิจการอะไรมากที่สุด แล้วจังหวัดไหนที่ครองแชมป์เปิดกิจการใหม่สูงสุด
ข้อดีของการเป็นสินค้าเจ้าแรกๆ ของตลาด คือ มักเป็นที่จดจำแก่ลูกค้าได้อย่างแน่นอน แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจต้องแลกมาด้วยร่องรอยและบาดแผลที่บอบช้ำมากกว่าสักหน่อยถึงจะยืนหยัดขึ้นมาได้ เหมือน “ทิพรส” ผู้ให้กำเนิดน้ำปลาในเมืองไทย
“Deeco” (ดีโค่) รองเท้ายางพาราสำหรับโค นวัตกรรมเกษตรคูลๆ ออกแบบแม่พิมพ์ให้สอดคล้องตามหลักสรีระของกีบเท้าโค และสูตรยางรองเท้าอีกด้วย ว่าแต่ทำไมโคต้องใส่รองเท้ากันล่ะ?
ด้วยน้ำอดน้ำทน และพลังศรัทธาของ “พลัฏฐ์ อารีวงศ์ศิลป์” ทายาทธุรกิจรองเท้าหนังที่มีประสบการณ์ในสนามเครื่องหนังมากว่า 30 ปี วันหนึ่งเขาสามารถนำพาแบรนด์ "PALATTA" ให้กลายเป็นเครื่องหนังไทยขวัญใจลูกค้าคนจีนได้สำเร็จ
5 แบรนด์ดังในตำนานที่ไม่ว่าไปที่ไหนก็มีให้เห็นอยู่ตลอด เห็นขายกันชามละไม่กี่สิบบาทอย่างนี้ แต่กลับทำรายได้ให้กับแบรนด์ได้เป็นปีละหลายล้านบาททีเดียว ซึ่งบางแบรนด์อาจก้าวกระโดดขึ้นไปหลักพันล้านเลยก็ว่าได้
ผู้หญิงคนหนึ่งเดินหิ้วโครงไม้ลามิเนตไปบุกบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังอย่าง “แสนสิริ” เพื่อนำเสนอขายสินค้า โดยที่บริษัทพึ่งตั้ง ประสบการณ์ทำงานเท่ากับศูนย์ และมีสินค้าทั้งบริษัทแค่ 1 ตัวเท่านั้นก็คือ “พื้นไม้ลามิเนต” แต่เธอขายงานได้!
รู้ไหมว่าในปีวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “แสนสิริ” ช่วย SME ไปแล้วกี่ราย? แล้วพวกเขาใช้โมเดลไหนในการช่วยเหลือ ให้ วิน-วิน ทั้งกับแสนสิริและ SME ขณะที่ปีนี้ยังขยายความร่วมมือมาดึงภาคการเงินอย่าง SCB มาร่วมด้วย
ไอติมหวานเย็นในหลอดใส ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ฟรีซช็อต” ชูจุดต่างด้วยการเป็น สมูทตี้ที่ไม่ต้องปั่น นวัตกรรมความอร่อยโดนใจเด็กๆ เปิดตัวครั้งแรกด้วยการขายได้เกือบหมื่นหลอดในเวลาเพียง 4-5 วัน และยังคว้ารางวัลนวัตกรรมระดับประเทศมาแล้ว
เมื่อนักบินและนักวิจัยมารวมตัวก่อร่างสร้างธุรกิจที่ชื่อ “Hide & Seek” (ไฮด์แอนด์ซีค) ทรายแมวธรรมชาติจากมันสำปะหลัง นวัตกรรมสิทธิบัตรของคนไทย เจ้าแรกของโลก!
ในชีวิตคนเราจะเจอวิกฤตได้สักกี่ครั้งกว่าจะประสบความสำเร็จ สำหรับ “นิภาภัทร์ ใจโสด” เจ้าของแบรนด์ “Anatani” อาจเรียกว่าไม่อยากนับกันเลยทีเดียว แต่อะไรทำให้ผู้หญิงคนนี้สามารถก้าวข้ามปัญหา จนกลายมาเป็นแบรนด์นมถั่วแระญี่ปุ่นเจ้าแรกของไทยได้
“อารีฟู้ดส์” SME ที่ทำอาหารแช่แข็งส่งให้กับครัวร้อนในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง มีรายได้ต่อปีที่ประมาณ 150 ล้านบาท เมื่อต้องเจอกับโควิด-19 จึงปรับสายพานการผลิตมาสู่สินค้าประเภท Ready to Eat ที่รองรับกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค
มีสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าที่เป็นอาหารเกี่ยวกับสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสินค้าที่มาแรง และเป็นอนาคตของผู้ส่งออกอาหารไทย ก็คือแพลนต์เบส (Plant-based Food) อาหารจากพืช ซึ่งกำลังเติบโตอย่างมากในตลาดโลก